ยา Irbesartan (เออร์บีซาร์แทน) – ข้อมูล ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง

เออร์บีซาร์แทน (Irbesartan) จัดอยู่ในกลุ่มยากลุ่มยับยั้งตัวรับแอนจิโอเทนซิน (angiotensin repector inhibitors) หรือเรียกย่อว่า “กลุ่มเออาร์บี (ARBs)” ออกฤทธิ์โดยยับยั้งและแย่งการจับของแองจิโอเทนซิน 2 (angiotensin II) ตรงตำแหน่งที่จะไปออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ส่งผลให้ลดแรงต้านของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเกิดการขยายตัวและทำให้ความดันเลือดลดลง ออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น และลดการทำงานของหัวใจ

ข้อบ่งใช้

  • ลดความดันโลหิต
  • โรคไตจากเบาหวาน

ปริมาณการใช้ยา

โรคความดันโลหิตสู

  • ผู้ใหญ่ให้t: 150 mgวันละครั้ง สามารถเพิ่มเป็น 300 mg วันละครั้ง สำหรับผู้ที่ขาดน้ำให้เริ่มวันละ 75 mg
  • เด็ก: 6-16 ปีเริ่มให้ 75 mgวันละครั้งเพิ่มได้ถึง 150 mg
  • ผู้สูงอายุมากกว่า75 ปีเริ่มวันละ 75 mg วันละครั้ง
  • ผู้ที่ไตเสื่อมจะเริ่มวันละ 75 mg

โรคไตจากเบาหวาน

  • ผู้ใหญ่เริ่ม 150 mgวันละครั้งและเพิ่มได้ถึง 300 mgวันละครั้ง

ข้อควรระวัง

  • ยาอาจทำให้รู้สึกวิงเวียนหรือเวียนศีรษะ ไม่ควรขับขี่ยวดยานหรือทำงานกับเครื่องจักรที่อันตราย และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ระมัดระวังการออกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่ร้อนเกินไป ซึ่งอาจทำให้เสียเหงื่อมาก ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • ไม่ควรหยุดยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน แม้ว่าจะรู้สึกสบายดีก็ตาม เพราะความดันเลือดสูงมักไม่มีอาการแสดงใด ๆ และจะมีผลต่อการทำงานของหัวใจและไต
  • ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากมีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง หรือเหงื่อออกมาก เนื่องจากการสูญเสียน้ำจากร่างกายมากจะเป็นอันตรายขณะใช้ยานี้ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันการขาดน้ำ
  • แจ้งแพทย์ให้ทราบว่าท่านกำลังใช้ยานี้อยู่ หากท่านจำเป็นที่ต้องได้รับการผ่าตัด หรือได้รับยาสลบ เนื่องจากเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความดันเลือดต่ำได้
  • แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวของท่านก่อนได้รับยานี้

ข้อห้ามในการใช้ยาลดความดันโลหิต irbesartan

  • แพ้ยา
  • การตั้งครรภ์
  • การให้นมบุตร
  • ข้อควรระวังในการให้ยาลดความดันโลหิต irbesartan
  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี
  • หลอดแดงไตตีบ
  • มีการขาดน้ำหรือขาดเกลือแร่
  • โรคลิ้นหัวใจตีบ
  • กล้ามเนื้อหัวใจหนา hypertrophic cardiomyopathy

ผลข้างเคียงของการใช้ยา

  • ปวดศีรษะ 
  • เวียนศีรษะ คล้ายจะหมดสติ 
  • ความดันโลหิตต่ำ 
  • ง่วงซึม 
  • อ่อนเพลีย 
  • มีอาการคล้ายไข้หวัด 
  • อาหารไม่ย่อย อาเจียน ท้องเสีย 
  • ปวดหลัง ปวดเกร็งกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง 
  • นอนไม่หลับ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– healthythai .online
– เว็บพบแพทย์
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

ยังไม่มีบัญชี