โรคมือเท้าปาก สายพันธุ์ EV71 (Enterovirus 71) รุนแรงที่สุด อันตรายถึงชีวิต

โรคมือ เท้า ปากเป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กวัยเรียน โดยมีการระบาดช่วงฤดูฝน สาเหตุจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส ที่มีอยู่หลายสายพันธุ์ โดยไวรัสค็อกซากี เป็นสายพันธุ์ที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง แต่การระบาดของเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ครั้งนี้มีระดับความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 ที่พบก่อโรคในเด็กกลุ่มอายุน้อยลง คือ อายุน้อยกว่า 2 ปี เมื่อได้รับเชื้อจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง มีไข้สูง อาเจียนมาก หายใจหอบ มีภาวะขาดน้ำ ความดันโลหิตต่ำจนช็อก ในกรณีที่มีสมองอักเสบร่วมด้วย มีอาการชักเกร็ง ซึม และเสียชีวิตได้ 

ไวรัสเอนเตอโร 71 เป็นไวรัสที่จัดอยู่ใน Family picornaviridae ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มที่มี RNA ชนิดเดี่ยว

และมีขนาดเล็ก ไวรัสนีไม่มีเปลือกหุ้มจึงสามารถทนตอแอลกอฮอล์และอีเธอร์ รวมทั้งอยู่ในอุณหภูมิห้องได้หลายวัน โดยเฉพาะในสิ่งแวดล้อมที่เป็นน้ำหรือสารคัดหลั่งจากร่างกาย เข้าสู่ร่างกายทางปาก ผ่านเยื่อบุคอหอยและเพิ่มจํานวนที่ต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณดังกล่าวและทอนซิล จากนั้นเชื้อจะผ่านลงไปที่ลําไส้และจะเพิ่มจํานวนบริเวณเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองในลําไส้ หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระแสเลือดไปตามอวัยวะต่างๆ และจะถูกขับถ่ายออกมากับอุจจาระโดยอาจตรวจพบเชื้อในอุจจาระในผู้ติดเชื้อได้นาน 6-8 สัปดาห์ หลังจากรับเชื้อจะมีระยะฟักตัวนานประมาณ 3-5 วัน 

อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ไข้
  • เจ็บปากและมีแผลในปาก
  • มีผื่นตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า แขน ขา และก้น
  • เบื่ออาหาร
  • อ่อนเพลีย

โรคมือ เท้า ปาก โดยทั่วไปสามารถหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่กรณีที่เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ก้านสมองอักเสบ หัวใจอักเสบ น้ำท่วมปอด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้!

สามารถแพร่กระจายได้ง่าย ผ่านทาง

  • การสัมผัสโดยตรงกับน้ำมูก น้ำลาย อุจจาระของผู้ป่วย
  • การไอ จาม โดยไม่ปิดปาก
  • การใช้สิ่งของ ของเล่นร่วมกัน

EV71 ติดต่อง่ายแต่ป้องกันได้ สายพันธุ์รุนแรงแพร่เชื้อติดต่อกันได้ง่าย แต่ก็สามารถป้องกันได้ แนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปาก EV71 ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังปกป้องลูกน้อยจาก สาเหตุของโรคมือเท้าปาก ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

1.ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ โดยเฉพาะก่อนหยิบของเข้าปากและหลังเข้าห้องน้ำ

2.ทำความสะอาด ของเล่น และพื้นผิวต่างๆ ที่เด็กสัมผัสบ่อยๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

3.สอนลูกให้ไอหรือจามใส่ข้อพับแขน ไม่ใช้มือปิดปาก

4.งดพาเด็กไปสถานที่แออัด หากลูกป่วยควรหยุดเรียนหรือหยุดทำงาน

5.ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

6.วัคซีนป้องกัน “โรคมือเท้าปาก” รุนแรง จากไวรัส EV71

สังเกตอาการเสี่ยง มีไข้สูง ซึม อ่อนแรง มือสั่น เดินเซ อาเจียนมาก หายใจหอบ และชัก หากพบอาการเหล่านี้ควรรีบพาพบแพทย์ทันที


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลศิครินทร์
– สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
– สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี