ยาต้านเศร้า (Antidepressant) มีตัวไหนบ้าง ออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาต้านเศร้า (Antidepressant) คือ กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองอย่างเซราโทนินและนอร์อะดรีนาลีนให้สมดุล ทั้งยังอาจใช้รักษาโรคอื่น ๆ เช่น โรคย้ำคิดย้ำทำ โรควิตกกังวล และโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) เป็นต้น นอกจากนี้ สารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลงอาจไปรบกวนการส่งสัญญาณของสารสื่อประสาทที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แพทย์จึงอาจใช้ยาต้านเศร้าเพื่อรักษาอาการปวดในระยะยาวด้วยเช่นกัน

ในบางครั้งยาต้านเศร้าอาจรักษาได้เพียงอาการที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถรักษาที่สาเหตุโดยตรงได้ จึงมักใช้ยาประเภทนี้ควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ อย่างจิตบำบัด โดยแบ่งตามโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRI) กลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic) และกลุ่มเอ็มเอโอไอ (MAOI) ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มเอ็มเอโอไอน้อยลง เพราะยากลุ่มนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ จึงควรใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการรักษาด้วย ยาโรคซึมเศร้า

  1. อาการของโรคซึมเศร้า ไม่ได้หายทันทีที่กินยา โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปอาการจึงจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด
  2. ยาโรคซึมเศร้า มีส่วนช่วยในระยะแรกๆ โดยทำให้ผู้ป่วย หลับได้ดีขึ้น เจริญอาหารขึ้น เริ่มรู้สึกมีเรี่ยวแรงจะทำอะไรมากขึ้น ความรู้สึกกลัดกลุ้มหรือกระสับกระส่ายจะเริ่มลดลง
  3. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า บางคนไม่กล้ากินยามากตามที่แพทย์สั่ง แพทย์สั่งกิน 4 เม็ดก็กินแค่ 2 เม็ด หรือกินบ้างหยุดกินบ้าง เพราะกลัวว่าจะติดยา หรือกลัวว่ายาจะไปสะสมอยู่ในร่างกาย แต่ตามจริงแล้ว ยารักษาโรคซึมเศร้าไม่มีการติดยา ถ้าขาดยาแล้วมีอาการไม่สบาย นั่นเป็นเพราะว่ายังไม่หายจากอาการของโรค การกินๆ หยุดๆ หรือกินไม่ครบขนาดกลับจะยิ่งทำให้การรักษาไม่ได้ผลดี และรักษายากมากขึ้น
  4. จากการศึกษาไม่พบว่า ยารักษาโรคซึมเศร้า ตัวไหนดีกว่าตัวไหนอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยคนไหนจะถูกกับยาตัวไหนเป็นเรื่องเฉพาะตัว ซึ่งโดยรวมแล้วก็มักจะรักษาได้ผลทุกตัว

ตัวอย่างยาต้านเศร้า

  • ฟลูออกซิทีน คือ ยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ ใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า โรคตื่นตระหนก โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคบูลิเมีย และกลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน
  • Sertraline (เซอร์ทราลีน) คือ ยาในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ ใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า โรคตื่นตระหนก และโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง
  • Amitriptyline (อะมิทริปไทลีน) คือ ยาในกลุ่มไตรไซคลิก ใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้าและโรคปลายประสาทอักเสบ
  • Nortriptyline (นอร์ทริปไทลีน) คือ ยาในกลุ่มไตรไซคลิก ใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้าและอาการปัสสาวะรดที่นอน
  • Selegilin (เซเลกิลีน) คือ ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ ใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า และอาการเคลื่อนไหวผิดปกติจากโรคพาร์กินสัน
  • Isocarboxazid (ไอโซคาร์บอกซาซิด) คือ ยาในกลุ่มเอ็มเอโอไอ ใช้รักษาอาการจากโรคซึมเศร้า มักใช้ในกรณีที่ยาตัวอื่นใช้ไม่ได้ผล

การรักษาโรคซึมเศร้า จำเป็นต้องกินยาต้านเศร้าอย่างต่อเนื่อง บางรายอาจต้องทำจิตบำบัด เช่น Cognitive Behavioral Therapy (CBT) ร่วมด้วย และเนื่องจากยาออกฤทธิ์ปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ดังนั้น ต้องอาศัยระยะเวลาในการรักษาและรอการออกฤทธิ์เต็มที่ของยา เช่น Nortriptyline (นอร์ทริปไทลีน) เริ่มเห็นผลการรักษาภายใน 14 วัน ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องรับทราบ

โดยทั่วไป อาการของโรคไม่ได้หายทันทีที่กินยา ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไปอาการจะดีขึ้นอย่างเห็นชัด ยามีส่วนช่วยในระยะแรกๆ ทำให้ผู้ป่วยหลับได้ดี เจริญอาหารขึ้น มีเรี่ยวแรงทำอะไรมากขึ้น ความรู้สึกกลัดกลุ้มหรือกระสับกระส่ายเริ่มลดลง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านเศร้า

ส่วนประกอบในยาต้านเศร้าแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป แม้จะช่วยรักษาโรคซึมเศร้าหรือโรคอื่น ๆ ได้ แต่ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในหลายรูปแบบ ดังนั้น ก่อนใช้ยาควรอ่านคำแนะนำในเอกสารกำกับยาให้เข้าใจ หรือหากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

  • ปากแห้ง
  • อ่อนเพลีย
  • ง่วงนอน
  • เวียนศีรษะ
  • หงุดหงิดง่าย
  • กระวนกระวาย
  • เห็นภาพเบลอ
  • นอนไม่หลับ
  • ท้องผูก
  • ปัสสาวะลำบาก
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง

โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

  • ปากแห้ง
  • อ่อนเพลีย
  • ง่วงนอน
  • เวียนศีรษะ
  • หงุดหงิดง่าย
  • กระวนกระวาย
  • เห็นภาพเบลอ
  • นอนไม่หลับ
  • ท้องผูก
  • ปัสสาวะลำบาก
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง

ยาทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น ควรใช้ในขนาดและกินตามเวลาที่แพทย์สั่งเท่านั้น หากกินยาตามสั่งไม่ได้หรือเกิดอาการใดๆ ที่ไม่แน่ใจว่าเป็นอาการข้างเคียงหรือไม่ ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง



แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลมนารมย์
– www.rattinan.com
– เว็บพบแพทย์
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี