วิตามินและสารอาหารต่างๆ มีส่วนช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ก็อาจได้รับวิตามินและสารอาหารไม่เพียงพอได้ หากไม่เพียงพอก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติได้ โดยแต่ละช่วงวัยหรือช่วงอายุ จะมีความต้องการวิตามินและสารอาหารที่แตกต่างกัน ฉะนั้นไปดูกันว่าต้องเสริมตัวใดบ้างให้เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง
วิตามินและสารอาหารในช่วงวัย 20+
เป็นช่วงอายุที่เริ่มต้นวัยทำงาน ที่ต้องใช้สมองและพลังอย่างมาก บวกกับเป็นช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ ฮอร์โมน พฤติกรรมการใช้ชีวิต
วิตามินและสารอาหารที่ต้องเสริม เช่น
- วิตามินซี
- วิตามินบีรวม
- โอเมก้า-3
- ซิงค์
วิตามินและสารอาหารในช่วงวัย 30 – 40+
เป็นช่วงอายุที่จะมีความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ผิวพรรณหมองคล้ำได้ จากการอดหลับอดนอน ความเครียดจากการทำงาน ที่อาจทำให้ฮอร์โมนถดถอยลง ควรเสริมวิตามินและสารอาหารที่ช่วยเพิ่มพลังงาน บำรุงระบบประสาท เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
วิตามินและสารอาหารที่ต้องเสริม เช่น
- วิตามินซี วิตามินบีรวม
- วิตามินอี
- โคเอนไซม์คิวเทน
- แคลเซียม วิตามินดี ช่วยเรื่องกระดูกและข้อ
- วิตามินเอ
วิตามินและสารอาหารในช่วงวัย 50+
เป็นช่วงอายุที่ระบบต่างๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมถอย ต้องใส่ใจสุขภาพร่างกายมากเป็นพิเศษ ทั้งเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย จึงต้องการวิตามินและสารอาหารที่เพิ่มขึ้น
วิตามินและสารอาหารที่ต้องเสริม เช่น
- วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา
- วิตามินบี12 ช่วยการทำงานของระบบประสาท
- วิตามินซี ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- วิตามินดี 3, แคลเซียม, วิตามินเค 2 บำรุงกระดูก
ใครบ้าง เสี่ยงขาดวิตามิน ?
เพราะอาหาร คือแหล่งที่มาของวิตามินที่ดีที่สุด การรับประทานอาหารที่หลากหลายตามหลักโภชนาการจะช่วยให้เราได้รับวิตามินอย่างครบถ้วนและเพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันไม่ค่อยพบการขาดวิตามินในคนไทยเหมือนในอดีต แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องระวังถึงปัจจัยเหล่านี้เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายมีวิตามินไม่เพียงพอ
- การเป็นผู้สูงอายุ
- การงดรับประทานเนื้อสัตว์
- การผ่าตัดกระเพาะหรือลำไส้
- การกินยาบางอย่างที่ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบางชนิดลดลง
- การได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
- การมีพฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินอย่างรวดเร็ว เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลพญาไท
– โรงพยาบาลนครธน
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM