ทำไมร่างกายขาด Zinc ไม่ได้?

Zinc (ซิงค์) หรือแร่ธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ เพราะเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน เพื่อให้ระบบการทำงานของร่างกายดำเนินไปอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ Zinc เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี

Zinc ช่วยอะไร?

  • ช่วยการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme)ต่างๆถึงประมาณร้อยกว่าชนิดโดยเฉพาะเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
  • ช่วยการเสริมสร้างโปรตีน
  • ช่วยการใช้พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต
  • ช่วยการสร้างสารพันธุกรรมดีเอนเอ (DNA)
  • ช่วยให้เซลล์แบ่งตัวได้อย่างปกติจึงช่วยให้เนื้อเยื่อต่างๆเจริญเติบโตได้อย่างปกติโดยเฉพาะ ทารกในครรภ์ วัยเด็ก วัยรุ่น และในช่วงตั้งครรภ์
  • ช่วยในการเจริญเติบโตของไข่ และของอสุจิ
  • ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่บาดเจ็บเสียหาย จึงมีส่วนสำคัญช่วยการสมานแผลต่างๆให้หายได้อย่างรวดเร็ว และ
  • ช่วยเซลล์ในการรับรสชาติอาหารและการได้กลิ่นต่างๆ

ทำไมร่างกายขาด Zinc ไม่ได้?

Zinc นั้นเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่กลับมีส่วนช่วยในการควบคุมกระบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกายให้เป็นปกติอย่างมากมาย ได้แก่

  • ช่วยการทำงานของเอ็นไซม์กว่า 300 ชนิด
  • กระบวนการย่อยและเผาผลาญสารอาหาร
  • สร้างโปรตีนที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย
  • สังเคราะห์ DNA 
  • ระบบสืบพันธุ์
  • ระบบประสาท
  • การทำงานของฮอร์โมน
  • ระบบภูมิคุ้มกัน
  • การเจริญเติบโต

ความสำคัญของ Zinc มีมากมายและเป็นกระบวนการสำคัญต่อชีวิตเราทั้งนั้น แล้วที่น่ากังวลเพิ่มไปอีกคือร่างกายเราไม่สามารถผลิตขึ้นได้เองด้วย ต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้น

Zinc ออกฤทธิ์อย่างไร?

สังกะสีเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการคงสภาพของร่างกายมนุษย์ สังกะสีถูกพบในระบบปฏิกิริยาทางชีวภาพมากมาย และยังเป็นสารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน, การสมานบาดแผล, การเกิดลิ่มเลือด, การทำงานของไทรอยด์, และอื่น ๆ มากมาย โดยคุณสามารถรับสังกะสีเข้ามาได้จากการรับประทานอาหารจำพวกผลิตภัณฑ์จากนมวัว, ถั่ว, เนื้อ, อาหารทะเล, และธัญพืช

ปริมาณ Zinc ที่เหมาะสมกับร่างกายในแต่ละช่วงวัย

  • อายุน้อยกว่า 1 ปี               3 – 5        มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 1 –10 ปี                   10          มิลลิกรัม/วัน
  • อายุ 11 ปีขึ้นไป                 15          มิลลิกรัม/วัน
  • สตรีในระยะตั้งครรภ์        20 – 25     มิลลิกรัม/วัน
  • สตรีในระยะให้นมบุตร     25 – 30     มิลลิกรัม/วัน

จะเกิดอะไรหากร่างกายไม่ได้รับ Zinc ในปริมาณที่เหมาะสม?

ดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าซิงก์เป็นสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับในปริมาณที่พอเหมาะพอดี แล้วถ้าหากร่างกายได้รับซิงก์ในปริมาณที่มากไป หรือน้อยไปล่ะ จะส่งผลกระทบอย่างไร?

กรณีที่ได้รับซิงก์มากเกินไป

  • มากเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน: ส่งผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด
  • มากเกินกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวัน: เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ เกร็งบริเวณกล้ามเนื้อท้อง และเกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร
  • มากเกินกว่า 1.5 เท่าของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน: หากเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน สังกะสีจะเข้าไปลดการดูดซึมทองแดงและธาตุเหล็ก ส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง

กรณีที่ได้รับซิงก์น้อยเกินไป

ร่างกายจะแสดงออกมาด้วยอาการทางผิวหนัง นั่นคือ

  • ขนตามร่างกายร่วง ผิวหนังเป็นรอยเขียวฟกช้ำได้ง่าย
  • แผลเรื้อรังไม่ยอมหายสักที มีการอักเสบระคายเคืองที่ผิวหนัง
  • ผิวแห้งลอกไม่มีความชุ่มชื้น ผิวหยาบกร้าน โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นข้อพับ
  • ประสาทการรับรสเริ่มด้อยประสิทธิภาพ
  • แผลหายช้า
  • สำหรับหญิงที่ให้นมบุตร การขาดธาตุสังกะสีจะส่งผลไปถึงการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของลูกน้อย

รู้กันอย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมเลือกทานสิ่งดีๆ อาหารที่มีประโยชน์ และสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ดี การรับสิ่งดีๆ เพื่อร่างกายของเราเอง ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถแน่นอน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– web hdmall
– web thrivewellnessth
– web biopharm
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี