“บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมากแต่แรกเริ่มเดิมที บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น จึงเป็นทางเลือกของวัยรุ่นในปัจจุบันแต่จากการวิจัยพบว่า ทำให้เลิกบุหรี่มวนได้จริงแต่หันมาติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อปอดได้ไม่แพ้กัน
ผศ.ดร.นพ.อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ เผยผลวิจัยล่าสุด “อันตรายของการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์และนโยบายควบคุมการใช้ บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์” จากการทบทวนงานวรรณกรรมต่างประเทศ (วารสารวิชาการ ปี 2553 ถึงปัจจุบัน) ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางตามนิยามของธนาคารโลก 7 ประเทศ กลุ่มประเทศรายได้สูง 3 ประเทศ และเอกสารของหน่วยงานด้านสุขภาพ เช่น องค์การอนามัยโลก ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้าน การวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มีข้อสรุปที่น่าสนใจ 3 ประเด็น คือ
ในระยะสั้นบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายมากกว่าบุหรี่มวน ใน 2 ภาวะด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นภาวะการ เสี่ยงต่อการระเบิดของอุปกรณ์ ที่ใช้สูบ ส่งผลให้ร่างกาย บาดเจ็บ พิการ และรุนแรงจนถึงเสียชีวิต ทั้งขณะสูบและเก็บไว้กับตัว เช่น ที่กระเป๋ากางเกง และการเกิด ภาวะอิวาลี หรือ E-cigarette or Vaping Product Use-Associated Lung Injury (EVALI) ที่ทำให้ปอดอักเสบเฉียบพลัน และเป็นสาเหตุให้ผู้สูบเสีย ชีวิตได้ ซึ่งร้อยละ 80 ของผู้สูบ บุหรี่ไฟฟ้าที่เกิดภาวะดังกล่าว มาจากการใส่สารสกัดกัญชาในน้ำยา บุหรี่ไฟฟ้า ขณะที่จำนวนผู้ป่วยด้วยภาวะอิวาลีในสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 5,000 กว่าคน จาก 2,600 คน ในปี 2561-2562 ในซึ่งบุหรี่ธรรมดาจะไม่เกิดภาวะเช่นนี้
พบข้อมูลว่าผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าบางคน อายุไม่เยอะ สิบกว่าถึง 20 ปี สูบครั้งแรกและสูบครั้งเดียวก็ สามารถป่วยเป็นภาวะอิวาลีและเสียชีวิตได้ หรือสูบเพียงไม่กี่ปีก็ป่วยและเสียชีวิตจากภาวะดังกล่าว และ ประเด็นการใส่สารสกัดกัญชาในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าจะอันตรายมากขึ้นในประเทศไทย เมื่ออิงกับนโยบายกัญชา ที่อนุญาตให้ใช้ได้มากขึ้น ก็อาจมีคนนำมาใช้แบบเดียวกันได้”

ส่วนอันตรายระยะยาวของบุหรี่ไฟฟ้า ข้อมูลที่มีอยู่ใน ปัจจุบันบ่งชี้ว่าสามารถทำให้เกิดโรคอย่างบุหรี่ธรรมดาหรือบุหรี่มวนได้แล้ว เช่น โรคหัวใจ แม้ความ เสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจะน้อยกว่าก็ตาม นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า บุหรี่ไฟฟ้าสามารถช่วยให้สูบบุหรี่มวนน้อย ลงได้จริง แต่ไม่ใช่การเลิกบุหรี่ แค่ผู้สูบเปลี่ยนมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน และเมื่อบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ ปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา จึงไม่มีความหมายอะไรในแง่การลดผลกระทบทางสุขภาพ
อันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้าที่่ปรากฏในงานวิชาการต่างประเทศยังมี อีกหลายแง่มุม ทั้งการส่งต่อความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น กรณีแม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าจนเกิดยีนที่ผิดปกติ และส่งต่อยีนผิดปกตินั้นให้ทารกในครรภ์
บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายและมีโทษต่อร่างกายอย่างไร
ในปัจจุบัน แม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้า จะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับสิงห์นักสูบ แต่กลับมีผลการวิจัยออกมาเป็นจำนวนมาก ว่าแท้ที่จริงแล้ว บุหรี่ไฟฟ้า ที่ทั้งพกพาง่ายและมีกลิ่นหอม กลับกลายเป็น บุหรี่ไฟฟ้าอันตราย ไม่ต่างจากบุหรี่มวน เลยสักนิด บทความนี้จะไขข้อข้องใจให้ทุกท่านว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไหม และ บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายอย่างไร ดังนี้
1.บุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัยจริงหรือ?
บุหรี่ไฟฟ้ามักจะ ได้รับการขนานนามว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าบุหรี่แบบดั้งเดิม แต่การวิจัยแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วถึงบุหรี่ไฟฟ้าจะไม่ได้ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ แต่ว่าก็มีส่วนผสมของสารเคมีและสารพิษที่เป็นอันตรายในละอองบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์
2. สารเคมีอันตรายต่อระบบหายใจ
จากการศึกษาพบว่าสเปรย์บุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคติน ฟอร์มาลดีไฮด์ อะโครลีน และสารอันตรายอื่นๆ สารเคมีเหล่านี้สามารถส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองได้
3. ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ หัวใจและหลอดเลือด
การใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือด การศึกษาในวารสาร American Heart Association พบว่าการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่เพิ่มขึ้น และการป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง
4. ทำลายระบบภายในร่างกาย
บุหรี่ไฟฟ้า โทษ ที่มาจากความไม่สมดุลอาจนำไปสู่การอักเสบและทำลายหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังมีรายงานการบาดเจ็บและโรคปอดจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้รายงานกรณีการบาดเจ็บที่ปอดอย่างรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการสูบไอ โดยมีอาการต่างๆ เช่น ไอ หายใจถี่ เจ็บหน้าอก และมีไข้ กรณีเหล่านี้เน้นย้ำถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ที่หลายๆคนกำลังใช้งานอยู่
สรุป
บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เลิกบุหรี่มวนได้จริงหรือไม่ ?
ข้อมูลจาก NASEM (National Academies of Science, Engineering and Medicine, USA) ได้รายงานว่า 80% ของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่ จะหันมาติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน บุหรี่ไฟฟ้าไม่สามารถทำให้หยุดนิโคตินแต่เป็นเพียงหันมาเสพนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าแทนเท่านั้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นกลุ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก หลายคนไม่ได้สูบบุหรี่มวนมาก่อน แต่บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเหมือนเทรนด์แฟชั่น การพกพาที่สะดวก ทำให้เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ เป็นจำนวนมาก
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– กระทรวงสาธารณสุข
– web allwellhealthcare
– โรงพยาบาลพญาไท
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM