ยา Dicloxacillin 500 Mg คำเตือนและการใช้ยา

Dicloxacillin (ยาไดคลอกซาซิลลิน) คือ ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) ที่นำมาใช้รักษาการติดเขื้อจากแบคทีเรียได้อย่างหลากหลาย เช่น โรคติดเชื้อที่กระดูก ผิวหนัง หู และระบบทางเดินปัสสาวะหรืออาจนำมาใช้ในการรักษาโรคหรืออื่น ๆ ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยยา Dicloxacillin มีกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย จึงช่วยหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม ยา Dicloxacillin มีข้อห้ามใช้และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ ดังนั้น การใช้ยาควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร

คำเตือนของการใช้ยา Dicloxacillin

  • ควรหลีกเลี่ยงใช้ยานี้หากเคยมีประวัติแพ้ยาหรือส่วนประกอบในยานี้หรือยาในกลุ่มเพนิซิลลินอื่น ๆ เช่น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin)หรือแอมปิซิลลิน (Ampicillin) และควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีประวัติแพ้ยาอื่น ๆ
  • ก่อนใช้ยานี้ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากกำลังใช้ยาอื่น ๆ ได้แก่ ยาที่สั่งจายโดยแพทย์ ยาที่ซื้อใช้เอง วิตามิน และสมุนไพร เพราะเมื่อใช้ร่วมกับส่วนประกอบบางชนิดของยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายได้
  • ก่อนใช้ยานี้ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงประวัติโรคประจำตัวหรืออาการผิดปกติต่าง ๆ โดยเฉพาะหากเป็นหรือเคยเป็นโรคไต โรคตับ โรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคลำไส้อักเสบ โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร หรือ
  • หากต้องเข้ารับการผ่าตัดหรือทำฟัน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังใช้ยานี้
  • สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรปรึกษาถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของไข้ละอองฟางจากการใช้ยานี้กับแพทย์ผู้รักษา
  • ยานี้ซึมผ่านเข้าสู่นมมารดาได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อบุตร ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนให้นมบุตร
  • ยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยาต่อยา Dicloxacillin โดยเฉพาะหากกำลังใช้ยาต่อไปนี้ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ
  • ยากลุ่มเตตราซัยคลีน (Tetracyclines) เช่น ยาดอกซีไซคลิน (Doxycycline) เพราะอาจลดประสิทธิภาพยา Dicloxacillin
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) หรือยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น
  • ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน จะมีประสิทธิภาพลดลงหากใช้ร่วมกับยา Dicloxacillin

ปริมาณการใช้ยา Dicloxacillin

การติดเชื้อจากแบคทีเรีย Staphylococcal

  • ผู้ใหญ่: รับประทานขนาด 250-500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง อาจเพิ่มขนาดยาในกรณีที่การติดเชื้อมีความรุนแรง
  • เด็ก:
  • อายุน้อยกว่า 7 ปี และน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2 กิโลกรัม ใช้ขนาด 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ทุก 12 ชั่วโมง
  • อายุ 7-28 วัน และน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2 กิโลกรัม หรืออายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 วัน และน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 2 กิโลกรัม ใช้ขนาด 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว(กิโลกรัม) ทุก 8 ชั่วโมง
  • อายุ 7-28 วัน และน้ำหนักตัวมากกว่าหรือเท่ากับ 2 กิโลกรัม ใช้ขนาด 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ทุก 6 ชั่วโมง
  • อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 1 เดือน และน้ำหนักตัวน้อยกว่า 20 กิโลกรัม ใช้ขนาด 50-100 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว(กิโลกรัม) ทุก 6 ชั่วโมง สูงสุดไม่เกิน 4 กรัมต่อวัน
  • สำหรับการติดเชื้อที่มีความรุนแรง ใช้ขนาด 200 มิลลิกรัมขึ้นไปต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) แบ่งใช้หลายครั้ง สูงสุดไม่เกิน 12 กรัมต่อวัน
  • ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 7-21 วัน หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

การใช้ยา Dicloxacillin

  • ควรใช้ยาตามฉลากหรือตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้ยานี้ในปริมาณที่มากกว่าหรือติดต่อกันนานกว่าที่แพทย์แนะนำ
  • โดยทั่วไปรับประทานวันละ 4 ครั้ง ทุก 6 ชั่วโมง หรือตามที่แพทย์แนะนำ
  • ควรรับประทานยาขณะท้องว่าง ก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง
  • ควรรับประทานยาให้ครบตามที่แพทย์แนะนำ ไม่ควรหยุดใช้ยาเองแม้อาการจะดีขึ้นก็ตาม เพราะการหยุดใช้ยาเองหรือหยุดใช้ยาเร็วเกินไปอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียมีการเจริญเติบโตอีกครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ
  • ควรใช้ยาเวลาเดียวกันทุกวันเพื่อให้ยาเกิดประสิทธิภาพที่สุด
  • หากใช้ยา Dicloxacillin แล้วมีอาการแย่ลงหรืออาการไม่หายไป ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
  • ในกรณีที่ลืมรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด ให้รับประทานยาได้ทันที แต่หากใกล้ถึงเวลารับประทานยาในรอบถัดไป ให้ข้ามไปรับประทานยาในรอบถัดไป ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่าและหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์
  • ควรเก็บยาไว้ที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น หากยาหมดอายุให้ทิ้งทันที
  • หากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับการใช้ยานี้ ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรให้เข้าใจ

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Dicloxacillin
ผลข้างเคียงที่พบทั่วไประหว่างใช้ยา Dicloxacillin ซึ่งหากเป็นต่อเนื่องหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ ได้แก่

  • เป็นไข้
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ไม่สบายท้อง ปวดท้อง
  • ท้องเสีย
  • แสบร้อนกลางอก
  • ปวดข้อ
  • เจ็บกล้ามเนื้อ
  • เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อน

อาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะ แต่อย่างไรก็ตาม อาการท้องเสียที่มีความรุนแรง (Pseudomembranous Colitis) มีโอกาสอาจเกิดขึ้นแต่น้อย โดยอาการจะเกิดในขณะที่ใช้ยาหรือหลังจากหยุดใช้ยา ซึ่งหากเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง หรืออุจจาระปนเลือด ควรพบแพทย์ทันทีและไม่ควรรักษาอาการท้องเสียด้วยตนเอง

หากพบว่าเกิดอาการแพ้ยา เช่น ลมพิษ เวียนศีรษะมาก หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ใบหน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม หรือคอบวม ควรรีบพบแพทย์ในทันที

นอกจากนั้น อาจมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ นอกเหนือจากอาการข้างต้นที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติใดๆควรรีบแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที



แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– pobpad.com
– doctorraksa.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

ยังไม่มีบัญชี