โรคฮิตติดจอ ของคนยุคใหม่ CVS (Computer Vision Syndrome)

โรค CVS จะไม่ใช่อาการร้ายแรงในทันที แต่หากละเลย อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพชีวิตได้ในระยะยาว ดังนั้น การดูแลสายตาอย่างเหมาะสมในยุคดิจิทัล จึงไม่ใช่แค่เรื่องของความสบาย แต่เป็นเรื่องของสุขภาพที่ควรใส่ใจอย่างจริงจัง

Computer vision syndrome (CVS) คืออะไร?

โรค Computer Vision Syndrome (CVS) คือ กลุ่มของอาการทางตาและการมองเห็น ที่มีผลมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเลต หรือโทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงพฤติกรรมการมองจอคอมพิวเตอร์ที่ใกล้เกินกว่าครึ่งฟุต หรือประมาณ 6 นิ้ว ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการใช้งาน กลุ่มโรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้มากขึ้นหากจ้องหน้าจอในที่ที่มีแสงน้อย หรือมีท่านั่งที่ไม่เหมาะสมในขณะใช้งาน

สาเหตุและปัจจัยร่วมต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการ ได้แก่

  • ขณะเพ่งจ้องกับการอ่านหนังสือ หรือจ้องจอคอมพิวเตอร์จะมีการกระพริบตาน้อยลงทำให้เกิดอาการตาแห้งง่ายขึ้น
  • แสงสว่างภายในห้องไม่เหมาะสม
  • มีแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์
  • การที่ตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ไม่เรียบคมชัดเท่าตัวพิมพ์บนหน้าหนังสือ หรือมีความไม่นิ่งของสัญญาณในจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาต้องพยายามโฟกัสมากขึ้นจึงก่อให้เกิดอาการตาเมื่อยล้าได้ง่ายขึ้น
  • ท่าทางในการในการนั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม

อาการ 

  • รู้สึกแสบตา ไม่สบายตา
  • เกิดอาการระคายเคืองตา เจ็บตา
  • ตาพร่าจากการจ้องมองที่ไม่ค่อยกระพริบตา
  • มีอาการตาแห้ง ซึ่งเป็นอาการเพียงชั่วคราว

หากอาการเหล่านี้เป็นอยู่บ่อย ๆ และนานขึ้นเรื่อยๆ

อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น กระจกตาอักเสบแห้ง มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสายตาสั้นชั่วคราวที่พบได้ถึงร้อยละ 32 นอกจากนี้ อาจจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ไหล่ ปวดหลัง จากท่านั่งที่ไม่เหมาะสมร่วมด้วย

ข้อควรระวังและการป้องกัน

  1. ใช้กฎ 20-20-20
    ทุก 20 นาที มองออกไปไกลประมาณ 20 ฟุต (6 เมตร) เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อลดความล้าของสายตา
  2. กระพริบตาบ่อยขึ้น
    เตือนตัวเองให้กระพริบตาสม่ำเสมอเพื่อป้องกันตาแห้ง
  3. ปรับหน้าจอให้เหมาะสม
    • ระยะห่างควรอยู่ที่ประมาณ 20-28 นิ้ว (50-70 ซม.)
    • หน้าจอควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย
    • ปรับแสงและความสว่างให้สบายตา
  4. ใช้แว่นกรองแสงสีฟ้า (Blue Light Filter)
    ช่วยลดความเสียหายจากแสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมาจากหน้าจอ
  5. หมั่นพักสายตาและร่างกาย
    ลุกขึ้นเดิน ยืดกล้ามเนื้อ และพักสมองจากหน้าจอทุก ๆ ชั่วโมง

การรักษา CVS

ส่วนใหญ่ อาการของ CVS จะหายได้เอง เมื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง แต่ถ้ามีอาการมากควร:

  • พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวัดสายตาอย่างละเอียด
  • ใช้น้ำตาเทียมหยอดตาในกรณีที่มีอาการตาแห้ง
  • แนะนำแว่นสำหรับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ (Computer Glasses)
  • ปรับพฤติกรรมการใช้หน้าจอให้เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์

หากท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ยาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือใช้บริการให้คำปรึกษาช่องทางออนไลน์ได้ทุกช่องทางของเรานะคะ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. พญ. วีรยา พิมลรัฐ ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. คลินิกตา ของโรงพยาบาลพญาไทศรีราชา

เรียบเรียงข้อมูลโดย : www.chulalakpharmacy.com

แชร์

ยังไม่มีบัญชี