มะเร็งผิวหนัง: สาเหตุ อาการและการรักษา

มะเร็ง โรคร้ายที่ทุกคนไม่อยากให้เข้ามาย่างกายยังร่างกายของตัวเอง และ คนที่ตัวเองรัก โรคมะเร็งเองก็มีความหลากหลายของตำแหน่งที่เกิดขึ้นบนร่างกาย ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งในระบบทางเดินอาหารอย่างมะเร็งลำไส้ หรือ มะเร็งกระเพาะอาหาร ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ที่ผิวหนังก็ยังปรากฎอาการมะเร็งผิวหนังด้วย ซึ่งเราจะขอพาทุกท่านไปทำความเข้าใจกับมะเร็งผิวหนัง อาการที่ควรระวัง

มะเร็งผิวหนัง อาการเป็นอย่างไร ?
โรคร้ายที่ทุกคนคงคุ้นหู “มะเร็งผิวหนัง” อาการของมะเร็งผิวหนังที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งผิวหนัง ดังนั้นเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง เราจำเป็นต้องรู้และสังเกตอาหารได้ด้วยตนเอง โดยมะเร็งผิวหนังที่คุณสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองมีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน มีดังนี้

1.มะเร็งผิวหนังชนิดสแควมัสเซลล์ หรือ Squamous Cell Carcinoma
มะเร็งผิวหนัง อาการที่ปรากฎจะเกิดเป็นตุ่มนูนแดง หรือ บางครั้งก็ออกเป็นสีชมพู ขึ้นเป็นจุด หรือ เป็นกลุ่มบนผิวหนัง อาจมองเห็นเป็นขุย และ มีอาการตกสะเก็ดร่วมด้วย เมื่อกด หรือ สัมผัส จะรู้สึกได้ถึงความเจ็บ และ ความเจ็บนี้จะค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ พร้อม ๆ กับขนาดของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ก็จะมีเลือดปรากฎออกมาได้ง่ายในบริเวณดังกล่าวอีกด้วย

2.มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ หรือ Basal Cell Carcinoma
อาการมะเร็งผิวหนัง ระยะแรกของมะเร็งชนิดนี้จะปรากฎเป็นตุ่มเรียบสีแดง หรือ สีชมพู ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างจากมะเร็งผิวหนังชนิดสแควมัสเซลล์ก็คือ มีลักษณะปรากฎของเส้นเลือดฝอยที่มีขนาดเล็กที่มีเลือดออกได้ และ เกิดเป็นแผลเรื้อรังได้ แต่มะเร็งผิวหนัง อาการจากชนิดเบซัลเซลล์จะโตขึ้นอย่างช้า ๆ หลาย ๆ ท่านจึงไม่ค่อยเห็นถึงความผิดปกติ หรือ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

3.มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา หรือ Melanoma
มะเร็งผิวหนัง อาการที่คล้ายคลึงกับไฝ หรือ ขี้แมลงวัน แต่การโตจะเกิดขึ้นเร็วมาก และ ทำให้เกิดความไม่สม่ำเสมอของสีผิว รวมไปถึงเกิดเป็นแผลตกสะเก็ดและเป็นมะเร็งผิวหนัง อาการคันให้รู้สึกรำคาญใจอีกด้วย

ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง มีดังนี้

  1. พันธุกรรมเป็นเรื่องที่น่ากังวลเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ที่มีประวัติของบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมาก่อนจะเสี่ยงเป็นโรคนี้ด้วย
  2. ความผิดปกติของเม็ดสี โดยเฉพาะเม็ดสีชนิดยูเมลานินที่ทำหน้าที่ป้องกันมะเร็งผิวหนังให้กับร่างกายของคุณตามธรรมชาติ แต่คนผิวขาวมักมีเม็ดสีชนิดนี้น้อย จึงเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง
  3. การรับแสงแดดมากเกินไป ตัวกระตุ้นที่สำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังก็คือ ปริมาณ และ ความเข้มของแสงแดด
  4. การสัมผัสกับสารเคมีรุนแรง สารเคมีรุนแรงเหล่านั้นจะกัดกร่อนชั้นผิวหนัง ทำให้ผิวหนังบางลง และ ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนังที่เพิ่มสูงขึ้น
  5. การรับประทานยาบางชนิด การรักษาโรค หรือ การรับประทานยาบางชนิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน

อาการและสัญญาณเตือนมะเร็งผิวหนัง

โรคมะเร็งผิวหนังมีอาการที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถเกิดได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณ แขน ขา มือ ใบหน้า หรือบริเวณที่ต้องถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ๆ ทั้งนี้อาการของมะเร็งผิวหนังจะแตกต่างกันตามชนิดของมะเร็งผิวหนัง ดังนี้

  • มะเร็งผิวหนังชนิดเบซัลเซลล์ อาการที่เห็นได้ชัดคือจะมีตุ่มเนื้อสีชมพู แดง มีลักษณะผิวเรียบมัน และมักจะมีเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ กระจายอยู่บริเวณตุ่มเนื้อ บางครั้งก็มีลักษณะเป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย ตุ่มเนื้อจากมะเร็งชนิดนี้จะโตช้า และจะโตไปเรื่อย ๆ จนอาจแผลแตกในที่สุด ทำให้มีเลือดออกและกลายเป็นแผลเรื้อรัง
  • มะเร็งผิวหนังชนิดสะความัสเซลล์ อาการของมะเร็งชนิดนี้จะเริ่มต้นจากตุ่มเนื้อสีชมพู หรือแดง และด้านบนอาจมีลักษณะเป็นขุย หรือตกสะเก็ด เมื่อสัมผัสบริเวณแผลจะรู้สึกแข็ง เลือดออกง่าย แผลจะค่อย ๆ ขยายขนาดไปเรื่อย ๆ และกลายเป็นแผลเรื้อรังในที่สุด
  • มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา เนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของมะเร็งชนิดนี้ เริ้มต้นจะมีลักษณะคล้ายกับไฝหรือขี้แมลงวัน แต่จะโตเร็ว ขอบเขตไม่เรียบและอาจมีสีไม่สม่ำเสมอ ทั้งนี้ที่บริเวณแผลอาจตกสะเก็ดหรือมีอาการเลือดออกด้วยเช่นกัน

การตรวจโรคมะเร็งผิวหนัง

  • การตรวจเบื้องต้นด้วยตนเอง สามารถทำได้ด้วยการสังเกตความผิดปกติของผิวหนัง หากมีตุ่มเนื้อที่ดูผิดปกติ หรือมีแผลเรื้อรังบริเวณผิวหนังที่มักจะโดนแดดบ่อย ๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจให้ชัดเจน
  • การวินิจฉัยโดยแพทย์ ด้วยการสังเกตความผิดปกติของผิวหนังอีกครั้ง หากบริเวณที่ผิดปกตินั้นมีความน่าสงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อนำตัวอย่างผิวหนังบริเวณที่ต้องสงสัยไปทำการตรวจด้วยวิธีทางพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำ

วิธีการรักษามะเร็งผิวหนัง มีดังนี้

  • การจี้ด้วยไฟฟ้า
  • การขูดออก
  • การจี้ด้วยความเย็น
  • การผ่าตัดออก
  • การให้เคมีบำบัด
  • การฉายรังสี

ป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ ดังนี้

1.การทาครีมกันแดดสามารถป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอ และ รังสียูวีบี ยิ่งครีมกันแดดสมัยใหม่นั้นยังสามารถป้องกันรังสีสีฟ้าที่ล้วนก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง

2.การป้องกันผิวทางกายภาพทั้ง การกางร่ม สวมใส่เสื้อแขนยาว ขายาว หรือ การสวมใส่หมวก ล้วนช่วยลดความรุนแรงที่ร่างกายของคุณได้รับจากแสงแดดได้ทั้งสิ้น

3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารอันตราย สารอันตรายจะทำให้ผิวหนังเกิดการกัดกร่อน บางลง และ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง การหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเหล่านี้จึงเป็นการป้องกันมะเร็งผิวหนัที่ต้นเหตุ

4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด แสงแดดตัวร้ายทำลายผิว ก่อมะเร็ง คุณจึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดทั้งปริมาณ และ ความเข้ม

5.การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี วิตามินซีมักอุดมอยู่ในผักและผลไม้ ซึ่งช่วยให้ร่างกายและผิวพรรณของคุณสามารถต่อต้านอนุมูลอิสระจากแสงแดดที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้

6.ตรวจสุขภาพประจำปี โดยควรตรวจเป็นประจำในทุกปี เพื่อให้คุณสามารถเฝ้าติดตามความผิดปกติต่าง ๆ ของผิวพรรณที่เกิดขึ้น และ สามารถรักษาได้ทันหากคุณเสี่ยงหรือเป็นโรคมะเร็งผิวหนังแล้วก็ตาม

สรุป : การปกป้องผิวของคุณจากการทำลายของรังสียูวีด้วยครีมกันแดด เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพผิวและลดความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนังและฝ้า กระ การเลือกครีมกันแดดที่เหมาะกับประเภทผิวของคุณ และการทาครีมกันแดดซ้ำอย่างถูกต้องสามารถช่วยให้มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพการปกป้องผิวจากแสงแดดได้สูงสุด

หากท่านมีปัญหาสุขภาพ หรือต้องการปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์และการใช้ยาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่หน้าร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัชทุกสาขา หรือใช้บริการให้คำปรึกษา ช่องทางออนไลน์ได้ทุกช่องทางของเรานะคะ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
– โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
– Eucerin Thailand

เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี