ไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu) คือ โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Influenza สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ผ่านการไอ จาม หรือสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อไวรัส หลายท่านอาจคิดว่าไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ในความเป็นจริงแล้วไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลังติดเชื้อหรือถึงแก่ชีวิตได้
สายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่ในคนมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ A, B และ C แต่มีเพียงสายพันธุ์ A และ B ที่มีการระบาดโดยทั่วไป โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แบ่งออกเป็นหลายซัปไทด์ ซัปไทด์ที่มีการระบาดเป็นประจำคือ H1N1 และ H3N2 ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B แบ่งออกเป็น 2 lineages คือ Victoria และ Yamagata โดยอาการมักไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ A
กลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่
กลุ่มคนที่จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่มีอันตรายได้ง่าย ซึ่งสมควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
-เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
-ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
-หญิงตั้งครรภ์
-ผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เช่น
- โรคหอบหืด
- โรคทางสมอง เช่น โรคลมชัก พิการทางสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปัญญาอ่อน
- โรคข้อกล้ามเนื้อและไขสันหลัง ฯลฯ
- โรคปอดเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด
- โรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- โรคเลือด
- โรคเบาหวานและโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนอื่นๆ
- โรคไต
- โรคตับ
- โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง และได้รับยาสเตียรอยด์หรือยาแอสไพรินต่อเนื่องนานๆ จากโรคที่กำลังรักษาอยู่
อาการไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่มักแสดงอาการที่อาจทำให้ท่านสับสนกับไข้หวัดทั่วไป โดยอาการแสดงเด่นๆ ที่อาจทำให้ท่านสงสัยได้ว่าตนเองติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
สัญญาณเตือนไข้หวัดใหญ่
- ปวดศีรษะ
- ไอแห้ง
- มีน้ำมูกคัดจมูก
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต
- ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
- เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- เด็กที่ได้รับการรักษาด้วยยาแอสไพรินเป็นเวลานาน
- หญิงตั้งครรภ์ระยะที่ 2 หรือ 3 ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่สูงมีไข้สูง
โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที ซึ่งหากท่านมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง การแพร่กระจายของเชื้อ สามารถแพร่กระจายโดยการไอ จาม หรือ ใช้ของใช้ร่วมกัน
การป้องกันไข้หวัดใหญ่
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัดหรือใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องการการติดเชื้อ
- ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
การรักษาไข้หวัดใหญ่
ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ดังนั้น วิธีการรักษาที่เป็นการรักษาที่ต้นเหตุและถูกต้อง คือ การรับประทานยาฆ่าเชื้อไวรัส (Antivirals) ซึ่งจะเข้าไปยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส Influenza ในร่างกาย ส่งผลให้ระดับเชื้อไวรัสในร่างกายลดระดับลง ทำให้อาการของไข้หวัดใหญ่บรรเทาและลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น ความจำเป็นในการใช้ยานี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์อาจพิจารณาสั่งจ่ายในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีความเสี่ยงสูงหรือมีความจำเป็นในการใช้
อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจสั่งจ่ายยาอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดใหญ่ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– กรมอนามัย
– คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
– Kapook.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM