เลือดจาง (Anemia) คืออะไร

เลือดจาง หรือภาวะโลหิตจาง (Anemia) โดยทั่วไปเรียกกันว่าภาวะซีด คือภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินลดลงกว่าปกติ (ฮีโมโกลบิน คือสารสีแดงในเม็ดเลือดแดง) ซึ่งเม็ดเลือดแดงจะทำหน้าที่สำคัญในการนำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ หากร่างกายมีเม็ดเลือดแดงลดลงจะส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้หลากหลาย ตั้งแต่ วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ใจสั่น ผิวซีดหรือผิวเหลืองอาจส่งผลให้ไม่มีสมาธิ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเลือดจางเกิดขึ้นได้หลายประการทั้งที่เป็นมาแต่กำเนิด และเพิ่งเป็นภายหลัง

เลือดจางเกิดได้จากหลายสาเหตุแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้

  1. การสร้างเม็ดเลือดแดงลง ซึ่งเป็นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
    มีภาวะขาดวิตามินหรือแร่ธาตุที่จําเป็นต่อการสร้างของเม็ดเลือดแดงได้แก่ ธาตุเหล็ก, วิตามินบี 12, กรดโฟลิค เมื่อร่างกายได้รับวิตามินหรือแร่ธาตุไม่เพียงพอจึงทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์ได้ ทำให้เกิดภาวะ “โลหิตจาง” ซึ่งโลหิตจาง หรือ เลือดจาง จากสาเหตุนี้จะพบมากที่สุด
    โรคเรื้อรังต่างๆเช่น ไตวายเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับไขกระดูก หรือโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะของโรคเหล่านี้ส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยกว่าปกติ
  2. ความผิดปกติทางพันธุ์กรรมของเม็ดเลือดแดง โรคกลุ่มนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
    โรคธาลัสซีเมียที่ถ่ายทอดจากทางกรรมพันธ์ทําให้เกิดภาวะโลหิตจาง
    G-6-PD (ความผิดปกติทางพันธุกรรมทำให้พร่องเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดง)
    การติดเชื้อบางชนิด เช่น มาลาเรีย, คลอสติเดียม, มัยโคพลาสมา เป็นต้น
  3. สูญเสียเลือดเรื้อรังหรือเฉียบพลัน เช่น เลือดออกจากแผลอุบัติเหตุต่างๆ มีแผลในกระเพาะอาหาร ปัสสาวะปนเลือด บริจาคเลือด และการเสียเลือดจากประจำเดือน รวมถึงผู้ที่เสียเลือดเรื้อรังก็มักจะมีการขาดธาตุเหล็กตามมาด้วย

ภาวะเลือดจางสังเกตได้อย่างไร

  • รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
  • หน้ามืด เวียนศรีษะ
  • สมองช้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิ
  • เบื่ออาหาร ท้องอืด
  • หายใจลำบากขณะออกแรง
  • มือเท้าเย็น
  • เจ็บหน้าอก ใจสั่น

โลหิตจางรักษาอย่างไร

ทั้งนี้หากสงสัยว่ามีภาวะโลหิตจางควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคเพิ่มเติม ว่าเป็นโลหิตจางประเภทไหน เพื่อการรักษาที่ตรงจุด หากเป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กหรือแร่ธาตุที่จําเป็นซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ก็จะให้ยาที่เสริมสารอาหาร หรือ ธาตุเหล็ก เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรักษาของแพทย์ที่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

การปฎิบัติตัวเพื่อสุขภาพและการบำรุงเลือด

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำอย่างเหมาะสม ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • ผ่อนคลายความเครียดทำ กิจกรรมเพื่อให้ผ่อนคลาย เช่น การเล่นโยคะ
  • ลดการดื่มเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ที่จะไปขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกาย
  • รับประทานอาหาร หรือ ผักที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กวิตามินบีและกรดโฟลิค (วิตามินบี 9 )
  • ออกกำลังกายเบาๆ ไม่หนักเกินไป อย่าหักโหมจะทำให้ร่างกายเครียดและเกิดเลือดจางได้


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– megawecare.co.th
– kapook.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

 





แชร์

ยังไม่มีบัญชี