ลูกคัดจมูก หายใจครืดคราดทำอย่างไรดี

อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ลูกอาจปรับสภาพร่างกายไม่ทัน คัดจมูก หายใจครืดคราด ทำอย่างไรดี
ในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มักมีอาการป่วยบ่อยครั้ง ส่งผลให้ ลูกคัดจมูก น้ำมูกไหล หายใจครืดคราด หายใจไม่สะดวก แล้วเราจะช่วยลูกได้อย่างไร ลูกถึงจะหายจากอาการหวัด คัดจมูกแบบนี้

คัดจมูก

อาการคัดจมูก เกิดขึ้นจากการอักเสบของหลอดเลือดบริเวณพรงจมูก ทำให้ผนังเยื่อบุโพรงจมูกบวม ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการดัดจมูกมีหลายประเภท เช่น โรคหวัด ภูแพ้ อาการติดเชื้อที่โพรงไซนัส ไข้หวัดใหญ่ สิ่งสำคัญในการป้องกันปัญหาแทรกซ้อนจากอาการดัดจมูกคือ การคันหาสาเหตุและการรักษาอาการคัดจมูกที่เหมาะสมโดยเฉมาะ ในเด็กเล็ก อาการคัดจมูกสามารถรุนแรงจนกระทบต่อการได้ยินและพัฒนาการด้านการสื่อสาร สำหรับเด็กแรกเกิด (อายุน้อยกว่า 3 เดือน) จะยังไม่สามารถหายใจทางปกได้ ด้งนั้นอาการดัดจมูกอาจส่งผลต่อการรับประทานนมหรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้นอกจากนี้ อาการคัดจมูกยังอาจส่งผลให้นอนหลับไม่เพียงพอ นอนกรน หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

การที่ลูกเป็นหวัดบ่อยไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเด็กสามารถเป็นหวัดได้ปีละหลายครั้ง ส่วนใหญ่มักหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ดังนั้นการดูแลจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรรู้และใส่ใจ เพื่อลดอาการให้เจ้าตัวเล็ก

ปกป้องลูกรัก จากอาการคัดจมูก

ปรับอุณหภูมิห้อง

  • พ่อแม่ผู้ปกครองควรปรับอากาศในบ้าน ห้องที่เล่น และห้องนอนให้มีอุณหภูมิอุ่นขึ้นหรือปิดเครื่องปรับอากาศ หากเด็กร้อนให้ปรับเปลี่ยนมาใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสม แต่หากเปิดพัดลมแนะนำให้เปิดแบบส่ายหมุน

ดื่มน้ำอุ่น

  • เด็กควรดื่มน้ำที่อุ่นเล็กน้อยหรือน้ำที่อุณหภูมิห้องปกติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยบรรเทาอาการไข้และไอ

กินอาหารอ่อนปรุงสุกใหม่

  • แนะนำให้เจ้าตัวเล็กกินอาหารอ่อนปรุงสุกใหม่จะได้สบายท้อง ทั้งนี้ในบางครั้งเวลาเด็กเป็นหวัดอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวร่วมด้วย การกินอาหารอ่อนที่ปรุงสุกใหม่ช่วยดูแลร่างกายได้

เลี่ยงอาหารกระตุ้นการไอ

  • พยายามหลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ อาหารกรอบแห้งแข็ง และอาหารหรือเครื่องดื่มเย็น เพราะกระตุ้นการไอในเด็กให้ไอมากขึ้นได้

ท่านอนช่วยลดคัดแน่นจมูก

  • หากเด็กมีอาการคัดแน่นจมูก ในเด็กเล็กอาจจัดให้นอนในท่าตะแคง ส่วนในเด็กโตแนะนำให้หนุนหมอนสูงขึ้น

งดกิจกรรมชวนไอ

  • กิจกรรมที่ทำแล้วเด็กจะมีอาการไอมากขึ้น ได้แก่ พูดตะโกน เสียงดัง ออกกำลังกาย เป็นต้น แนะนำให้งดจนกว่าจะหายดี

ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ

  • เมื่อเด็กมีน้ำมูกมาก พ่อแม่ผู้ปกครองควรล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ (0.9% NSS) ถ้าล้างแล้วน้ำมูกยังมากอยู่อาจพิจารณาให้กินยาได้เท่าที่จำเป็น ควรระวังยาที่อาจทำให้น้ำมูกแห้งเกินไปหรือเสมหะเหนียวข้นขึ้นจนทำให้ไอมากขึ้นได้

ไอเล็กน้อยไม่ต้องใช้ยา

  • ในกรณีที่เด็กไอเล็กน้อยไม่แนะนำให้ใช้ยาระงับอาการไอ ควรให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ จิบน้ำอุ่น หากเสมหะเหนียวมากในเด็กโตสามารถให้ยาละลายเสมหะได้ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้ยาขยายหลอดลมเองเพื่อแก้ไอโดยไม่มีข้อบ่งชี้

ลดไข้เจ้าตัวเล็ก

  • เคล็ดลับการลดไข้ในเด็กคือ การให้เด็กดื่มน้ำให้มากพอจนปัสสาวะบ่อย ๆ เช็ดตัวเด็กเมื่อมีไข้ หากมีไข้สูงให้กินยาลดไข้ร่วมกับเช็ดตัว

ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ

  • ไม่แนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียเอง เพราะหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส นอกจากไม่ได้ประโยชน์ ยังอาจทำให้เด็กถ่ายเหลวและเสี่ยงต่อการดื้อยาปฏิชีวนะในอนาคต

พบแพทย์ทันทีถ้าไข้ไม่หาย 

  • หากอาการไข้ในเด็กเกิดขึ้นติดต่อกันเกิน 3 – 4 วันแล้วยังไม่ดีขึ้น ไอมากขึ้น เหนื่อยหอบ ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน

แม้หวัดในเด็กจะเกิดขึ้นได้บ่อยพ่อแม่ผู้ปกครองก็ไม่ควรนิ่งนอนใจถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรต้องพามาโรงพยาบาลทันทีและอย่าลืมหมั่นดูแลสุขภาพเจ้าตัวเล็กให้แข็งแรงอีกทั้งฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลพญาไท
– โรงพยาบาลกรุงเทพ
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี