ฮอร์โมน DHEA คืออะไร
DHEA (Dehydroepiandrosterone) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต มีความสำคัญในการเป็นสารตั้งต้นที่สร้างฮอร์โมนกลุ่ม สเตียรอยด์ตามธรรมชาติที่มีบทบาทหน้าที่หลากหลาย อาทิ ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นสารตั้งต้นในการผลิตฮอร์โมนเพศอย่าง เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยพบว่าระดับของฮอร์โมน DHEA นั้น จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะค่อยๆ ลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อาจเฉลี่ยมากถึง 1-2% ในแต่ละปีเลยทีเดียว เพราะแบบนี้ การตรวจเช็กความสมดุลของฮอร์โมน DHEA จึงสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเราอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
เมื่อ DHEA ไม่สมดุลจะเกิดอะไร
เมื่อมีอายุมากขึ้นทำให้แนวโน้มในการผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ลดลง รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ก็ส่งผลกระทบต่อการผลิตฮอร์โมนชนิดนี้เช่นกัน อาทิ ความเครียดสะสม ภาวะขาดสารอาหาร และวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินดี วิตามินซี แร่ธาตุแมกนีเซียม และกลุ่มวิตามินบี นอกจากนี้ สารนิโคตินจากการสูบบุหรี่ก็มีส่วน และเมื่อ DHEA ในร่างกายไม่สมดุลหรือน้อยลง ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายต่างๆ อาทิ ทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศก็ลดลง เริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น มีอาการเฉื่อยชา นอนหลับไม่สนิท อ่อนเพลีย กระดูกพรุน ซึมเศร้า นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการเสื่อมถอยของเนื้อเยื่อ เกิดการอุดตันของหลอดเลือด มีอาการจากโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากการอักเสบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น
DHEA สำคัญอย่างไร
- ช่วยควบคุมอารมณ์
- เพิ่มสมรรถภาพในการรับมือกับความเครียด
- เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกระดูก
- ช่วยชะลอวัย
- ช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ลดการเกิดอาการแพ้
- ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว
- ช่วยในกลไกการทำงานของสมอง
- ลดความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ คอเลสเตอรอลสูง ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
- แก้อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
- ช่วยเร่งระบบการเผาผลาญ ควบคุมน้ำหนัก
แหล่งฮอร์โมน DHEA หาได้จากที่ไหนบ้าง
สามารถเพิ่มระดับของ DHEA ได้โดยการรับประทานอาหารประเภทปลา ไข่ ผัก ผลไม้ สัตว์ปีก ถั่ว มันเทศ ธัญพืช ต่างๆ หรือได้รับฮอร์โมน DHEA ทดแทนภายใต้การดูแลของแพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย
สาระน่ารู้เพิ่มเติม
ความแปรปรวนของฮอร์โมน DHEA มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนในเพศชายและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ รวมถึงภาวะเสื่อมถอยด้านกระบวนความคิดและการรับรู้ ฮอร์โมน DHEAs จะมีมากสุดในช่วงวัยผู้ใหญ่ และลดระดับลงเฉลี่ยปีละ 1-2% จนกระทั่งอายุ 90 ปี จุดนี้เอง จึงนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้การเกิดภาวะชรา และประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะช่วยต้านความชรา ลดการสะสมของไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ป้องกันโรคมะเร็ง และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและสมองในด้านความจำอีกด้วย..
สรุป…จริง หากขาดฮอร์โมน DHEA จะทำให้ความต้องการทางเพศลดลงและความแข็งแกร่งของอวัยวะเพศชายลดลง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลพญาไท
– โรงพยาบาลนครธน
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM