ยาไดอะซอกไซด์ (Diazoxide) คือยาในกลุ่มยา Potassium channel activator ที่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะต่างๆของร่างกายคลายตัว เช่น ผนังหลอดเลือด จากกลไกข้างต้น วงการแพทย์จึงนำยานี้ไปรักษาโรคความดันโลหิตสูง, ซึ่งรูปแบบยาไดอ ะซอกไซด์ที่เป็นยาแผนปัจจุบันจะมีทั้งประเภทยาฉีดและยารับประทาน
ข้อบ่งใช้
- รักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) มักใช้ในรูปแบบของยารับประทาน
- รักษาภาวะ/โรคความดันโลหิตสูง (Hypertensive crisis) โดยใช้ในรูปแบบของยาฉีด
กลไกการออกฤทธิ์
- สำหรับเพิ่มน้ำตาลในเลือดให้สูง: ตัวยาไดอะซอกไซด์จะยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจาก ตับอ่อน และเพิ่มการหลั่งน้ำตาลกลูโคสออกจากตับ จากกลไกนี้จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น
- สำหรับลดความดันโลหิตสูง: ตัวยาไดอะซอกไซด์จะก่อให้เกิดกลไกทางเคมี ทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังหลอดเลือดคลายตัว ส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวติดตามมา ส่งผลทำให้ความดันโลหิตลดลงในที่สุด
ไดอะซอกไซด์มีรูปแบบ
- ยาฉีด ขนาด 15 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- ยาแคปซูลชนิดรับประทาน ขนาด 50 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาน้ำแขวนตะกอนชนิดรับประทานสำหรับเด็กเล็ก ขนาด 50 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
ปริมาณการใช้ยา
ยาไดอะซอกไซด์มีขนาดรับประทานแตกต่างกันในแต่ละโรค ซึ่งขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาในการใช้ยาให้ตรงกับแต่ละอาการ/แต่ละโรค
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเฉพาะขนาดรับประทานสำหรับรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำดังนี้เช่น
- ผู้ใหญ่: รับประทาน 3 – 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วันโดยแบ่งรับประทาน 2 – 3 ครั้ง ขนาดที่คงระดับการรักษาคือ 3 – 8 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
- สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคเนื้องอกชนิดหนึ่งของต่อมหมวกไตที่พบได้น้อยมากๆที่สร้าง ฮอร์โมนอินซูลินที่เรียกว่าโรค Insulinomas อาจต้องรับประทานถึง 1 กรัม/วัน
- เด็กทารกและเด็ก (นิยามคำว่าเด็ก): รับประทาน 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมวันละ 2 ครั้ง ขนาดที่คงการรักษาคือ 3 – 9 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน และแพทย์อาจปรับได้ถึง 20 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
หมายเหตุ: ยานี้สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ผลข้างเคียงของการใช้ ไดอะซอกไซด์
- อาจเกิดอาการคลื่นไส้
- เบื่ออาหาร
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- ต่อมรับรสมีการเปลี่ยนแปลง
- เพิ่มการเจริญเติบโตของเส้นขน โดยเฉพาะที่บริเวณหน้าผาก หลัง แขน หรือขา อาการนี้มักจะไม่ใช่อาการถาวร และจะหายไปเมื่อหยุดใช้ยา
- ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่รุนแรง
- อาการบวมที่แขน ขา มือ หรือเท้า
- น้ำหนักขึ้นอย่างหาสาเหตุไม่ได้
- หายใจลำบาก
- เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงขึ้น
- ผดผื่น คันหรือบวม บริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– haamor.com
– hellokhunmor.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM