“โรคภูมิแพ้”เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เมื่อได้รับ “สารก่อภูมิแพ้” เข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการปฏิกิริยาที่ผิดปกติ สารก่อภูมิแพ้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง อาทิ ทางเดินหายใจ การกินอาหาร การสัมผัส ซึ่งโรคภูมิแพ้สามารถเกิดได้ใน 2 สาเหตุหลัก คือ กรรมพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยการเกิดจากกรรมพันธุ์ มีความเป็นไปได้ว่าหากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้ โอกาสที่ลูกจะเป็นก็มีสูงมากถึง 60%
สารก่อให้เกิดภูมิแพ้ทางเดินหายใจมีอยู่รอบตัวเรา ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายมีปฏิกิริยากับสิ่งไหน เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น ขนสัตว์เลี้ยง แมลงสาบ เชื้อรา ละอองดอกหญ้า เกสรดอกไม้ และวัชพืชต่างๆ ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ที่มีการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นๆ หากสูดดมนำสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยาการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุตา รวมถึงหลอดลมได้
อาการของโรคภูมิแพ้ที่ต้องเฝ้าระวัง
- ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ น้ำมูกใส คัดแน่นจมูก ไอ จาม หายใจไม่สะดวก (ไม่เต็มปอด) เหนื่อยง่าย หายใจแล้วมีเสียงคล้ายนกหวีดในปอด ส่วนมากอาการจะรุนแรงมากขึ้นในตอนกลางคืน หรือในช่วงที่มีอากาศเย็น
- ระบบผิวหนัง ได้แก่ ผื่นลมพิษ ผื่นคัน ผื่นแห้งๆแดงๆ ทำให้เกิดรอยแยกบริเวณผิวหนังที่เป็นผื่น บางครั้งอาจพบมีอาการหน้าบวม ตาบวม หายใจลำบากร่วมกับผื่นลมพิษได้
- ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบในวัยเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ส่วนในผู้ใหญ่นั้นอาจพบผื่นลมพิษหลังกินอาหารบางประเภท และจะเป็นทุกครั้งที่รับประทานอาหารประเภทนั้นๆ นอกจากนี้ในบางรายอาจพบอาการแพ้รุนแรงหลังรับประทานอาการทางตา ได้แก่ คันตา แสบตา มีน้ำตาไหลตลอดเวลา รู้สึกมีอะไรอยู่ในตาตลอด ต้องขยี้ตาบ่อย เปลือกตาบวม ถ้ามีอาการแพ้มากๆ แล้วไม่ได้รักษาอาจนำมาสู่ภาวะรุนแรง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อส่วนประกอบที่สำคัญต่อการมองเห็นเช่น กระจกตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
ปัจจัยที่ก่อให้การเกิดโรคภูมิแพ้
ปัจจัยทางพันธุกรรม มียีนหลายยีนในร่างกายเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ พบว่าผู้ที่เกิดมาในครอบครัวที่มีโรคภูมิแพ้อากาศ โรคหืดจากภูมิแพ้ ผื่นผิวหนัง หรือลมพิษบางชนิด โรคตาอักเสบจากภูมิแพ้ มีโอกาสที่จะเป็นโรคในกลุ่มนี้ได้มากกว่าคนอื่นๆ
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น สารก่อภูมิแพ้ ซึ่งมีทั้งภายนอกบ้าน (เช่น ละอองเกสรพืช หญ้า เชื้อราบางชนิด) และภายในบ้าน (เช่นไรฝุ่นตามที่นอน ขนสัตว์เลี้ยง เชื้อราบางชนิด แมลงสาบ) สารก่อภูมิแพ้เหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางเดินหายใจ ทางการกิน และการสัมผัส เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะนอกจากนี้มลภาวะ และสารพิษต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันท่อไอเสียรถยนต์ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นสเปรย์ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ โรคติดเชื้อบางชนิด รวมถึงอารมณ์เครียด และการอดนอน ล้วนแล้วแต่เป็นตัวสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มีอาการขึ้นได้ หรือทำให้อาการที่เป็นอยู่แล้วแย่ลง
แยกอาการของภูมิแพ้กับไข้หวัด
คนส่วนใหญ่มักแยกไม่ออกว่าอาการที่เป็นอยู่คือภูมิแพ้หรือไข้หวัด จริงๆ แล้วภูมิแพ้ทางเดินหายใจก็มีอาการคล้ายไข้หวัด คือมีจาม น้ำมูกไหล คัดจมูก แต่จะแสดงอาการเป็นเวลา เช่น อาการของภูมิแพ้จะมีแสดงในช่วงกลางคืนและช่วงเช้าตื่นเช้ามาจะจามและมีน้ำมูกไหล พอออกจากบ้านเจอแดดก็หาย ซึ่งอาจเป็นผลจากไรฝุ่นบนที่นอนหรือตุ๊กตาก็ได้ บางรายอาจมีอาการตอนที่ใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยงอย่างแมวหรือสุนัข จะไม่ได้มีอาการตลอดเวลา ส่วนไข้หวัดจะมีอาการเหล่านี้เช่นกัน แต่จะเป็นตลอดเวลาและมักมีไข้ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น เสมหะเปลี่ยนสีร่วมด้วย
ขอบตาดำ กับภูมิแพ้
ขอบตาดำจากโรคภูมิแพ้ (Allergic Shiner) คือการที่ขอบตาดำคล้ำ อาจมีใต้ตาบวมร่วมจากโรคภูมิแพ้ เพราะเมื่อเป็นภูมิแพ้จะมีอาการเยื่อบุจมูกอักเสบ คันตา เคืองตา ตาบวม ตาแดง น้ำมูกไหล ไอ จาม โดยผู้ที่เป็นเรื้อรังมักเกิดเยื่อบุจมูก และตาบวม ทำให้เลือดดำไหลผ่านได้ยาก จึงคั่งอยู่บริเวณใต้ตา ทำให้เกิดเป็นรอยคล้ำใต้ตานั่นเอง ดังนั้น เมื่อมีอาการเหล่านี้พยายามงดการขยี้ตาแรงๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มรอยคล้ำและรอยเหี่ยวย่น ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ และรักษาโรคภูมิแพ้อย่างต่อเนื่อง
วิธีการรักษาภูมิแพ้ทางเดินหายใจ
หัวใจสำคัญของการรักษาโรคภูมิแพ้คือต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายต่อสู้กับสารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงมลพิษเช่น pm2.5 ร่วมกับการพบแพทย์ ติดตามอาการ อาจมีการใช้ยาพ่นจมูก ใช้น้ำเกลือล้างจมูก รวมถึงรับประทานยาแก้แพ้เพิ่มเวลามีอาการ ช่วยให้อาการต่างๆ บรรเทาลงได้
การรักษาด้วยวิธีการปรับภูมิคุ้มกัน
(Immunotherapy) มี 2 วิธีหลัก คือ วิธีฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าใต้ผิวหนัง และค่อยๆ เพิ่มปริมาณทีละนิดทุกครั้งที่มาพบแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยสร้างภูมิที่ดีมาต้านปฏิกิริยาการแพ้ต่อสารนั้นได้ และอีกวิธีเป็นการใช้สารที่ผู้ป่วยแพ้อมใต้ลิ้นทุกวัน
ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้อย่างไร?
- โรคจมูกอักเสบ (acute rhinitis) หรือที่มักเรียกว่า “หวัด” ทำให้มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหรือมึนศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล (มีสีใส, ขุ่น หรือเหลืองเขียว)
- โรคไซนัสอักเสบ (acute rhinosinusitis) ทำให้มีไข้ คัดจมูก น้ำมูก หรือเสมหะมีสีเหลือง หรือเขียวข้นตลอด ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น อ่อนเพลีย ไอ ปวดศีรษะ ปวดจมูก, โหนกแก้ม, รอบตา หรือหน้าผาก
- โรคหูชั้นกลางอักเสบ (acute otitis media) ทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ปวดหู หูอื้อ อาจมีหนองไหลออกมาจากหู มีเสียงดังในหู อาจมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนได้ในผู้ป่วยบางราย
- โรคคอ หรือต่อมทอนซิลอักเสบ (acute pharyngitis or tonsillitis) ทำให้มีไข้ เจ็บคอ กลืนอาหาร หรือกลืนน้ำลายแล้วเจ็บ หรือติดขัด
- โรคสายเสียง หรือกล่องเสียงอักเสบ (acute laryngitis) ทำให้ไอ ระคายคอ มีเสียงแหบแห้ง
- โรคหลอดลมอักเสบ (acute bronchitis) ทำให้ไอ มีเสมหะ เจ็บหน้าอก
- โรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม (pneumonia) ทำให้มีไข้ ไอ หอบ
สาเหตุการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
สาเหตุส่วนใหญ่ของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจนั้นเกิดจากเชื้อไวรัส (ได้แก่ rhinovirus, influenza, parainfluenza, adenovirus) จึงไม่มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ต้องกินยาแก้อักเสบ เมื่อผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นมาไม่เกิน 7-10 วัน เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง ถ้าผู้ป่วยปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง และเหมาะสม แต่ถ้าผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมานานเกิน 7-10 วัน (มักจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย) หรือมีหลักฐานที่บ่งบอกว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ การกินยาแก้อักเสบในกรณีดังกล่าวจึงสมเหตุสมผล
กินยาแก้อักเสบได้หรือไม่?
บางกรณี ถึงแม้การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนเป็นมาไม่เกิน 7-10 วัน แต่อาจมีความจำเป็นต้องกินยาแก้อักเสบ เนื่องจากมักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่
- ผู้ป่วยเป็นโรคไซนัสอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (acute bacterial rhinosinusitis) (รูปที่ 1) นอกจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว การตรวจจมูกจะพบเยื่อบุจมูกบวม แดง มีน้ำมูกสีเหลือง หรือเขียวภายในโพรงจมูก หรือมีเสมหะสีเหลือง หรือเขียวไหลลงคอ อาจมีการกดเจ็บที่บริเวณหน่าผาก หัวตา หรือโหนกแก้ม
- ผู้ป่วยเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (acute bacterial tonsillitis) (รูปที่ นอกจากอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว การตรวจคอจะพบต่อมทอนซิลบวม แดง มีตุ่มหนองบนต่อมทอนซิล อาจพบจุดเลือดออกบนเพดานอ่อน หรือมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และกดเจ็บ
- ผู้ป่วยเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรีย (acute bacterial otitis media) (รูปที่ 3) ผู้ป่วยมักมีประวัติไข้หวัด หรือจมูกอักเสบนำมาก่อน ต่อมามีอาการดังกล่าวข้างต้น ตรวจหูพบเยื่อแก้วหูบวม, แดง, ทึบ อาจเห็นระดับหนองภายในหูชั้นกลางหลังเยื่อแก้วหู
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลบำรุงราษฎร
– โรงพยาบาลพญาไท
– โรงพยาบาลศิริราช
– โรงพยาบาลสมิติเวช
– เว็บพบแพทย์
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM