ยาเพนิซิลลิน Penicillin ยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย

Penicillin (เพนิซิลลิน) คือยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังเป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ตั้งแต่แรกเริ่มมาจนถึงปัจจุบัน เดิมทียานี้ได้มาจากเชื้อราเพนิซิลเลียม (Penicillium) นับแต่นั้นก็มียา Penicillin ตัวอื่นพัฒนาขึ้นมา เช่น Penicillin G (เพนิซิลลิน จี) หรือ Penicillin V (เพนิซิลลิน วี) ส่วนยาปฏิชีวนะอื่นที่มีส่วนผสมของ Penicillin ได้แก่ อะม็อกซี่ซิลลิน (Amoxicillin) แอมพิซิลลิน (Ampicillin) ฟลูคลอกซาซิลลิน (Flucolxacillin) ซึ่งจัดเป็นยาเพนิซิลลินกึ่งสังเคราะห์ Penicillin แต่ละชนิดไม่สามารถใช้รักษาอาการป่วยแทนกันได้ นอกจากนี้ Penicillin บางชนิดอาจใช้รักษาอาการป่วยหรือภาวะที่นอกเหนือไปจากข้อความสรรพคุณที่ระบุบนฉลากยา ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม Penicillin ไม่สามารถใช้รักษาอาการเป็นไข้ โรคหวัด หรือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส

กลุ่มยาเพนนิซิลินมีทั้งยากินและยาใช้ฉีด ดังนี้

  • เพนนิซิลินกลุ่มยากิน
    Penicillin V (เพนนิซิลิน วี) มีชื่อทางการค้า เช่น Medic-V, Pen V เป็นต้น
    ส่วนยากลุ่มเพนนิซิลินอื่นๆ ได้แก่ ยา Amoxicillin (อะม็อกซีซิลีน) มีชื่อทางการค้าคือ Amoksiklav (อะม็อกซิคลาฟ), Amoxy (อะม็อกซี) ยา Cloxacillin (คลอกซาซิลลิน) มีชื่อทางการค้า เช่น Cloxapen, Cloxacap และยา Dicloxacillin (ไดคลอกซาซิลลิน) มีชื่อทางการค้า เช่น Dixocillin เป็นต้น
  • เพนนิซิลินกลุ่มยาฉีด
    ได้แก่ เพนนิซิลิน จี, แอมพิซิลลิน, เบนซาทีน

การออกฤทธิ์ของยา Penicillin

ยาเพนนิซิลินจะออกฤทธิ์โดยการเข้าไปทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรียที่เรียกว่า เปปไทโดไกลแคน (Peptidoglycan) ทำให้เชื้อแบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ อาการติดเชื้อจึงค่อยๆ ดีขึ้น

รูปแบบของยา Penicillin

  • ยาเพนิซิลิน วี มีลักษณะเป็นเม็ดเคลือบฟิล์ม ขนาด 125 หรือ 250 มิลลิกรัม
  • ยาเพนิซิลิน จี มีลักษณะเป็น Sterile Powder 5,000,000 Units ใช้สำหรับฉีด

ปริมาณการใช้ยา Penicillin

ปริมาณการใช้ยา Penicillin แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการใช้ยาหรือตามที่ระบุไว้บนฉลากยาอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ จำนวนหรือปริมาณยาที่ผู้ป่วยใช้ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของตัวยา ส่วนจำนวนยาที่ใช้ในแต่ละวัน ระยะห่างในการใช้ยา และระยะเวลาในการใช้ยานั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย

ข้อบ่งใช้ Penicillin

ส่วนใหญ่แล้ว การรับประทานยา Penicillin หลังมื้ออาหารจะช่วยให้ดูดซึมได้ดี นอกจากนี้ ยา Penicillin บางตัวรับประทานตอนท้องว่างจะดูดซึมได้ดีกว่า โดยรับประทานยาก่อนอาหารครึ่งถึง 1 ชั่วโมง ตามที่แพทย์ เภสัชกร หรือฉลากยาแนะนำ สำหรับผู้ที่รับประทานยา Penicillin G ไม่ควรดื่มน้ำส้ม น้ำองุ่น หรือน้ำผลไม้และเครื่องดื่มที่มีกรดภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาเข้าไป เนื่องจากเครื่องดื่มดังกล่าวจะลดประสิทธิภาพของยา ส่วนผู้ที่รับประทานอะม็อกซี่ซิลลินแบบน้ำ สามารถผสมกับนม น้ำผลไม้ น้ำขิงแดง หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ เพื่อดื่มได้ และควรดื่มให้หมดทันที

ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรอ่านฉลากยาหรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม ยา Penicillin บางชนิด มีรายละเอียดการใช้ยา ดังนี้

  1. อะมิโนเพนิซิลลิน (Aminopenicillins) ยาในกลุ่มนี้ไม่ถูกกรดไฮโดรไลซิส (Acid Hydrolysis) ทำลาย จึงสามารถรับประทานได้ อย่างไรก็ดี ยาชนิดนี้อาจเกิดกรดดังกล่าวที่มาจากเบต้าแลคแทม ผู้ป่วยจึงควรรับประทานควบคู่กับสารยับยั้งเบต้าแลคแทม
  2. แอนตี้ซูโดโมนอล เพนิซิลลิน (Antipsudomonal Penicillins) ผู้ป่วยมักรับประทานยานี้ร่วมกับสารยับยั้งเบต้าแลคแทม เนื่องจากตัวยาอาจเกิดกรดไฮโดรไลซิสที่มาจากเบต้าแลคแทมเช่นเดียวกับ Penicillin ตัวอื่น ซึ่งส่งผลให้เชื้อสแตฟิค็อกคัส แบคทีเรียชนิดแกรมลบบางตัว และเบต้าแลคแทมที่ผลิตแบคทีเรียชนิดแกรมบวก ไม่ถูกต่อต้านอย่างต่อเนื่อง
  3. สารยับยั้งเบต้าแลคแทม (Beta-Lactamase Inhibitors) Penicillin ชนิดนี้มักใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะที่มีเบต้าแลคแทมตัวอื่น ๆ เพื่อช่วยยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าวไม่ให้ทำลายประสิทธิภาพของยาจนนำไปสู่การดื้อยา

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานยาให้ครบเพื่อรักษาอาการของโรคให้หายขาด ไม่ควรหยุดรับประทานยาแม้อาการจะดีขึ้นมาได้ 2-3 วันก็ตาม ผู้ที่ได้รับเชื้อเสตรป (Strep) ควรรับประทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 7-10 วัน ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจภายหลังหากไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด และหากหยุดการใช้ยาเร็วเกินไป อาการของโรคก็อาจกลับมากำเริบได้

ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา Penicillin

การใช้ยาเพนนิซิลินอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น

  • มีแผลในปากหรือมีแผลบริเวณลิ้น
  • เจ็บช่องคลอดหรือช่องคลอดอักเสบ
  • มีอาการเวียนหัว
  • อ่อนเพลีย ไม่สบายตัว
  • คลื่นไส้ ไม่สบายท้องและอาจทำให้อาเจียนได้

หากอาการไม่รุนแรงยังไม่ต้องหยุดยา แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือรุนแรงขึ้น ให้หยุดยาทันทีแล้วไปพบแพทย์

อาการแพ้ยาเพนนิซิลิน

  • บวมที่หน้า ลิ้น คอ
  • มีผื่นขึ้น
  • ท้องเสียรุนแรง
  • หน้ามืด เป็นลม

ให้หยุดยาทันทีและรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา



แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– เว็บพบแพทย์
– doctorraksa.com
– เอกสารกำกับยา
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี