ยา Probucol (โพรบูคอล) – ข้อมูล ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง

โพรบูคอล (Probucol) คือ ยาลดไขมัน ที่มีกลไกการออกฤทธิ์หลัก คือ เพิ่มอัตรา เผาผลาญไขมันในเลือดชนิดคอเลสเตอรอล(ชนิดแอลดีแอล/LDL), นอกจากนี้ ตัวยาฯ ยังช่วยยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันคอเลสเตอรอล, และชะลอการดูดซึมไขมันชนิดนี้จากระบบทางเดินอาหารเข้ากระแสเลือดอีกด้วย,รูปแบบยานี้เป็นยารับประทาน, โดยเริ่มแรกที่มีการนำมาใช้ จะใช้ยานี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการบำบัดโรคหัวใจ:โรคหลอดเลือดหัวใจ

ข้อบ่งใช้

ควบคุมระดับไขมันแอลดีแอล (LDL) ของร่างกายที่เกินปกติ

กลไกการออกฤทธิ์

โพรบูคอลมีกลไกการออกฤทธิ์ โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ให้ร่างกายเพิ่มการเผาผลาญไขมันแอลดีแอล (LDL) มากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยชะลอการสังเคราะห์ไขมันแอลดีแอล (LDL), ในทางคลินิกยังพบว่ายาโพรบูคอลช่วยยับยั้งการดูดซึมไขมันดังกล่าวจากระบบทางเดินอาหารได้เล็กน้อยอีกเช่นกัน, จากกลไกเหล่านี้ จึงส่งผลให้เกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ

ยาโพรบูคอลมีรูปแบบดังนี้

ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม/เม็ด

ปริมาณการใช้ยาโพรบูคอล

  • ผู้ใหญ่: รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม, วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า – เย็น, และควรรับประทานยานี้พร้อมอาหาร
  • เด็ก: ห้ามใช้ยานี้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปีลงมา, และหากจำเป็นต้องใช้ยานี้กับผู้ป่วยเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป

แพทย์ผู้รักษาเท่านั้นที่จะเป็นผู้พิจารณาการใช้ยาได้อย่างเหมาะสม

หมายเหตุ: ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ

อาการข้างเคียงจากการใช้ยาโพรบูคอล

ยาโพรบูคอลสามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ต่อระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย: เช่น

  • ผลต่อระบบประสาท: เช่น เกิดอาการ วิงเวียน เป็นลม ปวดหัว ชานิ้วมือ ชาบริเวณใบหน้า
  • ผลต่อการทำงานของหัวใจ: เช่น หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาการใบหน้าบวม มือ-เท้า-ปากบวม
  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น มีอาการ ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง

การเก็บยาโพรบูคอล

  1. เก็บยาภายใต้อุณหภูมิห้องที่เย็น
  2. ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
  3. เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  4. เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อน และความชื้น
  5. ไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– haamor.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

ยังไม่มีบัญชี