ให้ลองสังเกตตัวคุณเองหรือผู้สูงอายุภายในบ้านว่ามีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ เช่น มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลาและสถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ โดยอาการเหล่านี้เป็นสัญญานเตือนของ ‘โรคสมองเสื่อม’ (Dementia) หรือ ‘โรคอัลไซเมอร์’ (Alzheimer’s disease) ซึ่งเป็นอีกโรคที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น
จุดเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อม (Dementia Syndrome) เป็นความถดถอยในการทำงานของสมอง ที่เกิดจากการสูญเสียเซลล์สมองหลายส่วน สามารถพบได้ในผู้สูงอายุ โดยมีการอาการของโรคอย่างช้าๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะแรก ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการสูญเสียความจำในระยะๆ สั้น เช่น ชอบถามซ้ำๆ พูดเรื่องเดิมหลายรอบ สับสนทิศทาง มีความเครียดและหงุดหงิดง่าย
- ระยะกลาง ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการที่ชัดเจนมากขึ้น ความจำแย่ลง สามารถเดินออกจากบ้านโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย เป็นต้น
- ระยะสุดท้าย ถือได้ว่าเป็นระยะที่รุนแรง โดยผู้ป่วยจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมจนคล้ายกับเป็นผู้ป่วยติดเตียง รับประทานอาการน้อยลง เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองและการใช้ชีวิตประจำวันได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่ตลอด เช่น การอาบน้ำ รับประทานอาหาร ยังรวมไปถึงมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอ ซึ่งเป็ยสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ภาวะติดเชื้อที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
วิธีป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
- ทำกิจกรรมเพื่อฝึกการใช้สมอง เช่น การอ่านหนังสือ หรือเล่นเกมส่งเสริมทักษะ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
- ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง เช่น การหกล้ม
- รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง
- ตรวจเช็ดสุขภาพเป็นประจำ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยบำรุงสมอง
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยบำรุงสมอง ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับคนที่ต้องการบำรุงสมองที่คุณสามารถเริ่มดูแลตัวเองได้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) สารอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยบำรุงสมองเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งให้กับคนที่รักการดูแลสุขภาพ
คุณสมบัติของใบแปะก๊วย
ใบแปะก๊วย (Ginkgo) พืชสมุนไพรเก่าแก่ ที่มีอายุกว่า 200 ล้านปี เปรียบเสมือนยาอายุวัฒนะ ที่สามารถบำบัดโรคต่างๆ ได้ อย่างช่วยบำรุงสมอง ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น โดยใบแปะก๊วยมีสารสำคัญอย่าง ฟลาโวนไกลโคไซค์ (Flavone Glycoside) และ เทอร์ปีน แลคโตน (Terpene lactone) ที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความเสื่อมของสมองและการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่สมอง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ได้ดีขึ้น
ใบแปะก๊วยช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อม ที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดหัวใจ ผลการวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานใบแปะก๊วยอย่างต่อเนื่องนานกว่า 1 ปีพบว่า ช่วยให้อาการจากโรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ดีขึ้น ด้วยการรับประทาน 240 มิลลิกรัมต่อวัน ถ้าแม้ว่าผลการวิจัยยังมีข้อข้ดแย้งเกี่ยวกับสรรพคุณที่แท้จริงของใบแปะก๊วย แต่งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ทุกวันเป็นเวลานาน 22-24 สัปดาห์ มีผลดีเทียบเท่าการรับประทานยาโดนีพีซิล (Donepezil) หากเป็นการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่รุนแรง
มีงานวิจัยจากประเทศจีนได้พูดถึงเกี่ยวกับใบแปะก๊วยและโรคจิตเภท (Schizophrenia) แสดงให้เห็นว่าการรับประทานแปะก๊วยทุกวันร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้สามารถระงับอาการทางจิต เช่น ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) สามารถลดอาการทางจิตและลดผลข้างเคียงของยาได้บางประการ เช่น อาการกระหายน้ำ และท้องผูก เป็นต้น และนอกจากนี้ยังงานวิจัยที่พูดถึงภาวะเคลื่อนไหวผิดปกติ ที่เรียกว่า ‘อาการยึกยือ’ (Tardive dyskinesia) โดยภาวะนี้เกิดจากการใช้ยาจิตเวชบางตัว โดยมีงานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดแปะก๊วยนาน 12 สัปดาห์ สามารถลดความรุนแรงของอาการยึกยือในผู้ป่วยจิตเภทที่กำลังใช้ยาอยู่ได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– web megawecare
– web pobpad
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM