ปัญหาเด็กท้องอืดท้องอืดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว เกิดขึ้นได้เป็นปกติและมักไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรเรียนรู้วิธีป้องกันและบรรเทาอาการในเบื้องต้นเพื่อช่วยคลายความอึดอัดให้ลูกน้อย รวมทั้งหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารที่รุนแรงได้ เป็นอาการไม่ใช่โรค พบได้ทุกเพศ ทุกวัย ส่วนมากพบในเด็กแรกเกิด อาการท้องอืดเกิดจากหลายๆ สาเหตุด้วยกันค่ะ เช่น ท้องอืด จากนมไม่ย่อย ท้องอืดจากการมีแก๊สในกระเพาะอาหารเนื่องมาจากดูดลมเข้าไปขณะกินนมแม่ หรือขณะดูดนมจากขวด วิธีป้องกันลูกท้องอืดทำได้โดยพยายามอย่าให้ลูกลืนลม ถ้าให้กินนมขวดต้องให้น้ำนมท่วมจุกนม หรือไล่ลมทุกครั้งหลังจากลูกดูดนมแล้ว อุ้มนาน 20 – 30 นาทีก่อน ให้ลูกนอนลง หากวิธีดังกล่าวไม่ได้ผล คุณแม่หลายๆคน ต้องพึ่งยา หรือพบแพทย์เพื่อรับยา ยาแก้ท้องอืดที่คุณแม่ต้องทำความรู้จักมีดังต่อไปนี้
1.ยามหาหิงคุ์ ยาแก้ท้องอืดสำหรับเด็ก
- ชนิดแห้ง
- ชนิดน้ำ มีทั้งน้ำใสไม่มีสี และ สีน้ำตาลสูตรดั้งเดิม
ส่วนประกอบ
- Asafoetida20 % W/V
- Alcohol 70% Qs 100 ml
สรรพคุณ
- บรรเทาอาการท้องอืด ขับลมในกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะลม ในเด็ก
วิธีใช้
- ชนิดแห้ง ใช้ผูกกับข้อมือเด็ก เพื่อสูดดม
- ชนิดน้ำ ทายามหาหิงคุ์ บริเวณหน้าท้อง ลิ้นปี่ ข้อมือ ข้อเท้า และแนวกระดูกสันหลัง ขณะมีอาการ หรือ ทายาหลังอาบน้ำเช้าเย็น หลังจากทายา 15-20 นาที เด็กจะผายลม หากอาการดีขึ้นควรหยุดใช้ยา
ข้อควรระวัง
- ยามหาหิงคุ์สีน้ำตาล อาจทำให้เลอะเสื้อผ้า ควรทายาแล้วปล่อยให้แห้ง จึงสวมเสื้อผ้า
- ห้ามรับประทาน
การเก็บรักษา
- เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง
- ยาชนิดน้ำมีอายุ 3ปี กรณียังไม่เปิดใช้งาน
- หลังเปิดใช้ มีอายุ 30 วัน ไม่หมด ควรทิ้ง
- ปิดฝาให้สนิทป้องกันการระเหยของยา
2.ไกร๊ปวอเตอร์ ( Gripe water ) ยาแก้ท้องอืดสำรับเด็ก
ส่วนประกอบ
- แอลกอฮอล์ โซเดียมไบคาร์บอเนต
- ดอกคาโมไมล์ ยี่หร่า ขิง สะระแหน่
- Aloe blackthorn ยาหม่องมะนาว กลีเซอรีน น้ำตาลฟรุคโตส
- น้ำมันวัชพืช dill อบเชย ตาน้ำมันกานพลูน้ำมันเมล็ดกระวาน ถ่านผัก
สรรพคุณ
- บรรเทาอาการท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ทารกแรกเกิด
วิธีใช้
- รับประทานครั้งละขนาด 2.5 – 10 มิลลิลิต ขณะมี อาการเวลาประมาณ 5 ถึง 20 นาที ยาจะออกฤทธิ์
- หรือรับประทานตามที่ฉลากยาระบุ
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
- ยานี้ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ
การเก็บรักษายา
- เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา
- ปิดภาชนะให้สนิท อายุการใช้งาน 30 วันหลังเปิดฝา
- เก็บให้พ้นมือเด็ก
- เก็บยาที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง
- ไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
3. Air – x drop ( Simethicone ) ยาแก้ท้องอืดสำหรับเด็ก
ส่วนประกอบ
- แต่ละ 0.6 มิลลิลิตรประกอบด้วย simethicone 40 มิลลิกรัม
สรรพคุณ
- ใช้รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เนื่องจากมีแก๊สหรือลมมากเกินในกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยสารสำคัญในแอร์-เอ็กซ์ คือ simethicone ที่มีคุณสมบัติในการลดแรงตึงผิวของฟองก๊าซ ทำให้ฟองก๊าซเล็กๆในกระเพาะอาหารที่รวมตัวกัน ถูกทำลายโดยการบีบตัวของกระเพาะ
วิธีใช้ยา
- รับประทานยานี้หลังอาหารตามขนาดที่ระบุในฉลาก โดยปกติรับประทานวันละ 3 ครั้งหลังอาหาร หรือ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน
- ให้ตามน้ำหนักเด็ก ควรเป็นแพทย์หรือเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยา
อาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
- ยานี้ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ
การเก็บรักษายา
- เก็บยานี้ในภาชนะบรรจุเดิมที่บรรจุมา
- ปิดภาชนะให้สนิท อายุการใช้งาน 30 วันหลังเปิดฝา
- เก็บให้พ้นมือเด็ก
- เก็บยานี้ที่อุณหภูมิห้องโดยไม่ให้อยู่ในที่ร้อนมากกว่า 30 องศาเซลเซียส เช่น บริเวณที่ถูกแสงแดดโดยตรง
- ไม่เก็บยาในบริเวณที่เปียกหรือชื้น
หมายเหตุ : Air – x drops เป็นยาแผนปัจจุบัน ต้องเป็นแพทย์ หรือเภสัชกรเท่านั้นเป็นผู้จ่ายยา
เมื่อคุณแม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับยา ลดอาการท้องอืดของเด็กแล้ว ควรเลือกใช้ให้ถูกวิธีและปฎิบัติตามฉลากยา อย่างเคร่งครัด ไม่ควรใช้ยาพร่ำเพรื่อ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ
4.เบบี้ดอล(Babidol)เป็นยาสำหรับทารก บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ กระเพาะมีกรดมาก
ส่วนประกอบสำคัญ
- Sodium Bicarbonate 50mg
- ไม่มีแอลกอฮอล์และน้ำตาล
ขนาดรับประทาน
- ทารกแรกเกิด ครั้งละ ½ ช้อนชา – ทารก 1-6 เดือน ครั้งละ 1 ช้อนชา
- ทารก ½ -1 ขวบ ครั้ง 2 ช้อนชา – ทารก 2 ขวบขึ้นไป ครั้งละ 2-3 ช้อนชา
การเก็บรักษายา
- ควรเก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา
สรุป
เด็กท้องอืด ส่วนใหญ่มักเกิดจากปริมาณแก๊ส ในทางเดินอาหาร การร้องไห้บ่อยๆ เกิดจากการดูดนมที่มีฟองอากาศมากเกินไป ดูดนมช้าหรือเร็วไป นอกจากนั้นเกิดจากสาเหตุหลัก๐ที่มาจากกระบวนการย้อยอาหารของลูกที่ยังพัฒนาการไม่เต็มที่ ทำให้เกิดการเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ หากลูกมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เด็กร้องกวน อาการแบบนี้ไม่แน่ใจหรือสงสัยอะไร แนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรร้านยานะคะ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– pobpad.com
– enfababy.com
– mamaexpert.com/
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM