โรคแพ้ภูมิตัวเอง SLE (Systemic Lupus erythematosus) กินยาคุมฉุกเฉินได้หรือไม่

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับโรค SlE หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ โรคพุ่มพวง นั่นเอง

SLE (Systemic Lupus erythematosus) หรือ Lupus คือโรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จนก่อให้เกิดการอักเสบและเกิดอาการผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โรคนี้พบในหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้บ่อยกว่าในเพศชาย และพบบ้างในเด็ก ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และอาการของโรคก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน

ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคพุ่มพวง

  • เกิดจากการใช้ยา และสารเคมีต่าง ๆ หรือยาประเภทควบคุมความดันเลือด ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
  • เกิดจากฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในบางครั้งจะส่งผลด้วย เช่น ช่วงตั้งครรภ์หรือช่วงที่เติบโตในแต่ละวัย เป็นต้น
  • การถ่ายทอดพันธุกรรม โรคหรืออาการบางชนิดที่เกิดในวงเครือญาติอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพุ่มพวงได้
  • ปฏิกิริยาต่อแสงแดด สำหรับคนที่มีผิวหนังไวต่อแสงแดดจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากอาการแพ้ดังกล่าวได้

เป็นโรค SLE สามารถกินยาคุมฉุกเฉินได้หรือไม่

โดยทั่วไป ผู้ป่วย SLE ที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตัน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดในระยะยาว เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต

ส่วนผู้ป่วย SLE ที่ไม่มีภาวะดังกล่าว ก็สามารถใช้ได้ แต่ควรตรวจติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

อย่างไรก็ตาม สำหรับการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน เนื่องจากไม่ได้มีการใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และไม่ได้มีการใช้บ่อย ๆ จึงสามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉินได้ในกรณีที่จำเป็นค่ะ เช่น ใช้ถุงยางแล้วถุงยางฉีกขาด แต่ไม่ควรนำยาคุมฉุกเฉินมาใช้บ่อย ๆ แทนวิธีคุมกำเนิดปกติซึ่งจะใช้ยาคุมฉุกเฉินยี่ห้อใดก็ได้ที่หาซื้อได้สะดวก เนื่องจากทุกยี่ห้อเป็นตัวยาเดียวกัน และมีปริมาณยารวมทั้งแผงเท่ากัน ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงจึงไม่แตกต่างกัน แต่ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินไม่ได้สูงมาก ต่อให้ใช้เร็วและครบขนาด ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้อย่างน้อย 15% ในขณะที่ถ้าใช้ถุงยางถูกต้องและไม่รั่วซึม จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2% หรือเลือกคุมกำเนิดฉุกเฉินด้วยการไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อใส่ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดงภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ก็ได้ (ถ้าไม่ได้มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำอย่างรุนแรง) เพราะนอกจากจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันที่สูงกว่ามาก (ผู้ใช้มีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.6 – 0.8%) และมีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องได้นานหลายปีแล้ว ยังเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนสำหรับผู้ป่วย SLE



แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลพญาไท
– โรงพยาบาลเพชรเวช
– hdmall
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ยังไม่มีบัญชี