โรคจิตหลงผิด
การที่เรามีความเชื่อหรือความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากความเชื่อหรือความคิดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง อาจเข้าข่าย “โรคจิตหลงผิด” ซึ่งเป็นภัยเงียบที่รุนแรง เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเองปกติดี จึงไม่มองหาหรือต้องการความช่วยเหลือ และไม่ได้รับการรักษาในที่สุด
โรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Disorder หรือ NPD) จัดเป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลงตัวเองเป็นภาวะสุขภาพจิต มันส่งผลต่อความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง เอกลักษณ์ และวิธีการปฏิบัติต่อตนเองและผู้อื่นของบุคคล มันเป็นมากกว่าความเย่อหยิ่งหรือเห็นแก่ตัว ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ผู้ที่เป็นโรค NPD อาจต้องต่อสู้กับความรู้สึกล้มเหลวหรือการถูกปฏิเสธ ส่งผลให้สุขภาพและความเป็นอยู่ของตนเองตกอยู่ในความเสี่ยงผู้ที่ป่วยเป็นโรค NPD มักรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญมาก จนเกินความเป็นจริง
โรคจิตหลงผิด คือ การมีความเชื่อ หรือความคิดไม่ตรงกับความเป็นจริง เรียกว่า อาการหลงผิด (delusion) ตั้งแต่ 1 เรื่องนานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป โดยอาการหลงผิดที่พบบ่อยที่สุดคือ ระแวงว่าตนถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกปองร้าย ผูกเรื่องเชื่อมโยงไปในแนวทางเดียวกัน
ส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีประสาทหลอน เช่น หูแว่ว ผู้ป่วยมักจะยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติ ยกเว้นบางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลงผิด เช่น ถ้าหลงผิดว่าเพื่อนร่วมงานกลั่นแกล้งก็อาจจะขอลาออกจากที่ทำงาน ทั้ง ๆ ที่ยังทำงานด้านนั้นได้ตามปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัวว่ามีอาการหลงผิด ญาติหรือผู้ใกล้ชิดจึงควรสังเกตอาการและแนะนำให้มารักษา เพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวและอยู่ในสังคมได้
วิธีการรักษาโรคจิตหลงผิด : หากสงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีแนวโน้ม อาการ ที่จะเป็นโรคนี้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาการรับประทานยาสม่ำเสมอ ติดตามนัดอย่างต่อเนื่อง เปิดใจพูดคุยเรื่องที่รบกวนจิตใจ จะทำให้ อาการ ของโรคหลงผิด ดีขึ้น ความสัมพันธ์ที่ดีทั้งในครอบครัวและคนใกล้ชิดเป็นสิ่งที่สำคัญ ด้วยความเข้าใจและรับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยคิดโดยไม่โต้แย้ง แต่ก็ไม่สนับสนุนความหลงผิดของผู้ป่วย ให้กำลังใจผู้ป่วยถ้ามีความเครียดหรืออารมณ์ที่เป็นสาเหตุหรือผลจากความหลงผิดนั้น
ปรึกษาเภสัชกรปัญหาสุขภาพ การใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือปรึกษาได้ช่องทางออนไลน์ได้ ทุกช่องทางของเรานะคะ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– รศ.พญ.ดาวชมพู นาคะวิโร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM