ยา ไพโอกลิตาโซน (pioglitazone) เป็นยารักษาโรคเบาหวาน ชนิด thiazolidinedione หรืออาจเรียกว่าชนิด “glitazones” โดยยานี้จะใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) ยาจะออกฤทธิ์ในการช่วยให้ร่างกายกลับมาตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) ได้ดีขึ้น จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ยา pioglitazone สามารถใช้เป็นยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานชนิดอื่นได้
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับไต, ตาบอด, ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท, การตัดขา และปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ การควบคุมโรคเบาหวานอย่างเหมาะสมอาจช่วยลดวามเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (heart attack) หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ (stroke)
กลไกการออกฤทธิ์ของยา pioglitazone
pioglitazone เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Thiazolidinediones (TZDs) ทำงานโดยการเพิ่มความไวของเซลล์ต่ออินซูลิน (insulin sensitizer) ซึ่งช่วยให้ร่างกายใช้ประโยชน์จากอินซูลินได้ดีขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง นอกจากนี้ยังช่วยลดการสร้างน้ำตาลจากตับ
ข้อบ่งใช้ยา pioglitazone
ยา ไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone) เป็นยารักษาเบาหวานชนิดไธอะโซลิดีนไดโอน (thiazolidinedione) หรือที่เรียกว่ายากลิตาโซน (Glitazones) ยานี้ใช่ร่วมกับการควบคุมอาหาร และโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ยานี้ออกฤทธิ์โดยช่วยให้ร่างกายมีการตอบสนองที่ดีขึ้นต่ออินซูลิน ดังนั้น จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไต ดวงตา ปัญหาที่ระบบประสาท การสูญเสียแขนขา และปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศ การควบคุมเบาหวานที่เหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจวาย หรือเส้นเลือดในสมองแตก
การใช้ยา ไพโอกลิตาโซน สามารถใช้เป็นยาเดี่ยว หรือใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นที่ เพื่อรักษาโรคเบาหวานได้ เช่น ยาเมทฟอร์มิน (metformin) หรือกลุ่มยาซัลโฟนิลยูเรีย เช่น ยาไกลบูไรด์ (glyburide)
คำเตือนในการใช้ยา Pioglitazone
- ห้ามใช้ยา Pioglitazone กับผู้ป่วยเด็ก
- เมื่อเริ่มใช้ยาหรือเมื่อมีการปรับปริมาณยา ผู้ป่วยต้องเฝ้าระวังอาการของภาวะหัวใจวายอย่างใกล้ชิด และห้ามใช้ยาในผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย เพราะยา Pioglitazone อาจทำให้อาการแย่ลงหรือเป็นเหตุให้หัวใจวายได้
- ห้ามหยุดใช้ยา เพิ่มหรือลดปริมาณยา โดยปราศจากคำแนะนำของแพทย์
- ห้ามขับขี่ยานพาหนะ ใช้เครื่องจักรกล หรือทำกิจกรรมที่ต้องมีสมาธิในขณะใช้ยา จนกว่าจะมั่นใจว่าขณะนั้นผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่ลดต่ำลงอาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้
- ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา Pioglitazone เสมอ เพราะยาอาจทำให้เสี่ยงเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และกระดูกหัก โดยเฉพาะในผู้ป่วยเพศหญิง ซึ่งมักพบอาการกระดูกหักบริเวณแขน มือ หรือเท้า
- ควรรับประทานอาหารและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงตรวจเลือดและวัดระดับน้ำตาลในเลือดตามที่แพทย์กำหนด
- ควรปรึกษาแพทย์หากจะดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา
นอกจากนั้น ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนใช้ยา หากผู้ป่วยอยู่ในกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้
- ผู้ที่แพ้ยา Pioglitazone มีประวัติแพ้ยาชนิดอื่น ๆ หรือแพ้อาหาร
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานประเภทที่ 1 และโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
- ผู้ที่กำลังใช้ยารักษาโรค ยาสมุนไพร และวิตามินชนิดอื่น ๆ
- ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เพราะอาจเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามากขึ้น
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังวางแผนตั้งครรภ์ ต้องปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีและข้อเสียของยาก่อน
- ผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนถึงผลกระทบของยาที่อาจเกิดขึ้นกับทารก

ปริมาณการใช้ยา Pioglitazone
รักษาโรคเบาหวานประเภทที่ 2
- ผู้ใหญ่ รับประทานยาวันละ 15 หรือ 30 มิลลิกรัม หากมีความจำเป็นสามารถเพิ่มปริมาณยาได้ทีละน้อย แต่สูงสุดไม่เกินวันละ 45 มิลลิกรัม
การใช้ยา Pioglitazone
- ควรอ่านฉลากยาและทำตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยใช้ยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์กำหนด ไม่หยุดใช้ยาเองแม้มีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม
- หากลืมรับประทานยาตามกำหนด และใกล้กับช่วงเวลาในการรับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยาตามเวลาและปริมาณปกติ ไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเพื่อทดแทนครั้งที่ขาดไป
- ห้ามเพิ่มปริมาณยาโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หากผู้ป่วยใช้ยาเกินปริมาณ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
- เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากความร้อน ความชื้น และไม่ให้ยาสัมผัสแสงโดยตรง รวมถึงปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังใช้ยา เก็บยาให้พ้นมือเด็ก และไม่รับประทานยาที่หมดอายุ
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Pioglitazone
การใช้ยา Pioglitazone มักไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียง หรืออาจพบผลข้างเคียงได้เล็กน้อย และควรไปพบแพทย์หากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นรบกวนการใช้ชีวิตหรืออาการไม่ดีขึ้นแม้เวลาผ่านไป เช่น เป็นหวัด เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แน่นท้อง หรือมีลมในกระเพาะอาหาร
นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน หากพบว่ามีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- อาการแพ้ยา เช่น มีผื่นแดง คัน บวม พุพอง ผิวลอก อาจมีไข้ร่วมด้วย แน่นหน้าอก แน่นที่ลำคอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก มีปัญหาในการพูด เสียงแหบ หรือมีอาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ปาก ลิ้น และลำคอ
- มีอาการของภาวะหัวใจวาย เช่น ขาบวม หายใจลำบาก หอบเหนื่อย น้ำหนักตัวลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน
- ปวดกระดูก
- มีปัญหาในการมองเห็น
- เหนื่อยล้าหรืออ่อนเพลียมาก
- รู้สึกปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
- ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยเฉพาะเมื่อรับประทานยา Pioglitazone ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานชนิดอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้มีอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ง่วงซึม มึนงง มือสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หรือมีเหงื่อออก
- อาการที่บ่งบอกว่าตับมีปัญหาอย่างรุนแรง หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีสีซีด รวมถึงมีอาการดีซ่าน
หากลืมรับประทานยา pioglitazone
ถ้าลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้านึกได้เมื่อใกล้กับเวลาของมื้อถัดไปแล้ว ให้ข้ามมื้อที่ลืม และรับประทานมื้อถัดไปตามปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
การเก็บรักษายา pioglitazone
- เก็บรักษายาที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดงและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องอาบน้ำ เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่เทยานี้ทิ้งในห้องน้ำหรือในท่อระบายน้ำ ให้ทิ้งผลิตภัณฑ์ยานี้อย่างเหมาะสมเมื่อยาหมดอายุหรือเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้ยานี้อีก
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– web pobpad
– web hdmall
– web hellokhunmor
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM