ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบในเลือด มีบทบาทสำคัญต่อระบบพลังงานของร่างกาย แต่หากมีระดับที่สูงเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ดังนั้น การเข้าใจและควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพของเรา
ไตรกลีเซอไรด์คืออะไร และทำไมต้องระวัง?
ไตรกลีเซอไรด์คือไขมันที่ร่างกายได้รับจากอาหารและผลิตขึ้นเองภายในตับ เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ร่างกายจะเปลี่ยนส่วนเกินเหล่านี้เป็นไตรกลีเซอไรด์และเก็บสะสมไว้ในเซลล์ไขมัน การมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคภาวะไขมันพอกตับ
ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด (ค่าปกติ)
ค่า Triglycerides (mg/dL) | ความหมาย |
น้อยกว่า 150 | ปกติ |
150 – 199 | เริ่มสูง |
200 – 499 | สูง |
500 ขึ้นไป | สูงมาก เสี่ยงอันตราย |

ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับไตรกลีเซอไรด์
1. อาหารการกิน
รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงโดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตส เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ขวด ขนมหวาน อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตขัดสีสูง เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันทรานส์/อิ่มตัว เช่น ของทอด, ขนมอบ, มาการีน ดื่มแอลกอฮอล์กระตุ้นการสร้างไตรกลีเซอไรด์โดยตับ
2. น้ำหนักตัวและภาวะอ้วน
- โดยเฉพาะ อ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)
- ไขมันสะสมในช่องท้องจะกระตุ้นตับให้สร้างไตรกลีเซอไรด์เพิ่ม
3. การออกกำลังกาย
- ไม่ออกกำลังกาย → ร่างกายเผาผลาญไขมันได้น้อย → TG สูงขึ้น
- การออกกำลังกายช่วยเพิ่ม HDL (ไขมันดี) และลด TG ได้
4. โรคประจำตัว
- เบาหวานชนิดที่ 2 (โดยเฉพาะที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี)
- ภาวะไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism)
- โรคไตเรื้อรัง
- ภาวะตับไขมัน (Fatty Liver)
5. ยาบางชนิด
กลุ่มยา | ตัวอย่าง |
สเตียรอยด์ | Prednisone |
ยาคุมกำเนิด (ฮอร์โมนสูง) | EE+Progestin |
Beta-blockers | Propranolol |
Diuretics (บางชนิด) | Thiazide |
6. พันธุกรรม
- ภาวะไขมันในเลือดสูงแต่กำเนิด เช่น Familial Hypertriglyceridemia
- มักพบค่าไตรกลีเซอไรด์สูงตั้งแต่อายุยังน้อย

วิธีควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ให้อยู่ในเกณฑ์ดีต่อสุขภาพ
1. ปรับพฤติกรรมการกิน
- ลดอาหารที่มี น้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ
- ลด แป้งขัดขาว เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว
- หลีกเลี่ยง ของทอด ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์
- กินอาหารที่มี ไขมันดี (HDL) เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู ถั่วเปลือกแข็ง
- เพิ่มไฟเบอร์จากผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ออกกำลังกายแบบ แอโรบิก เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน อย่างน้อย 30 นาที/วัน
- ทำอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์
3. ควบคุมน้ำหนัก
- น้ำหนักที่เหมาะสมช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้ชัดเจน
- ลดน้ำหนักเพียง 5–10% ของน้ำหนักตัว อาจช่วยลดได้ถึง 20–30%
4. งดหรือลดแอลกอฮอล์
- แอลกอฮอล์เป็นตัวกระตุ้นให้ไตรกลีเซอไรด์พุ่งสูง
- หยุดหรือลดอย่างชัดเจนจะช่วยเห็นผลเร็ว
5. รับประทานยา (ถ้าจำเป็น)
- หากปรับพฤติกรรมแล้วไม่ดีขึ้น แพทย์อาจสั่งยา เช่น:
- Fibrates เช่น Fenofibrate
- Niacin (วิตามินบี 3)
- โอเมก้า-3 ความเข้มข้นสูง
- Statins (กรณีมีความเสี่ยงร่วม เช่น คอเลสเตอรอลสูง)
6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
- ตรวจ ระดับไขมันในเลือด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- โดยเฉพาะหากมีความเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หรือประวัติครอบครัว
สรุปแล้ว การดูแลระดับไตรกลีเซอไรด์เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด เราสามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– บทความ: “High Blood Triglycerides” โดย National Heart, Lung, and Blood Institute (NHLBI)
– บทความ: “Triglycerides: Why do they matter?” โดย Mayo Clinic
– บทความ: “How to Lower Your Triglyceride Levels” โดย Healthline
– บทความ: “Triglycerides: Levels & Normal Range” โดย Cleveland Clinic
– บทความ: “Triglycerides”โดย MedlinePlus
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM