“ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองบนผิวหนัง” โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้แพ้กลูเตน

ถ้าพูดถึงอาหารการกินที่ส่งผลต่อการเกิดโรคได้พอประมาณ ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองบนผิวหนัง จะต้องมาเป็นอีกโรคหนึ่ง เพราะภาวะนี้ เกิดจากผู้ที่แพ้อาหารที่มาจากสารกลูเตน ที่จะทำให้ผู้ป่วยเกิดการแพ้ตรงบริเวณผิวหนังนั่นเอง

ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองบนผิวหนังเป็นโรคเรื้อรัง การแผลตุ่มน้ำเล็ก ๆ ที่ผิวหนังซ้ำ ๆ การระบาดอาจกินเวลาเป็นวันสัปดาห์เดือน หรือแม้กระทั่งปี โรคผิวหนังอักเสบ ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดปกติ โดยมักจะมีผลต่อผู้ใหญ่อายุระหว่าง 20-60 ปี แต่เด็ก ๆ ก็อาจมีได้เช่นกัน สมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ อาจมีประวัติของภาวะนี้ความผิดปกตินี้ไม่ติดต่อและไม่สามารถป้องกันได้ ไม่ทราบสาเหตุ แต่ความผิดปกตินี้น่าจะเป็นภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง บางคนมีโรคความผิดปกติที่คนไม่สามารถย่อยกลูเตน ซึ่งเป็นโปรตีนในธัญพืช เช่น ข้าวสาลี

สำหรับอาการของภาวะดังกล่าวนั้น จะมีลักษณะอาการคัน โดยจะเกิดตรงบริเวณต่างๆ อาทิเช่น ก้น, หลัง, คอ, หนังศีรษะ, ข้อศอก, หัวเข่า,หลังไรผม, ขาหนีบ หรือ ใบหน้า ซึ่งลักษณะบาดแผลของภาวะดังกล่าวนั้น จะมีขนาดแตกต่างกันไปตั้งแต่ขนาดเล็กมากจนถึง 1 เซนติเมตร ส่วนอาการคันจะไล่ระดับตั้งแต่มีการคันเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงมีความรู้สึกแสบร้อนก่อนที่แผลจะปรากฏในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง

แต่ในขณะเดียวกัน ภาวะของโรคดังกล่าวนั้น แม้ว่าจะมีอาการเรื้อรัง แต่ก็มักจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อตอบสนองต่อปริมาณกลูเตนที่กินเข้าไป หรือในบางครั้งอาการเหล่านี้อาจจะมาพร้อมกับอาการของโรคเซลิแอค (Celiac Disease) ซึ่งมักจะมีอาการปวดท้อง, ท้องอืดหรืออุจจาระหลวม หรือ การสูญเสียน้ำหนักและความเมื่อยล้า

อย่างไรก็ตามบุคคลที่มีภาวะโรคที่ว่านี้ มักไม่มีอาการทางระบบทางเดินอาหารแม้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายของลำไส้ก็ตาม

วิธีการรักษา

งดรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของกลูเตนอย่างเด็ดขาด เพราะอาหารที่มีส่วนผสมดังกล่าว รวมไปถึงยาที่มีส่วนผสม อาทิ สเตียรอยด์, คาลาไมน์ โลชั่น, อันติฮิสทาไมน์ส และ แดปโซน หรือ ซัลฟาพายไรดีน เพื่อไม่ให้ไปกระตุ้นการอักเสบ บวมแดง รวมถึง ลดความรุนแรงและระยะเวลาแพร่กระจายของภาวะดังกล่าว

อีกข้อที่ควรระมัดระวังอย่างมาก นั่นคือ ห้ามหยุดกินยาหรือเปลี่ยนปริมาณยาเอง รวมถึง ห้ามทำกิจกรรมที่ร้อนจนเกินไป ในขณะเดียวกันนั้น สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ได้แก่

  • ควรกินยาตามแพทย์สั่ง และ ควรอ่านฉลากก่อนการใช้ยา
  • ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับเวลาและยาที่กินอยู่ประจำ
  • ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความร้อนและเหงื่อออกมาก รีบอาบน้ำให้สะอาดหากมีเหงื่อออกมาก
  • ควรสังเกตอาการติดเชื้อทางผิวหนัง อาการแดงรอบ ๆ แผล หนอง ปวดบวมแดง ที่ต่อมน้ำเหลือง มีไข้
  • ควรแจ้งแพทย์หากแผลมีอาการแย่ลง ไปตามนัดแพทย์



แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– jia1669.com
– wiki.th-th.nina.az
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี