การติดบุหรี่เกิดได้จากการติดทางจิตใจและการติดทางกาย ซึ่งการติดทางจิตใจเป็นความเคยชินจากการสูบบุหรี่ โดยอาจเกิดการเรียนรู้ว่าเมื่อสูบบุหรี่จะทำให้สมองแล่น ผ่อนคลาย จึงต้องการที่จะสูบบุหรี่ ส่วนการติดทางร่างกายเกิดจากสารในบุหรี่ที่ชื่อว่า “นิโคติน” โดยนิโคตินเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับระบบรางวัลในสมอง ทำให้ผู้สูบมีความสุข คลายกังวล จึงมีการใช้นิโคตินอย่างต่อเนื่อง หากหยุดสูบบุหรี่หรือไม่ได้รับนิโคตินอย่างกะทันหัน จะทำให้เกิดอาการถอนบุหรี่ (withdrawal symptoms) โดยจะมีอาการสำคัญคืออยากสูบบุหรี่ หงุดหงิด กระวนกระวาย ซึมเศร้า กังวล นอนไม่หลับ ดังนั้นจึงมีการนำนิโคตินมาใช้ช่วยเลิกบุหรี่ หรือที่เรียกว่า การให้นิโคตินทดแทน (nicotine replacement therapy; NRT) โดยเป็นการให้นิโคตินเข้าสู่ร่างกายอย่าง ช้า ๆ และค่อย ๆ ลดขนาดลงจนสามารถเลิกใช้นิโคตินได้ ซึ่งมีข้อดีคือมีโอกาสติดน้อยกว่าการสูบบุหรี่
การขาดสารนิโคติน
ร้อยละ 70-90% ของผู้ที่สูบบุหรี่บอกว่าอาการขาดสารนิโคตินเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้พวกเขาไม่ยอมเลิกสูบบุหรี่ ซึ่งคุณจะเริ่มรู้สึกถึงผลข้างเคียงของการขาดสารนิโคตินตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงจากการสูบบุหรี่มวนสุดท้ายไปแล้ว
โดยผู้ที่สูบบุหรี่เป็นเวลานานหรือสูบบุหรี่จัดจะรู้สึกถึงผลข้างเคียงของการขาดสารนิโคตินเร็วและรุนแรงกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ไม่จัด และถ้าคุณกำลังจะหยุดสูบบุหรี่ อาการของการขาดสารนิโคตินจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 2-3วันหลังจากที่คุณสูบบุหรี่ครั้งสุดท้าย ซึ่งอาการทั่วไปที่พบได้มากสุดมีดังนี้
- อาการอยากนิโคตินเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง
- อาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย หรือเบื่อ
- อาการซึมเศร้า
- อาการนอนไม่หลับ รวมถึง ฝันร้าย
- อาการง่วงซึม
- รู้สึกเครียด กระวนกระวาย และสิ้นหวัง
- ปวดหัว
- มีอาการอยากอาหารและมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- ไม่มีสมาธิ
- เวียนศีรษะ
- อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
- อาการท้องผูกหรือมีลมในกระเพาะอาหาร
- ไอ ปากแห้ง เจ็บคอ และน้ำมูกไหล
แม้ว่าอาการของการขาดสารนิโคตินนั้นอาจจะฟังดูแล้วน่ากลัว และอาการเหล่านี้ยากที่จะเกิดขึ้น แต่ผลกระทบต่อสุขภาพของการหยุดสูบบุหรี่ในระยะยาวมีมากกว่าความไม่สบายตัวที่คุณรู้สึกในระยะสั้น
นิโคตินทดแทนบำบัดคืออะไร
การบำบัดด้วยนิโคตินทดแทน (NRT) เป็นยาที่ให้นิโคตินที่ส่งไปยังสมอง มีจำหน่ายในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนัง หมากฝรั่ง สเปรย์ฉีดจมูกและช่องปาก ยาสูดพ่น ยาอมและยาเม็ด จุดมุ่งหมายของ NRT คือการแทนนิโคตินที่ผู้ที่สูบบุหรี่มักจะได้รับจากบุหรี่ ดังนั้นความอยากที่จะสูบบุหรี่จึงลดลงและสามารถหยุดสูบบุหรี่ได้อย่างสมบูรณ์ เราทราบดีว่า NRT ช่วยเพิ่มโอกาสในการเลิกบุหรี่ และผู้คนใช้มันเพื่อเลิกบุหรี่

