โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder)

รู้จักโรคกินไม่หยุด คืออะไร

โรคกินไม่หยุด Binge Eating Disorder (BED) คือ ภาวะความผิดปกติในการกิน ควบคุมการกินของตนเองไม่ได้ มีอาการกินเยอะกว่าปกติอย่างมาก กินเยอะในช่วงเวลาสั้นๆ กินเยอะแม้จะไม่ได้หิว บางครั้งกินอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถหยุดกินได้แม้รู้สึกอิ่มจนแน่นท้องแล้ว อยากกินตลอดเวลา และเมื่อทำพฤติกรรมเช่นนั้นแล้วจะรู้สึกผิดในภายหลัง รู้สึกโกรธตัวเอง โรคกินไม่หยุดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าโรคกินไม่หยุดนั้นเกิดจากอะไร

โรคกินไม่หยุดเกิดจากอะไร

ถึงแม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นการเกิดโรคกินไม่หยุดนี้ได้ เช่น

  • ปัจจัยความเสี่ยงด้านจิตใจ : เกิดเหตุการณ์ที่กระทบความรู้สึกเคยถูกทำร้าย การสูญเสียบุคคลรอบตัว ไปจนถึงความผิดหวังจากการลดน้ำหนัก และไม่มีความมั่นใจวิตกกังวลในรูปร่างของตนเอง
  • ปัจจัยความเสี่ยงจากโรค : พบได้ในผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคกินไม่หยุด และจากโรคทางจิตเวช

อาการของโรคกินไม่หยุด

สังเกตผู้มีอาการเสี่ยง “โรคกินไม่หยุด (BED)” มักมีพฤติกรรมเหล่านี้

  • รับประทานอาหารมากกว่าปกติ แม้ไม่หิว
  • หยุดรับประทานไม่ได้แม้จะอิ่มแล้วก็ตาม
  • รับประทานอาหารปริมาณมากๆ อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน
  • อาจมีอาการข้างต้นตั้งแต่ 1-3 ครั้ง/สัปดาห์
  • ผู้ป่วยมักรู้สึกผิด เศร้า โกรธ ละอายใจ รังเกียจ หรือโทษตนเองที่รับประทานมากเกินไป

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกินไม่หยุด

  1. โรคกินไม่หยุดอันตรายไหม?
    โรคกินไม่หยุดนั้นตัวโรคเองอาจไม่ได้อันตรายถึงชีวิตแต่ผลจากการมีพฤติกรรมการกินไม่หยุดนั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง กรดไหลย้อน ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เป็นต้น อย่างไรก็ตามโรคกินไม่หยุดมักเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านจิตใจ ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
  2. กินไม่หยุดแบบไหนเป็นโรค?
    ต้องประเมินก่อนว่าการกินไม่หยุดนั้นเป็นเพียงพฤติกรรมการกินทั่วไปหรืออาจเป็นโรคกินไม่หยุด โดยหากโรคกินไม่หยุดสามารถสังเกตเบื้องต้นได้จากพฤติกกรรม เช่น กินข้าวเยอะกว่าปกติ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม กินแม้จะไม่รู้สึกหิว มีอาการกินไม่หยุดต่อเนื่องติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป รู้สึกผิด โทษ โกรธ รังเกียจตัวเองภายหลัง เป็นต้น ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยโรค

โรคกินไม่หยุดแก้หรือรักษายังไง

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม : ออกกำลังกาย ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และไม่ปล่อยให้ตนเองตกอยู่ในสภาวะความเครียด
  • การใช้ยา : เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมีจุดประสงค์เพื่อจัดการสมดุลภายในสมอง และลดโอกาสเกิดอาการของโรคกินไม่หยุด แต่ด้วยผลข้างเคียงจากการใช้ยาจึงต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • การทำจิตบำบัด : มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยเรียนรู้สาเหตุ และอาการของโรคเพื่อรับมืออาการและสามารถจัดการกับความคิดด้านลบต่อร่างกายของตนเองได้

สรุป

นักกินจุจะกินเร็วโดยการเคี้ยวน้อยแล้วดื่มน้ำตาม ทำให้อาหารที่เข้าสู่ร่างกาย เป็นอาหารที่ไม่ได้ผ่านการย่อยจากการเคี้ยวอย่างละเอียด อาหารที่ตกถึงท้องจึงย่อยยากใช้เวลานานในการดูดซึม เมื่ออาหารนั้นย่อยยากและมีปริมาณเยอะมากทำให้ดูดซึมไปเป็นพลังงานไม่หมดก็ถูกขับถ่ายออก ไขมันส่วนเกินที่ดูดซึมเข้าร่างกายจึงน้อยลงไปด้วย ทำให้ไม่อ้วน

ปรึกษาเภสัชกรปัญหาสุขภาพ การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขาหรือปรึกษาช่องทางออนไลน์ได้ ทุกช่องทางของเรานะค่ะ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง :

  1. พญ.พันตรี เกิดโชค จิตแพทย์
  2. https://www.pobpad.com/binge-eating-disorder
  3. https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Binge-Eating-Disorder
  4. Levine MS, Spencer G, Alavi A, Metz DC. Competitive speed eating: truth and consequences. American Journal of Roentgenology. 2007 Sep;189(3):681-6.
  5. Louise Chang, MD : Competitive Eating: How Safe Is It? [Internet]. 2007- [updated 2007 Aug 22; cited 2021 Dec 27]. Available from: https://www.webmd.com/food-recipes/features/competitive-eating-how-safe-is-it

เรียบเรียงข้อมูลโดย : CHULALAKESHOP.COM

แชร์

ยังไม่มีบัญชี