โรคกลัว ไม่ใช่เรื่องขี้กลัว แต่คืออาการทางจิตใจที่รักษาได้ หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตคือจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูที่ดีที่สุด ความกล้าไม่ใช่การไม่กลัว แต่คือการกล้าที่จะเผชิญกับความกลัวอย่างมีสติและรับมือกับมันได้อย่างเหมาะสม

โรคกลัว (Phobia) คืออะไร

โรคกลัว (Phobia) เป็นอาการทางจิตเวชประเภทหนึ่ง อยู่ในกลุ่มของ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorders) โดยผู้ป่วยจะมีความกลัวอย่างรุนแรง และไม่สมเหตุสมผลต่อวัตถุ สถานการณ์ หรือกิจกรรมบางอย่าง แม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายจริงๆ ก็ตาม

การวินิจฉัย

โดยทั่วไปแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคกลัวได้จากการซักประวัติและพูดคุยกับผู้ป่วย ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องเล่าอาการต่างๆ ให้แพทย์ฟังให้มากที่สุด และตอบคำถามที่แพทย์ถามเพิ่มเติมอย่างละเอียดและตรงไปตรงมาเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคกลัวจะกลัวบางสิ่งบางอย่างอย่างรุนแรง ไม่สมเหตุสมผล โดยที่ผู้ป่วยรู้ตัวดีว่าไม่จำเป็นจะต้องกลัวขนาดนั้นแต่ควบคุมตัวเองไม่ได้ เมื่อพบเจอสิ่งที่กลัวก็จะมีอาการดังกล่าวข้างต้นจนก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจส่งผลให้คิดทำในสิ่งที่ไม่ดี เช่น พยายามฆ่าตัวตาย โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นติดต่อกันมาอย่างน้อย 1 เดือน

โรคกลัวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  1. โรคกลัวเฉพาะอย่าง (specific phobia) เป็นชนิดของโรคกลัวที่พบได้บ่อย เช่น กลัวงู แมลงสาบ ผีเสื้อ ของมีคม กลัวเลือด กลัวความสูง ความมืด
  2. โรคอะโกราโฟเบีย (agoraphobia) เป็นกลุ่มอาการกลัว (cluster of phobias) สถานการณ์หลายๆ อย่างที่มีลักษณะร่วมกัน คือหลบออกไปจากตรงนั้นได้ยาก หรือความช่วยเหลือเข้ามาถึงได้ยาก เช่น กลัวที่ชุมชนที่มีคนเบียดเสียด กลัวที่แคบ ห้องไม่มีหน้าต่าง กลัวการนั่งรถตู้ด้านหลัง การเข้าเครื่อง MRI การขึ้นเครื่องบิน
  3. โรคกลัวกิจกรรมทางสังคม (social phobia) ผู้ป่วยจะกลัวเมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังตกเป็นเป้าความสนใจของผู้อื่น เช่น การพูดหน้าชั้น การพูดผ่านไมโครโฟน หรือแม้แต่การขึ้นรถเมล์ประตูด้านหน้า

การรักษาและแนวทางการดูแล

  1. จิตบำบัด (Psychotherapy)
    • CBT (Cognitive Behavioral Therapy): ช่วยปรับความคิดและพฤติกรรม
    • Exposure Therapy: การเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อฝึกให้ร่างกายและสมองลดความตื่นกลัว
  2. การใช้ยา
    • ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านความวิตกกังวลหรือยากลุ่ม SSRI
  3. การฝึกผ่อนคลาย
    • เช่น การหายใจลึกๆ สมาธิ โยคะ การฝึกสติ (Mindfulness)

หากท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ยาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือใช้บริการให้คำปรึกษา ช่องทางออนไลน์ได้ทุกช่องทางของเรานะคะ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  1. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  2. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

เรียบเรียงข้อมูลโดย : www.chulalakpharmacy.com

แชร์

ยังไม่มีบัญชี