ทางลัดผิวดี เริ่มที่ลำไส้

ลำไส้สำคัญกว่าที่คิด ระบบไมโครไบโอมในลำไส้ ส่งผลต่อผิว
ไมโครไบโอม (Microbiome) คือ จุลินทรีย์ธรรมชาติที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ อยู่กับเรามาตั้งแต่เราเกิด แล้วค่อย ๆ ลดลงและเสียสมดุลไปตามกาลเวลาและพฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • จุลินทรีย์ที่อาศัยในร่างกายมนุษย์ มีมากกว่า 10000 สายพันธุ์
  • จุลินทรีย์มากกว่า 95% อาศัยอยู่ในลำไส้
  • จุลินทรีย์มีมากกว่ายีนมนุษย์ถึง 10 เท่า
  • จุลินทรีย์ของแต่ละคนแตกต่างกัน และแตกต่างกันไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน แสดงความสัมพันธ์ของ ไมโครไบโอม ในลำไส้ที่เสียสมดุลกับการเกิดโรค ทั้งการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ

  • จุลินทรีย์ในลำไส้กับโรคที่ไม่ปรากฏเด่นชัด เช่น การอาการผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน ท้องผูก ท้องเสีย น้ำหนักเกิน เบาหวาน ความดัน โรค NCDs
  • จุลินทรีย์ในลำไส้ กับมะเร็ง เกี่ยวโยงกับมะเร็งไทรอยด์ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้
  • จุลินทรีย์ในลำไส้กับโรคติดเชื้อ เนื่องจาก 70% ของเซลล์ภูมิคุ้มกันเป็นไมโครไบโอมในลำไส้
  • จุลินทรีย์ในลำไส้กับสุขภาพจิต ลำไส้ส่งผลต่ออารมณ์ผ่านทางระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท และภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงโรคทางสมอง เช่น ออทิสติก ความจำเสื่อม นอนไม่หลับ ซึมเศร้า

ว่ากันว่า “สุขภาพดี เริ่มต้นที่จุลินทรีย์สมดุล” เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้สัมพันธ์กับการเผาผลาญและยีน
จุลินทรีย์ในลำไส้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  1. จุลินทรีย์ตัวหลัก Core bacteria : ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติเป็นกลาง คือ หากจุลินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นชนิดดี จุลินทรีย์เหล่านี้จะก่อประโยชน์กับร่างกาย หากจุลินทรีย์ไม่ดีมากเกินไป จุลินทรีย์หลักเหล่านี้จะก่อโทษ
  2. จุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ดี หรือ Harmful bacteria : ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย
  3. จุลินทรีย์ชนิดดี หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ Probiotics : ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง

ว่ากันว่า “สุขภาพดี เริ่มต้นที่จุลินทรีย์สมดุล” เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้สัมพันธ์กับการเผาผลาญและยีน

จุลินทรีย์ในลำไส้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  1. จุลินทรีย์ตัวหลัก Core bacteria : ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติเป็นกลาง คือ หากจุลินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นชนิดดี จุลินทรีย์เหล่านี้จะก่อประโยชน์กับร่างกาย หากจุลินทรีย์ไม่ดีมากเกินไป จุลินทรีย์หลักเหล่านี้จะก่อโทษ
  2. จุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ดี หรือ Harmful bacteria : ก่อให้เกิดการเจ็บป่วย
  3. จุลินทรีย์ชนิดดี หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ Probiotics : ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง

จุลินทรีย์ในลำไส้ประกอบด้วยจุลินทรีย์หลัก มากถึง 50-70% ของจุลินทรีย์ทั้งหมด จุลินทรีย์หลักส่งผลได้ทั้งผลดีและร้ายกับสุขภาพ ช่วงสำคัญที่สุดในการสร้างรากฐานจุลินทรีย์ให้สมดุลคือช่วงอายุ 0-3 ปี ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มนมแม่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ทำยังไงให้ลำไส้เราดี

  1. เคี้ยวอาหารมากกว่า 20 ครั้ง/คำ
  2. ถ้ากินอาหารเยอะ ให้ใช้เอนไซม์ช่วยย่อย
  3. ทานอาหารพวกทีมีพรีไบโอติก เช่น ผักใบเขียว ข้าวบาร์เล่ย์ เมล็ดธัญพืช เบอร์รี่ และกล้วย
  4. ทานอาหรจำพวกที่มีโพรไบโอติก (จุลินทรีย์ดี) เช่น กะหล่ำปลีดอง กิมจิ Kifir มิโสะ และชีสเหม็นๆ
  5. ตัดอาหารที่ก่อให้เกิดปัญหา พวกกลูเตน และผลิตภัณฑ์ที่มาจากนม

ยาที่มีผลกับลำไส้

  1. หยุดกินยาฆ่าเชื้อพร่ำเพรื่อ
  2. ปรึกษาแพทย์เพื่อลดระยะเวลากินยา PPI (ยาลดกรด)

ก่อนกินโพรไบโอติกควรทำอย่างไร
กินกลุ่มธรรมชาติต้านเชื้อในลำไส้ก่อน เช่น wasabi (วาซาบิ) หรือ Curcumin จากขมิ้นชัน

การเลือกอาหารเสริมโพรไบโอติก

  1. เลือกแบบแคปซูลที่กันกรดในกระเพาะ แล้วให้ไปแตกตัวที่ลำไส้
  2. แบ่งเป็น Unit แยกๆกันจะยิ่งดี
  3. เลี่ยง แบบเจลลี่เพราะตอนผลิตผ่านความร้อน ทำให้โพรไบโอติกตายได้
  4. กินสลับๆไปเรื่อยๆ ได้หลากหลายสายพันธ์ดีที่สุด
  5. ขั้นต่ำต้องมีเชื้อ 100 ล้าน CFU
  6. ดูความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์นั้นๆ
  7. ควรเก็บในตู้เย็น เวลาเปิดแล้วต้องทานเลย ห้ามวางทิ้งไว้

ใครห้ามกินโพรไบโอติก

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่เป็นโรคตับอ่อนอักเสบ
  • ผู้ที่กำลังผ่าตัดใหญ่
  • ผู้ป่วยวิกฤติ
  • ผู้ป่วยติดเตียง
  • ผู้ป่วยใส่ท่อ
  • ถ้าตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– DONUT BEAUTY BRAINS
– healthlabclinic.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

ยังไม่มีบัญชี