ในปัจจุบันมีการผลิตนิโคตินทดแทนออกมาในรูปแบบ หมากฝรั่ง แผ่นแปะ สเปรย์พ่นจมูก ยาสูดพ่น และลูกอม แต่ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ หมากฝรั่งนิโคตินและแผ่นแปะนิโคติน
การเลิกบุหรี่ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนสารนิโคติน
หากคุณพยายามที่จะเลิกสูบบุหรี่และทำไม่สำเร็จสักที อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะจากงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าจำนวนครั้งที่คุณพยายามเลิกสูบบุหรี่มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการที่คุณจะเลิกสูบบุหรี่สำเร็จก็มีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งค่าเฉลี่ยที่คุณพยายามเลิกสูบบุหรี่นั้นจะอยู่ที่ 6 ครั้งก่อนที่คุณจะเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ แต่ถ้าคุณพบว่าอาการขาดสารนิโคตินเป็นเรื่องยากเกินจะต้านทานไหวให้ปรึกษากับนักวิชาชีพผู้ดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับการเลิกสูบบุหรี่ด้วยการให้สารนิโคตินทดแทน (NRT)
NRT จะทำให้อาการขาดสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่นั้นหายไปและยังสามารถรับมือกับอารมณ์ในช่วงเวลาที่กำลังหยุดสูบบุหรี่ด้วย ซึ่งมีหลากหลายการศึกษาได้เผยให้เห็นว่าการใช้ NRT นั้นสามารถช่วยเพิ่มโอกาสที่คุณจะเลิกบุหรี่ได้สำเร็จเกือบครึ่ง โดยให้ปรึกษากับแพทย์ของคุณว่าการเลิกในรูปแบบใดที่เห็นผลและเหมาะสมกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณมากที่สุด และคุณอาจจะผสมผสานรูปแบบ NRT กับรูปแบบอื่นๆเข้าด้วยกันก็ได้
NRT ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ แผ่นแป หมากฝรั่ ยาอม สเปรย์พ่นจมูก และหลอดสูดทางปาก
แผ่นแปะผิวหนังนิโคติน
แผ่นแปะผิวหนังนิโคตินนั้นจะปล่อยปริมาณสารนิโคตินเข้าสู่ผิวกายของคุณ โดยมีให้เลือกระดับความแรงของสารนิโคตินที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับผู้สูบบุหรี่ ซึ่งแผ่นแปะนั้นสามารถหาซื้อได้แบบไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ และในการที่คุณจะเลิกติดสารนิโคตินได้นั้น คุณจะต้องลองเปลี่ยนใช้แผ่นแปะที่มีขนาดความแรงในระยะประมาณ 8 สัปดาห์ โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำว่าควรใช้แผ่นแปะในระยะเวลาทั้งหมด 3-5 เดือน
ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้จากกการใช้แผ่นแปะผิวหนังนิโคตินมีดังนี้
- อาการระคายเคืองต่อผิวหนัง (ผื่นแดงและอาการคัน)
- มึนศีรษะ
- หัวใจเต้นเร็ว
- อาการนอนไม่หลับหรือฝันแปลก
- ปวดหัว
- คลื่นไส้
- ปวดกล้ามเนื้อและข้อติดขัด
หมากฝรั่งนิโคติน
สำหรับหลาย ๆ คนที่ต้องการเลิกบุหรี่จะเลือกวิธีการใช้หมากฝรั่งนิโคตินเพราะว่ามันออกฤทธิ์เร็ว สารนิโคตินที่ได้จะเข้าสู่เยื่อเมือกบุผิวภายในปาก โดยเมื่อที่คุณรู้สึกอยากสารนิโคตินคุณก็เพียงแค่เคี้ยวหมากฝรั่งนิโคติน และหมากฝรั่งนิโคตินนั้นสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ซึ่งระยะเวลาในการใช้วิธีเคี้ยวหมากฝรั่งนั้นจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน 6 เดือน ถ้าคุณเป็นคนที่มีผิวแพ้ง่ายและระคายเคืองกับการใช้แผ่นแปะ วิธีการใช้หมากฝรั่งก็เป็นตัวเลือกน่าสนใจเหมือนกัน
ผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้ของหมากฝรั่งนิโคตินมี ดังนี้
- รับรสชาติอาหารได้ไม่ดี
- ระคายคอ
- แผลในปาก
- สะอึก
- คลื่นไส้
- ปวดขากรรไกร
- หัวใจเต้นเร็ว
- ปัญหาเรื่องช่องปากและปัญหาอื่น ๆ ทางทันตกรรม
ยาอมนิโคติน
ยาอมนิโคตินมีให้เลือกถึง 2 รูปแบบที่แตกต่างกันและสามารถวางจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยจะเหมือนกับผลิตภัณฑ์ NRT อื่น ๆ ซึ่งยาอมนิโคตินนั้นควรใช้สูงสุดไม่เกิน 12 สัปดาห์
ผลข้างเคียงของยาอมนิโคตินอาจมีดังนี้
- อาการนอนไม่หลับ
- คลื่นไส้
- สะอึก
- ไอ
- อาการแสบร้อนกลางอก
- ปวดหัว
- มีลมในกระเพาอาหาร
สเปรย์พ่นจมูก
สเปรย์พ่นจมูกจะปล่อยสารนิโคตินเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว และยังบรรเทาอาการของการขาดสารนิโคตินได้เร็วกว่าวิธีอื่นๆอีกด้วย แต่การซื้อสเปรย์พ่นจมูกนิโคตินนั้นจะต้องให้แพทย์เป็นผู้จัดหาให้ และควรใช้สเปรย์พ่นจมูกนิโคตินในระยะเวลาประมาณไม่เกิน 6 เดือน
ผลข้างเคียงทั่วไปที่พบได้มากที่สุดมีดังนี้
- อาการระคายเคืองจมูก
- น้ำมูกไหล
- น้ำตาไหล
- จาม
- คันคอ และไอ
นิโคตินชนิดหลอดสูดทางปาก
โดยนิโคตินชนิดหลอดสูดทางปากจะเหมือนกันมวนบุหรี่อันใหญ่ที่มาพร้อมกับที่คาบปาก แต่อันที่จริงคือหลอดพลาสติกขนาดบางซึ่งบรรจุแท่งนิโคตินไว้ด้านในเท่านั้น เมื่อคุณสูบไปหนึ่งครั้งแท่งจะระเหยไอสารนิโคตินบริสุทธิ์ไปยังปากของคุณแล้วเข้าสู่กระแสเลือด แนะนำให้ใช้นิโคตินชนิดหลอดสูดทางปากไม่เกิน 6 เดือน
ผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถพบได้บ่อยซึ่งมักจะเกิดขึ้นในครั้งแรกของการใช้อุปกรณ์นี้มีดังนี้
- ไอ
- ระคายเคืองในปากและคอ
- ท้องไส้ปั่นป่วน
ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลือกผลิตภัณฑ์ NRT วิธีไหน คุณก็ต้องปรึกษาผู้ให้ความรู้ทางสุขภาพอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่คุณจะต้องเจอ คุณควรบอกแพทย์ของคุณเกี่ยวกับปัญหาในการเลิกบุหรี่ของคุณให้ฟัง เพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำคุณอย่างถูกต้อง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– web pobpad
– web hdmall
– web cochrane.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM