HPV ความเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก (Anal sex) มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัสทางเพศ การติดเชื้อ HPV เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งทวารหนักในผู้ชาย และยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะอื่น ๆ ได้เช่นกัน

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัยหรือไม่ใช้การป้องกันอื่น ๆ เนื่องจากบริเวณทวารหนักมีเยื่อบุที่บอบบางและอาจทำให้เกิดการฉีกขาดได้ง่าย ซึ่งทำให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

การติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)

การร่วมเพศทางทวารหนักเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูงกว่ากิจกรรมทางเพศในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นนำไปสู่โรคเอดส์ (AIDS – Acquired Immunodeficiency Syndrome) ได้หากไม่ได้รับการรักษายาต้านไวรัส โรคลุกลามก็จะเป็นการเจ็บป่วยที่รุนแรงและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคมะเร็งทวารหนัก (Anal Cancer)

มะเร็งทวารหนัก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก มะเร็งที่เกิดขึ้นในส่วนของทวารหนัก ซึ่งเป็นทางออกสุดท้ายของระบบทางเดินอาหาร มะเร็งทวารหนักสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และสามารถมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

การป้องกันการติดเชื้อ HPV จากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก

  1. การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  2. การฉีดวัคซีน HPV ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HPV ชนิดที่มีความเสี่ยงสูง
  3. การตรวจคัดกรองและตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ เพื่อตรวจพบการติดเชื้อหรือความผิดปกติการมีการศึกษาและการป้องกันที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ HPV ได้
  4. ตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนัก เป็นการตรวจ Anal pap smear คล้ายกับการตรวจ pap smear ในมะเร็งปากมดลูก เพียงแต่นำอุปกรณ์ตรวจเข้าทางทวารหนักแทน เพื่อเก็บตัวอย่างของเซลล์ที่อยู่บริเวณทวารหนักมาตรวจหาเซลล์ที่มีความผิดปกติและอาจเป็นมะเร็ง หากไม่พบเซลล์ที่ผิดปกติ ควรตรวจซ้ำทุกปี

ถ้าต้องการให้ทุกความสัมพันธ์ออกมาดี ต้องให้ความใส่ใจในรายละเอียดของกันและกัน ต้อง “รัก” ทั้งตัวเอง และคนข้างกาย การชวนคู่รักมาตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นระยะๆ  จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและการแพร่กระจายเชื้อได้เป็นอย่างดี

หากท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ยาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือใช้บริการให้คำปรึกษา ช่องทางออนไลน์ได้ทุกช่องทางของเรานะคะ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– นพ. อติวุทธ กมุทมาศ
– โรงพยาบาลสมิติเวช ไชน่าทาวน์
– Centers for Disease Control and Prevention. (2021, December 1). What Is Colorectal Cancer? | CDC.
– Cleveland Clinic. (2022, November 14). Colorectal (colon) cancer. Cleveland Clinic.
– Mayo Clinic. (2022, October 8). Colon Cancer – Symptoms and Causes. Mayo Clinic; Mayo Clinic.
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี