วางแผนจะไปทะเลกับเพื่อนสาว แต่ดันเป็นช่วงที่มีประจำเดือน สาวๆ ที่จำเป็นต้องเลื่อนประจำเดือน เนื่องในโอกาสสำคัญต่างๆ อาจต้องใช้ ยาเลื่อนประจำเดือน แต่สำหรับคนที่กินยาคุมกำเนิดอยู่แล้ว สามารถใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อการเลื่อนประจำเดือนได้ค่ะ
การรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน โดยทั่วไป จะเป็นการรับประทานฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งฮอร์โมนที่สร้างขึ้นมานั้น จะมีความคล้ายคลึงกับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มีอยู่ในร่างกายอยู่เเล้ว เนื่องจากตามธรรมชาติ กลไกการมีประจำเดือน จะต้องมีฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมาก่อน ต่อมาเกิดการตกไข่ ตามด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ต่อมาระดับโปรเจสเตอโรนลดลง ประจำเดือนจึงมา ดังนั้น เมื่อทานโปรเจสเตอโรนต่อเนื่อง ไปช่วงก่อนที่คาดว่าประจำเดือนจะมา จึงทำให้ยืดเวลาก่อนมีประจำเดือนไปได้ พอหยุดยา ระดับจะลดลง เหมือนตามธรรมชาติที่ว่าระดับลดลง แล้วประจำเดือนจะมาค่ะ
ส่วนการรับประทานยาคุมกำเนิด จะเเตกต่างเล็กน้อย คือ เป็นฮอร์โมนรวม ทั้งเอสโตรเจนผสมโปรเจสเตอโรน ทั้งนี้เพื่อยั้บยั้งการตกไข่ เเละเปลี่ยนให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ถ้าทานเเบบ 21 เม็ดจะต้องเว้น 7 วัน ก่อนการเริ่มแผงใหม่ ส่วนการรับประทานเเบบ 28 เม็ด จะมีฮอร์โมนจริงๆ 21-24 เม็ดขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ส่วนที่เหลือคือวิตามินบำรุง ตามหลักการถ้ามียาอยู่ในร่างกายตลอดจะสามารถควบคุมไม่ให้มีการตกไข่ได้ ทำให้ลดโอกาสในการตั้งครรภ์ลง เเต่ที่จำเป็นต้องปล่อยให้เลือดออกบ้าง จากการที่เว้นช่วงการรับประทานยา คือ เพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกกรปริบกระปรอย
ดังนั้น ถ้าต้องการทานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเลื่อนประจำเดือน ถือว่าสามารถทำได้ เนื่องจากบางรายเพื่อรักษาอาการปวดประจำเดือน บางครั้งก็รับประทาน 3 แผงติดต่อกันค่อยปล่อยให้มีประจำเดือน สามารถทำได้เช่นกัน เเต่อาจเพื่อโอกาสในการเกิดเลือดออกกระปริบกระปรอย ถ้าทานอย่างต่อเนื่อง ส่วนมากโอกาสในการตั้งครรภ์ค่อนข้างน้อย เเต่เเนะนำว่าใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดมากขึ้นค่ะ
ทำไมยาคุมกำเนิดถึงเลื่อนประจำเดือนได้
ยาเม็ดคุมกำเนิดได้รับการออกแบบมาให้เลียนแบบการมีรอบเดือนตามธรรมชาติ โดยยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 28 เม็ด จะบรรจุยา 28 เม็ดแต่มีเพียง 21 เม็ดที่มีฮอร์โมนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ และอีก 7 เม็ดที่เหลือไม่ส่งผล หรือที่เรียกกันว่า ‘เม็ดแป้ง’ การมีเลือดออกที่เกิดขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่คุณกินยาคุมกำเนิด เรียกว่า เลือดคล้ายประจำเดือน (withdrawal bleeding) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการหยุดฮอร์โมน ถ้าคุณข้ามการกินเม็ดแป้ง 7 เม็ด และเริ่มกินยาแผงใหม่ทันที คุณจะไม่มีภาวะเลือดคล้ายประจำเดือน เลือดคล้ายประจำเดือนที่เกิดขึ้นในช่วงที่คุณกินเม็ดแป้งนั้น ไม่เหมือนกับประจำเดือนปกติ และเป็นการมีเลือดออกที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย คุณจึงสามารถกินยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือนได้
การใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือน
นอกหนือจากการใช้ยานอร์อิทิสเตอโรนเพื่อเลื่อนประจำเดือนแล้ว หากคุณกินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 21 เม็ดและ 28 เม็ด คุณก็สามารถใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือนได้ โดยวิธีการใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือนทำได้ดังนี้
- ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 21 เม็ด โดยปกติต้องกินจนหมดแผงและหยุดกิน 7 วันก่อนเริ่มแผงใหม่ ซึ่งหลังจากหยุดกินยาคุมกำเนิดประมาณ 1-3 วันจะมีประจำเดือน แต่หากต้องการเลื่อนประจำเดือน ให้เริ่มกินยาคุมกำเนิดแผงใหม่โดยไม่ต้องหยุดกินเป็นระยะเวลา 7 วัน
- ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 24 เม็ด ชนิดแผง 24 เม็ดจะมีตัวยา 24 เม็ดและเม็ดแป้ง 4 เม็ด โดยเม็ดแป้งจะมีสีและขนาดต่างจากยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างชัดเจน หากต้องการกินยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือน ให้เริ่มกินยาคุมกำเนิดแผงใหม่ โดยไม่ต้องกินเม็ดแป้ง 4 เม็ด
- ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแผงละ 28 เม็ด ชนิดแผง 28 เม็ดจะมีตัวยา 21 เม็ดและเม็ดแป้ง 7 เม็ด โดยเม็ดแป้งจะมีสีและขนาดต่างจากยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างชัดเจน หากต้องการกินยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือน ให้เริ่มกินยาคุมกำเนิดแผงใหม่ โดยไม่ต้องกินเม็ดแป้ง 7 เม็ด
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือน
เกิดภาวะเลือดออกมาก (Breakthrough bleeding) หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอยในช่วงที่มีประจำเดือน ถือเป็นอาการที่พบบ่อยเมื่อคุณกินยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือน โดยเฉพาะในช่วงเดือนแรก ภาวะเลือดออกมากตามปกติจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อร่างกายของคุณปรับตัวได้ นอกจากนี้การเลื่อนประจำเดือนอาจทำให้ยากในการบอกว่าคุณตั้งครรภ์หรือไม่ หากมีอาการแพ้ท้อง เต้านมคัด หรือรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– web pobpad
– web sanook
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM