โรคหัด (Measles) สาเหตุ อาการและวิธีรักษา

โรคหัด” เป็นเชื้อไวรัสที่เกิดจาก  Measles สามารถติดต่อง่ายมาก ผ่านทางลมหายใจ การสัมผัส แพร่กระจายผ่านละอองฝอย การไอ จาม หรือพูดคุยระยะใกล้ชิด โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน แม้เป็นแล้วจะหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในผู้ป่วยบางรายก็อาจพบภาวะแทรกซ้อนที่ถึงแก่ชีวิตได้

👉 สาเหตุของโรคหัด 

โรคหัดเกิดจากไวรัสง่ายต่อการแพร่กระจายสู่บุคคลอื่น เพราะติดต่อกันทางอากาศ เพียงแค่อยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อ ใช้ของร่วมกัน ก็สามารถติดได้ ทางที่ดีที่สุดป้องการติดเชื้อคือการฉีดวัคซีน ในเด็กในวัยก่อนเข้าโรงเรียน เด็กเล็ก วัยรุ่น วัยทำงาน และบุคคลทั่วๆไปที่ไม่เคยได้รับวัคซีน ผู้ใหญ่ก็สามารถติดโรคหัดได้ถึงแม้เคยฉีดวัคซีนมาแล้วหนึ่งครั้งและจำเป็นต้องไปในแหล่งที่โรคหัดระบาด ดังนั้นต้องฉีดเพื่อกระตุ้นเพื่อกระตุ้นภูมิอีกหนึ่งเข็ม ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้ ติดเชื้อในหู ปอดติดเชื้อ คออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

👉 อาการโรคหัด

มักมีไข้สูง มีน้ำมูก ไอ ตาแดง พบจุดสีเทาขาวบริเวณกระพุ้งแก้มตรงข้ามกับฟันกรามซี่ใน โดยจะขึ้นในช่วง 2-3 วัน ที่เป็นโรค หลังจากนั้นจะหายไป นอกจากนี้จะมีผื่นเป็นปื้นสีแดงซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัดขึ้น หลังจากเป็นไข้แล้ว 3-4 วัน โดยผื่นจะขึ้นจากบริเวณไรผม มาที่หน้า ลำตัว แขน และลงมาที่ขา

👉 การวินิจฉัยโรคหัด
 จากประวัติการรักษา และการตรวจร่างกาย ไม่มีการตรวจเฉพาะ แต่ต้องเก็บเลือดเพื่อนคอนเฟิร์มการวินิจฉัย

🏥 การรักษาโรคหัด

ปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคหัด เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส แต่สามารถรักษาแบบประคับประคองเพื่อบรรเทาอาการได้ ดังนี้:

  • ให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ อาจต้องรับยาปฏิชีวนะหรือรักษาในโรงพยาบาล
  • ในบางกรณี แพทย์อาจให้ วิตามินเอ โดยเฉพาะในเด็ก เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค

โรคหัดอาจดูเหมือนเป็นโรคในวัยเด็กที่หายได้เอง แต่ความจริงแล้วสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การป้องกันด้วยวัคซีนจึงเป็นหัวใจสำคัญ ไม่เพียงแต่เพื่อปกป้องตัวเราเอง แต่ยังช่วยลดการแพร่ระบาดในชุมชนอีกด้วย

หากท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ยาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือใช้บริการให้คำปรึกษา ช่องทางออนไลน์ได้ทุกช่องทางของเรานะคะ


ข้อมูลอ้างอิง (References):

  1. อ.ดร. นพ.นพพร อภิวัฒนากุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
  3. โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

เรียบเรียงข้อมูลโดย : www.chulalakpharmacy.com

แชร์

ยังไม่มีบัญชี