โรคฝีสมอง (Brain abscess) คือภาวะติดเชื้อที่สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรีย ที่แพร่กระจายเข้าสู่สมองผ่านทางบาดแผลบริเวณศีรษะหรือจากการติดเชื้อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดเป็นหนองสะสมภายในสมองและทำให้เกิดอาการอักเสบที่สมองมีลักษณะการก่อตัวของเชื้อเป็นฝี หนอง ในเนื้อสมองที่สามารถส่งผลต่ออาการผิดปกติของระบบประสาท โรคฝีในสมองเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์โดยเร็ว เพราะฝีในสมองอาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ค่ะ
โดยทั่วไป คนที่มีภูมิคุ้มกันปกติมักพบฝีในสมองจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมักพบฝีในสมองจากเชื้อราได้ง่ายกว่าเชื้อชนิดอื่น ๆ โดยฝีชนิดนี้จะทำให้สมองบวม แรงดันภายในโพรงกะโหลกศีรษะเพิ่มสูงขึ้น และขัดขวางการไหลเวียนของเลือดที่เข้ามาเลี้ยงสมองด้วย
สาเหตุส่วนใหญ่ของฝีในสมองเกิดจาก
- การติดเชื้อของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง (Contiguous infection) โดยเฉพาะการอักเสบติดเชื้อของหูและโพรงไซนัส จะเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย
- การติดเชื้อของเหงือก และฟันที่เกิดจากฟันผุก็สามารถพบได้
- การที่มีกะโหลกศีรษะแตกจากการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือเกิดตามหลังการผ่าตัดซึ่งทำให้มีช่องทางที่เชื้อโรคเข้าสู่สมองและระบบประสาทส่วนกลางได้
- ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากโรคเรื้อรัง, การรับยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยที่รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ ผู้ป่วย AIDS
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อในสมองอยู่แล้ว เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำอยู่แล้ว จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคนี้มากขึ้น
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะมีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคนี้มากกว่าปกติ
ทั้งนี้ คนบางกลุ่มอาจเสี่ยงต่อการเกิดฝีในสมองมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างผู้ป่วยโรคเอดส์หรือผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างโรคมะเร็ง ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันอย่างยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไซนัสอักเสบหรือหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงหรือกะโหลกศีรษะแตกร้าว
อาการของโรคฝีในสมอง
- อาเจียน
- คอแข็งเกร็ง มักพบร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น ชัก
- การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป เช่น ดวงตาไวต่อแสง มองเห็นเป็นภาพเบลอหรือภาพซ้อนกัน มองเห็นเป็นสีเทา เป็นต้น
- ภาวะทางอารมณ์เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น รู้สึกสับสนมากขึ้น มีการตอบสนองหรือกระบวนการคิดที่ช้าลง ไม่มีสมาธิ ฉุนเฉียวง่าย ง่วงซึม
- ความรู้สึกตัวลดลง
- มีปัญหาในการพูด พูดไม่ชัด
- ภาวะทางอารมณ์เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น รู้สึกสับสนมากขึ้น มีการตอบสนองหรือกระบวนการคิดที่ช้าลง ไม่มีสมาธิ ฉุนเฉียวง่าย ง่วงซึม เป็นต้น
- สูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อ เคลื่อนไหวตัวได้น้อยลง แขนขาอ่อนแรง อัมพาตครึ่งซีก
- การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป เช่น ดวงตาไวต่อแสง มองเห็นเป็นภาพเบลอหรือภาพซ้อนกัน มองเห็นเป็นสีเทา เป็นต้น
- ในผู้ป่วยเด็กทารกและเด็กเล็กอาจมีกระหม่อมบวม อาเจียนแบบพุ่ง ร้องไห้เสียงสูง แขนหรือขาเกร็ง
ความเสี่ยงของโรคฝีในสมอง
- ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
- ภาวะติดเชื้อในอวัยวะส่วนที่เชื่อมโยงกับสมองและใกล้สมอง
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- โรคหัวใจ
- การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือภาวะโลหิตเป็นพิษ
- อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง
- สำลักน้ำที่มีเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย
- รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นพิษต่อร่างกาย
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดฝีสมองฃ
- ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ
- รักษาควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยง (ดังกล่าวในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง) ให้ดี
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคที่ดี ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ
สรุป โรคฝีสมองเป็นโรคที่อันตราย แต่โอกาสเกิดนั้นค่อนข้างยาก ถ้าเราดูแลตนเองให้แข็ง แรง หรือถ้ามีโรคประจำตัวที่เป็นภาวะติดเชื้อเรื้อรัง ก็ต้องรักษาควบคุมให้ดี เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงที่อาจลุกลามเป็นฝีในสมองได้ค่ะ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– nakornthon.com
– mrithailand.com
– haamor.com
– pobpad.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM