Carbocysteine (คาร์โบซิสเทอีน) ยาแก้ไอแบบมีเสมหะ ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Carbocysteine (คาร์โบซิสเทอีน) คือ ยาแก้ไอแบบมีเสมหะสำหรับรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคซีโอพีดี โดยยาจะออกฤทธิ์โดยการลดความเหนียวข้นของเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้ขับเสมหะออกมาได้ง่าย

ยา Carbocysteine เป็นยาละลายเสมหะที่จะช่วยควบคุมกระบวนการสร้างเสมหะโดยตรง จึงช่วยปรับระดับความเหนียวข้นและความหยืดหยุ่นของเสมหะให้กลับมาเป็นปกติ โดยยานี้อาจจ่ายตามใบสั่งแพทย์ หรืออาจหาซื้อได้ด้วยตนเองตามร้านขายยาทั่วไป

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคาร์โบซิสเทอีน

ยาคาร์โบซิสเทอีน มีกลไกการออกฤทธิ์คือ ตัวยาจะละลายเสมหะที่ข้นเหนียวในช่องทางเดินหายใจ ทำให้กำจัดเมือกและเสมหะบริเวณหลอดลมได้ดี ช่วยให้การหายใจโล่งและสะดวกขึ้น

ยาคาร์โบซิสเทอีน จัดจำหน่ายในรูปแบบ:

  • ยาเม็ด ขนาด 375 มิลลิกรัม
  • ยาน้ำเชื่อม 100 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา) และ 250 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา)

ปริมาณการใช้ยา Carbocysteine

การใช้ยา Carbocysteine อาจแตกต่างกันไปตามอาการ ความรุนแรงของโรค และดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเป็นหลัก โดยตัวอย่างปริมาณการใช้ยา Losartan เพื่อรักษาอาการต่าง ๆ เช่น

ละลายเสมหะ

  • เด็กที่มีอายุ 2–5 ปี รับประทานยาในปริมาณ 62.5–125 มิลลิกรัม แบ่งรับประทาน 4 ครั้งต่อวัน
  • เด็กที่มีอายุ 6–12 ปี รับประทานยาในปริมาณ 100 มิลลิกรัม หรือ 250 มิลลิกรัม แบ่งรับประทาน 3 ครั้งต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ รับประทานยาในปริมาณ 2.25 กรัมต่อวัน แบ่งรับประทาน 2–3 ครั้งต่อวัน เมื่ออาการดีขึ้นให้ลดขนาดยาลงมาเป็น 1.5 กรัมต่อวัน

ปฏิกิริยาระหว่างยา Carbocysteine กับยาอื่น

การใช้ยา Carbocysteine ร่วมกับยาชนิดอื่นอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาได้ ดังนั้น ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ หากกำลังใช้ยาใดอยู่ โดยเฉพาะที่อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีเลือดออกหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร เช่น

  • ยาในกลุ่มเอ็นเสด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen) ยาไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ยาแอสไพริน (Aspirin)
  • ยาสเตียรอยด์
  • ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยาโคลพิโดเกรล (Clopidogrel) ยาทิคาเกรลอล (Ticagrelor)

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Carbocysteine

ยา Carbocysteine อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงเล็กน้อยหลังจากรับประทานยา 

ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากเกิดอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง เช่น ลมพิษ อาการบวมตามใบหน้า ลิ้น หรือคอ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หรือเกิดผลข้างเคียงรุนแรงยา เช่น หน้ามืด เหงื่อตก อาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีดำ หนาวสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– haamor.com
– pobpad.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี