ยา Glucosamine ( กลูโคซามีน ) – ข้อมูล ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง 

กลูโคซามีน (Glucosamine) คือสารประกอบทางเคมีที่ร่างกายผลิตได้เองจากกลูโคสเพื่อใช้สร้างกระดูกอ่อน นอกจากนั้นยังมีการผลิตขึ้นในรูปแบบยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยอ้างว่ามีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวด บวมตามข้อต่อจากโรคข้ออักเสบ กลูโคซามีนที่สังเคราะห์ขึ้นนี้มีหลายชนิด เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine Sulfate) กลูโคซามีนไฮโดรคลอดไรด์ (Glucosamine Hydrochloride) และกลูโคซามีนคลอโรไฮเดรต (Glucosamine Chlorohydrate) ทั้งนี้ เฉพาะกลูโคซามีนซัลเฟตเท่านั้นที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาอันตราย ใช้สำหรับรักษาโรคข้อเสื่อม และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศไทย (อย.) อนุญาตให้จำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ข้อบ่งใช้ 

  • บรรเทาอาการปวด บวม และฝืดแข็งของข้อต่อจากโรคข้ออักเสบและช่วยชะลอการเสื่อมของข้อ

รูปแบบของยา

  • ยาเม็ด แคปซูล แคปซูลชนิดนิ่ม ยาผงชนิดผสมก่อนใช้แกรนูลสำหรับผสมก่อนใช้

ปริมาณการใช้กลูโคซามีน

ใช้รักษาโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

  • ผู้ใหญ่ โดยทั่วไปรับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง หรือตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ

การใช้กลูโคซามีน

  • ควรใช้กลูโคซามีนตามฉลากหรือตามคำแนะนำจากแพทย์ ห้ามรับประทานเกินปริมาณที่กำหนด
  • ห้ามรับประทานกลูโคซามีนหลายชนิดพร้อมกัน นอกจากจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • ควรรับประทานร่วมกับมื้ออาหาร เนื่องจากกลูโคซามีนอาจระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
  • ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบอาจต้องใช้กลูโคซามีนตามปริมาณที่แพทย์แนะนำติดต่อกันนาน 2 เดือน อาการจึงจะทุเลาลง
  • หากลืมรับประทานให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้ถึงมื้อถัดไป ให้ข้ามไปรับประทานมื้อนั้น โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า
  • เก็บกลูโคซามีนไว้ที่อุณหภูมิห้องและหลีกเลี่ยงความชื้น

ผลข้างเคียงจากการใช้กลูโคซามีน

กลูโคซามีนมีผลข้างเคียงจากการใช้ที่พบได้ทั่วไปและมักไม่เป็นอันตราย ได้แก่

  • คลื่นไส้
  • เกิดลมในกระเพาะ
  • เวียนศีรษะ
  • ท้องเสีย ท้องผูก
  • แสบร้อนกลางอก

ทั้งนี้ ผู้ใช้ยาควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการต่อเนื่องหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และหากพบผลข้างเคียงรุนแรงต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

มีสัญญาณของการแพ้กลูโคซามีน เช่น ผื่น ลมพิษ หายใจติดขัด หน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือคอ

  • บวม
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดท้อง

คำเตือนของการใช้กลูโคซามีน

  1. ควรใช้กลูโคซามีนที่ผ่านการรรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น
  2. ห้ามใช้ยานี้ หากเคยมีประวัติแพ้กลูโคซามีน ไอโอดีน หรือสัตว์น้ำมีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู เป็นต้น
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ มะเร็ง มีคอเรสตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะเลือดออกง่าย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  4. ผู้ที่กำลังใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดอื่น โดยเฉพาะยาละลายลิ่มเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้กลูโคซามีน
  5. เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
  6. ผู้ที่กำลังใช้กลูโคซามีนต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้าก่อนวางแผนผ่าตัดหรือรับการรักษาทางทันตกรรม
แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี