อาหารทางการแพทย์ สูตรไหน เหมาะกับใคร
ในปัจจุบัน อาหารทางการแพทย์ มีมากมายหลายผลิตภัณฑ์ให้ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไปเลือกใช้ ดังนั้นการมีความรู้พื้นฐานในการเลือกใช้อาหารทางการแพทย์ เป็นโรคไหน กินสูตรไหน จะช่วยให้ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นอย่างเหมาะสม
อาหารทางการแพทย์คืออะไร?
อาหารทางการแพทย์ คืออาหารสูตรพิเศษ ที่ถูกคิดค้นมาเพื่อผู้ป่วยเฉพาะโรค ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถได้รับโภชนาการที่เพียงพอจากการทานอาหารปกติอย่างกลุ่มเด็ก ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารอาหาร โดยมีให้เลือกทั้งรูปแบบผงและแบบพร้อมดื่ม อีกทั้งในปัจจุบันยังมีการคำนวณปริมาณสารอาหารที่เหมาะสม จำกัดสารอาหารที่กระตุ้นโรคให้กำเริบ และพัฒนาสูตรอาหารทางการแพทย์ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะกับผู้บริโภค แต่อาหารทางการแพทย์ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการรักษาโรค ดังนั้นจึงไม่สามารถรักษาโรคได้ แต่เป็นการช่วยป้องกันการเกิดปัญหาจากโรคและช่วยจัดการเกี่ยวกับโรคได้ง่ายขึ้น
อาหารทางการแพทย์ในปัจจุบันที่วางจำหน่าย สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้
1.อาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน หรือ สูตรมาตรฐาน (Standard Formula, Polymeric Formula)
เป็นสูตรอาหารที่มีสัดส่วนคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เหมาะสมกับบุคคลทั่วไป หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวแต่ไม่ได้ต้องการสารอาหารจำเพาะ เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น โดยสามารถใช้อาหารทางการแพทย์เป็นอาหารเสริมในมื้ออาหาร หรือเป็นอาหารทดแทนมื้อก็ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง อาหารทางการแพทย์ สูตรมาตรฐาน
- ENSURE GOLD เอนชัวร์ โกลด์ อาหารสูตรครบถ้วน ปริมาณ 800 กรัม
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจใส่รูปensure 800 กรัม
- Boost Optimum บูสท์ ออปติมัม ปริมาณ 800 กรัม
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
- Blendera เบลนเดอร่า ปริมาณ 2500 กรัม
เหมาะสำหรับ : ผู้สูงอายุขาดสารอาหาร
- Fresubin Whey Protein Isolate เฟรซูบิน เวย์โปรตีน ไอโซเลต ปริมาณ 300 กรัม
เหมาะสำหรับ
– สำหรับผู้ที่รับประทานอาหารได้น้อย เช่น มีภาวะเบื่ออาหารหรืออาหารไม่ย่อย
– สำหรับผู้สูงอายุทั่วไป ที่ทานอาหารได้น้อย หรือมีภาวะเบื่ออาหาร
– สำหรับผู้ทีต้องการเพิ่มน้ำหนัก ทั้งชายและหญิง
– ผู้ที่ออกกำลังกายเพื่อ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
– ผู้ที่กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อสลายตัว
– ผู้ป่วยระยะพักฟื้น หรือผู้ที่มีโรคเรื้อรัง หรือผ่านการผ่าตัด
2.อาหารทางการแพทย์สูตรเฉพาะโรค (Disease-specific Formula) เป็นสูตรที่มีการปรับเปลี่ยนสารอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายโรค เช่น
2.1 สูตรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
เป็นสูตรที่มีการปรับสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตลดลง ลดปริมาณน้ำตาล เพิ่มสัดส่วนคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยและดูดซึมได้อย่างช้า ๆ เพิ่มปริมาณใยอาหาร เพื่อทำให้สูตรเบาหวานมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (Glycemic Index; GI) ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหารได้ดีมากขึ้น สามารถใช้เป็นอาหารทดแทนมื้ออาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยระยะก่อนเบาหวานที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน ก็จะช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักตัว และระดับน้ำตาลให้ดีขึ้นเช่นกัน
ตัวอย่าง อาหารทางการแพทย์ สูตรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
- Glucerna SR Triple Care กลูเซอนา เอสอาร์ ทริปเปิ้ลแคร์ ปริมาณ 800 กรัม
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยเบาหวาน
- Boost Care บูสท์ แคร์ ปริมาณ 800 กรัม
เหมาะสำหรับ : ผู้ป่วยเบาหวาน
2.2 สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคตับ
เป็นสูตรที่มีการปรับสัดส่วนของโปรตีนให้สูงมากขึ้นกว่าสูตรมาตรฐาน และมีการเติมกรดอะมิโนสายกิ่ง (Branch-chain amino acids; BCAAs) เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการโปรตีนผู้ป่วยโรคตับแข็ง (Cirrhosis)
ตัวอย่าง อาหารทางการแพทย์ สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคตับ
- Aminoleban oral อะมิโนเลแบน ออรัล ปริมาณ 450 กรัม
2.3 สูตรสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ที่ยังไม่ได้รับการฟอกไต
มีการปรับลดโปรตีนให้ต่ำลงกว่าสูตรมาตรฐาน เพื่อลดการสร้างของเสียไนโตรเจนในเลือด ช่วยชะลอการเสื่อมลงของไต โดยปรับเพิ่มสัดส่วนพลังงานจากไขมัน หรือคาร์โบไฮเดรตให้สูงขึ้น และมีการจำกัดเกลือแร่ เช่น โซเดียม (Na) โพแทสเซียม (K) และฟอสฟอรัส (P)
ตัวอย่าง อาหารทางการแพทย์ สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรัง ที่ยังไม่ได้รับการฟอกไต
- Once Renal วันซ์รีนอล ปริมาณ 400 กรัม
2.4สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการฟอกไต
จะเป็นสูตรที่มีการปรับโปรตีนให้สูงขึ้นมากกว่าสูตรมาตรฐาน มีการจำกัดเกลือแร่ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส ให้น้อยกว่าสูตรมาตรฐาน เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ไม่ว่าจะเป็นการล้างไตทางหน้าท้อง หรือการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม ที่ต้องการโปรตีนสูง
ตัวอย่าง อาหารทางการแพทย์ สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการฟอกไต
- Once Dialyze วันซ์ไดอะไลซ์ ปริมาณ 400 กรัม
2.5สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
เป็นสูตรที่มีการเพิ่มโปรตีนให้สูงมากขึ้นกว่ามาตราฐานและเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
เหมาะสม: ผู้ป่วยวิกฤต ผู้ป่วยแผลไฟไหม้ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มีความต้องการโปรตีนสูงมากขึ้น ให้ได้รับสารอาหารและสารเสริมภูมิคุ้มกันเพียงพอ
ตัวอย่าง อาหารทางการแพทย์ สูตรสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
- Prosure โปรชัวร์ ปริมาณ 220 มิลลิลิตร
- Neo-Mune นีโอมูน ปริมาณ 400 กรัม
3.อาหารทางการแพทย์สูตรที่ผ่านการย่อยมาบางส่วนหรือทั้งหมด
มีสารอาหารเหมือนสูตรครบถ้วน แต่มีการผ่านกระบวนการย่อยบางส่วน หรือทั้งหมด เพื่อให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้มากขึ้น
เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีปัญหาการย่อยการดูดซึมสารอาหาร เช่น ผู้ป่วยผ่าตัดลำไส้เล็ก ผู้ป่วยลำไส้อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่ผ่าตัดตับอ่อนออกทั้งหมด ผู้ป่วยลำไส้สั้น ผู้ป่วยวิกฤต
- Peptamen เป็ปตาเม็น ปริมาณ 400 กรัม
อาหารทางการแพทย์สามารถเลือกกินได้ตามความเหมาะสมกับโรคประจำตัว เรื่องปริมาณการชงกินสามารถดูปริมาณที่แนะนำได้จากฉลากของผลิตภัณฑ์ แต่ถ้าหากมีโรคประจำตัวร่วมซ้อนกับโรคอื่นๆ สามารถปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหารวิชาชีพก่อน เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมอย่างถูกต้อง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– eatwellconcept.com
– my-best.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM