โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) สาเหตุ อาการ การรักษาและวิธีป้องกัน

โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลายเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งถูกแพร่กระจายโดยยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ส่งผลกระทบต่อคนทุกเพศ ทุกวัยแม้กระทั่งเด็กเล็ก  มีอาการคล้ายคลึงกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคไข้เลือดออกจะรุนแรงมากกว่า “โรคชิคุนกุนยา” มักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปี ทำให้ถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกัน

👉 สาเหตุเกิดจากอะไร

โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสมาสู่คนโดยการกัด ซึ่งแพร่เชื้อโดยยุงลายบ้านและยุงลายสวน และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็กเล็กเอง แม้ความรุนแรงของโรคจะไม่ส่งผลอันตรายถึงชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ เช่นกัน 

👉 ลักษณะอาการ

ระยะการฟักตัวของโรคชิคุนกุนยาจะอยู่ที่ 3-12 วัน แต่ที่พบบ่อยจะอยู่ที่ 2-4 วัน และอาการที่เกิดขึ้นในเด็กจะไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ดังนี้ 

  • มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน 
  • มีผื่นแดงตามตัว 
  • ปวดศีรษะและคลื่นไส้ 
  • ตาแดง 
  • รู้สึกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดตามข้อ 

👉 วิธีการรักษา

ในปัจจุบันโรคชิคุนกุนยายังไม่มียาที่ใช้รักษาอย่างเฉพาะเจาะจง และยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อ โดยแพทย์จะให้การรักษาตามอาการ ดังนี้ 

  • การให้น้ำเกลือ 
  • การให้ยาแก้ปวดข้อ 
  • ให้ยาลดไข้ หรือเช็ดตัวลดไข้หากไข้สูงเป็นระยะเวลานาน

นอกจากการรักษาตามอาการแล้วอย่าลืมให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองร่วมด้วย เพื่อช่วยให้อาการของโรคบรรเทาลงได้เร็วขึ้น ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

👉 การป้องกันไข้ ชิคุนกุนยา

ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้ชิคุนกุนยา โรคนี้ติดต่อจากยุงสู่คน การหลีกเลี่ยงการถูกยุงกัดเป็นการป้องกันที่ดีที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค

  • ป้องกันตนเองโดยการสวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
  • ทายากันยุงที่มีสารป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น พิคาร์ดิน (Picaridin) หรือ (DEET)
  • ใช้มุ้งกันยุง
  • กําจัดน้ำนิ่งรอบ ๆ บ้าน
  • งดการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา โดยเฉพาอย่างยิ่งหากกําลังตั้งครรภ์หรือมีโรคประจําตัว เช่น โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือในผู้สูงอายุอายุ 65 ปีขึ้นไป

แม้โรคชิคุนกุนยาจะไม่รุนแรงถึงชีวิต แต่ความปวดข้อที่ยืดเยื้อก็อาจกระทบการใช้ชีวิตประจำวันได้มาก การรู้จักป้องกันตนเองจากยุงลาย และการรักษาอย่างถูกวิธีตั้งแต่เริ่มต้น จะช่วยให้หายเร็วขึ้น และลดการระบาดในชุมชนได้

หากท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ยาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือใช้บริการให้คำปรึกษา ช่องทางออนไลน์ได้ทุกช่องทางของเรานะคะ


ข้อมูลอ้างอิง (References):

  1. พญ. ภัสสร บุณยะโหตระ กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสมิติเวช
  2. นพ.ศุภวิชญ สมิทธิเศรษฐ์ อายุรแพทย์ ชำนาญการด้านโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร

เรียบเรียงข้อมูลโดย : www.chulalakpharmacy.com

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี