แพ้เครื่องประดับ อาการ วิธีรักษาและการดูแล

หลายคนอาจเคยรู้สึกคัน ระคายเคือง หรือมีผื่นแดงบริเวณที่สวมเครื่องประดับ โดยเฉพาะต่างหู สร้อยคอ หรือนาฬิกาข้อมือ อาการเหล่านี้อาจไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ แต่คือ “อาการแพ้เครื่องประดับ” ที่เกิดจากการแพ้โลหะบางชนิดโดยเฉพาะ นิกเกิล (Nickel) ซึ่งพบได้บ่อยที่สุด

เครื่องประดับที่อาจเสี่ยงต่อการแพ้ได้แก่

  • เครื่องประดับราคาถูก : มักผลิตจากโลหะผสมที่มีนิกเกิลเป็นส่วนประกอบหลัก
  • ต่างหูและแหวน : เนื่องจากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงและต่อเนื่อง
  • นาฬิกาข้อมือหรือสายรัดโลหะ : ที่อาจมีชิ้นส่วนของนิกเกิล

อาการแพ้เครื่องประดับเป็นอย่างไร?

อาการสามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังสวมเครื่องประดับ หรืออาจใช้เวลาหลายวัน ขึ้นอยู่กับระดับความไวของผิวและปริมาณสารก่อภูมิแพ้ที่สัมผัสผิว โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • คันบริเวณที่สัมผัสกับเครื่องประดับ
  • ผื่นแดง บวม หรือปื้นแดง
  • ตุ่มน้ำเล็ก ๆ หรือผิวลอกเป็นขุย
  • มีน้ำซึมหรือแสบในบางกรณี

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงแพ้เครื่องประดับ?

  • ผู้ที่มี ประวัติแพ้โลหะ หรือผิวแพ้ง่าย
  • ผู้ที่ สวมใส่เครื่องประดับตลอดเวลา โดยไม่ถอดออกเลย เช่น ใส่ตอนอาบน้ำ นอน หรือออกกำลังกาย
  • เด็กและวัยรุ่นที่เริ่มเจาะหูหรือใส่เครื่องประดับเป็นครั้งแรก

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงแพ้เครื่องประดับ?

  • ผู้ที่มี ประวัติแพ้โลหะ หรือผิวแพ้ง่าย
  • ผู้ที่ สวมใส่เครื่องประดับตลอดเวลา โดยไม่ถอดออกเลย เช่น ใส่ตอนอาบน้ำ นอน หรือออกกำลังกาย
  • เด็กและวัยรุ่นที่เริ่มเจาะหูหรือใส่เครื่องประดับเป็นครั้งแรก

วิธีป้องกันอาการแพ้เครื่องประดับ

  1. ลือกเครื่องประดับที่ไม่ผสมนิกเกิล
    • เช่น เครื่องประดับจากทองคำแท้ 14K ขึ้นไป, เงินแท้ (Sterling Silver), แพลตินัม หรือสแตนเลสเกรดทางการแพทย์
  2. ทาสารเคลือบป้องกัน
    • ใช้ผลิตภัณฑ์เคลือบเครื่องประดับที่ช่วยป้องกันผิวไม่ให้สัมผัสโลหะโดยตรง
  3. ถอดเครื่องประดับเมื่อไม่จำเป็น
    • โดยเฉพาะตอนนอน ออกกำลังกาย หรืออาบน้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของเหงื่อและสารเคมี
  4. หมั่นทำความสะอาดเครื่องประดับ
    • เพื่อลดการสะสมของสิ่งสกปรกหรือโลหะที่อาจระคายเคืองผิว

การรักษาเมื่อเกิดอาการแพ้

  • ล้างบริเวณที่ระคายเคืองด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อน ๆ
  • ทายาสเตียรอยด์ (Steroid Cream) เช่น hydrocortisone เพื่อลดอาการอักเสบ
  • หยุดใช้เครื่องประดับทันที ที่สงสัยว่าเป็นต้นเหตุ
  • หากอาการไม่ดีขึ้นใน 3-5 วัน หรือมีอาการรุนแรง ควร พบแพทย์ผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยและรับยารักษาเพิ่มเติม

อาการแพ้เครื่องประดับอาจดูเหมือนเรื่องเล็ก ๆ แต่หากละเลย อาจนำไปสู่การติดเชื้อหรือผิวอักเสบเรื้อรังได้ การเลือกใช้เครื่องประดับที่ปลอดภัยต่อผิว และรู้จักวิธีดูแลตนเองเมื่อเกิดอาการแพ้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

หากท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ยาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือใช้บริการให้คำปรึกษาช่องทางออนไลน์ได้ทุกช่องทางของเรานะคะ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

  1. พญ. พรภุชงค์ เลาห์เกริกเกียรติ โรงพยาบาลพญาไท
  2. Contact dermatitis [cited 2024 02/05]. Available from: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/contact-dermatitis/symptoms-causes/syc-20352742.
  3. Contact Dermatitis [Internet]. 2023 [cited 20/11/2024]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459230/#article-20379.s18.

เรียบเรียงข้อมูลโดย : www.chulalakpharmacy.com

แชร์

ยังไม่มีบัญชี