มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) สาเหตุอาการและวิธีการรักษา

มะเร็งรังไข่ คือ โรคที่เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ หรือท่อนําไข่ อาจเกิดขึ้นเพียงข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง หลังจากนั้นเซลล์มะเร็งมีการเจริญเติบโตขึ้น ขนาดใหญ่ และแพร่กระจายไปตามเยื่อบุช่องท้อง ทางเดินนํ้าเหลือง กระแสโลหิต รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุ้งเชิงกราน ปอด ตับ ซึ่งโรคนี้สามารถพบได้ในผู้หญิงทุกช่วงวัย

👉 สาเหตุของมะเร็งรังไข่

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันได้อย่างชัดเจน ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งรังไข่ แต่อาจจะเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ที่อยู่ภายในรังไข่จนเกิดเป็นเซลล์มะเร็งขึ้นมา โดยเซลล์แต่ละส่วนของรังไข่จะส่งผลให้เกิดเนื้องอกตามตำแหน่งที่แตกต่างกัน ซึ่งมีเนื้องอกของรังไข่ 3 ชนิดด้วยกัน ดังต่อไปนี้

  1. เนื้องอกรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว (Epithelial Ovarian Tumors) เป็นเนื้องอกที่เกิดมาจากเซลล์ผิวบุรังไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ในการเกิดเนื้องอกในรังไข่และจะกลายเป็นมะเร็งมากที่สุดประมาณ 90% ของมะเร็งรังไข่
  2. เนื้องอกรังไข่ชนิดเซลล์สืบพันธุ์ (Germ Cell Tumors) เป็นเนื้องอกที่เกิดมาจากเซลล์ที่ผลิตไข่ ซึ่งจะกลายเป็นมะเร็งที่พบได้น้อยประมาณ 5% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด
  3. เนื้องอกรังไข่ชนิดมาจากสายสะดือ (Sex-Cord Stromal Tumors) เป็นเนื้องอกที่เกิดมาจากเซลล์ของเนื้อเยื่อโครงสร้างของเนื้อรังไข่ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง และเป็นเนื้องอกชนิดที่จะกลายเป็นมะเร็งน้อยมาก

👉 อาการของมะเร็งรังไข่

ในระยะแรก มะเร็งรังไข่มักไม่มีอาการเด่นชัด หรืออาจแสดงอาการคล้ายโรคทางเดินอาหารทั่วไป จึงทำให้วินิจฉัยได้ยาก ผู้หญิงหลายคนจึงละเลยสัญญาณเตือน

การรักษามะเร็งรังไข่

การเข้ารับการตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งจะสามารถทำให้เราลดความเสี่ยงของการเกิด “มะเร็งรังไข่” ได้

การตรวจวินิจฉัย “มะเร็งรังไข่” การตรวจภายในและการตรวจอัลตร้าซาวด์ จะทำให้สามารถบอกถึงลักษณะความผิดปกติของรังไข่ได้ตั้งแต่ระยะต้น สำหรับการตรวจค่าบ่งชี้มะเร็ง ได้แก่ การตรวจค่าเลือด CA125, HE4 ส่วนมากใช้ในการตรวจติดตามตัวโรคระหว่างการรักษาและหลังการรักษา ไม่ได้นำมาใช้ในการวินิจฉัย

การรักษา มะเร็งรังไข่ แพทย์จะเป็นผู้ประเมินแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย การรักษาหลักสามารถทำได้โดย

  • การผ่าตัด สามารถทำได้ทั้งทางหน้าท้องและการผ่าตัดผ่านกล้อง แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะของโรค และผ่าตัดนำเอาก้อนมะเร็งและอวัยวะข้างเคียงบางส่วนๆ ออกด้วย
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง เคมีบำบัดมีอยู่หลายรูปแบบ แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย

หากท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ยาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือใช้บริการให้คำปรึกษา ช่องทางออนไลน์ได้ทุกช่องทางของเรานะคะ


ข้อมูลอ้างอิง (References):

  1. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
  3. โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ

เรียบเรียงข้อมูลโดย : www.chulalakpharmacy.com

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี