โปรตีนคืออะไร ช่วยอะไรกับร่างกายเราบ้าง
โปรตีน คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย สร้างมาจากกรดอะมิโนพื้นฐานจำนวน 20 ชนิด โดยมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ฮิสทีดีน ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมทไธโอนีน ฟีนิลอะลานีน ทรีโอนีน ทริปโตแฟน และวาลีน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนเหล่านี้จากการรับประทานอาหาร เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับผิวหนัง กระดูก และกล้ามเนื้อ
แหล่งที่มาของโปรตีนสามารถแบบได้เป็น 2 แบบ คือ
- โปรตีนจากสัตว์จำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ในรูปแบบโปรตีนสมบูรณ์ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการในซ่อมแซมความที่สึกหรอ
- โปรตีนจากพืช ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบโปรตีนไม่สมบูรณ์ซึ่งจะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นไม่ครบทุกตัวถึงแม้ว่าพืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลืองจะกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทุกตัว แต่กรดอะมิโนบางชนิดมีปริมาณน้อยเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ดังนั้นสำหรับผู้ที่เลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์จึงควรรับประทานถั่ว ธัญพืช ผักและผลไม้ให้หลากหลายและ
หน้าที่ของโปรตีน คือ
ให้พลังงานแก่ร่างกาย ร่างกายจะใช้โปรตีนในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นอกจากนี้ยังเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก ผิว ผม เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงช่วยสร้างเอนไซม์ที่มีผลต่อปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในร่างกาย และยังเป็นตัวขนส่งออกซิเจนในเลือดของเราอีกด้วย
- โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี
- แหล่งอาหารที่ให้โปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ปลา อาหารทะเล ถั่วต่างๆ เป็นต้น
- หากจะบริโภคอาหารมังสวิรัติควรเลือกชนิดโปรตีนที่หลากหลายเพื่อให้ได้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน
กินโปรตีนเท่าไหร่ถึงจะพอ?
ความต้องการโปรตีนในผู้ใหญ่เป็นรายบุคคล สามารถคำนวณได้จาก น้ำหนักตัวปัจจุบันคูณด้วย 0.8 – 1.0 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (World Health Organization) จะได้เป็นปริมาณโปรตีนที่ต้องการต่อวัน
ประโยชน์ของโปรตีน
- โปรตีนช่วยลดน้ำหนัก อาหารที่มีโปรตีนสูงจะทำให้รู้สึกอิ่มอย่างรวดเร็ว จึงทำให้รับประทานอาหารได้ในปริมาณที่ลดลงและในระยะยาวน้ำหนักตัวจะค่อย ๆ ลดต่ำลงเช่นกัน แต่ควรควบคุมคาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในปริมาณที่ร่างกายต้องการอย่างเหมาะสม
- โปรตีนสร้างภูมิคุ้มกัน การรับประทานโปรตีนจากพืช ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น เพราะโปรตีนจากพืชบางชนิดมีส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มกลูตาไธโอนให้กับร่างกายเปรียบเสมือนเพิ่มสารอนุมูลอิสระ จึงทำให้ร่างกายแข็งแรงเพิ่มขึ้น เมื่อระบบภูมิคุ้มกันเป็นปกติก็จะส่งเสริมให้ร่างกายสามารถปฎิบัติภาระกิจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
- โปรตีนกับผมและเล็บ ผู้ที่การขาดโปรตีนมักพบภาวะเส้นผมแห้งเสียหรือยาวช้า และยังมีจุดขาวบนเล็บ เกิดจากเคราตินในร่างกายทำงานได้ไม่เป็นปกติ เพราะการทำงานของเคราตินมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นผู้ที่ต้องการบำรุงผมและเล็บควรรับประทานโปรตีนเพื่อบำรุงเส้นผมให้เงางามมีน้ำหนัก ตลอดจนช่วยป้องกันไม่ให้เล็บเปราะฉีกขาด
- โปรตีนเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การศึกษาประโยชน์ของโปรตีนพบว่าการรับประทานโปรตีนอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ หากทำร่วมกับการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่เพียงพอ แต่หากมีต้องการรับประทานโปรตีนในรูปแบบอาหารเสริมควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน เพราะการได้รับโปรตีนมากเกินขนาดอาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
- โปรตีนกับเซลล์สืบพันธุ์ ประโยชน์ของโปรตีนช่วยดูแลเซลล์สืบพันธุ์ โปรตีนนอกจากเป็นสารที่ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแล้วยังช่วยการผลิตสเปิร์มและลดความเสี่ยงการเป็นหมันในเพศชายช่วยควบคุมฮอร์โมนในเพศหญิงให้เป็นปกติ
- โปรตีนกับอวัยวะต่างๆ โปรตีนช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายให้ทำงานได้เป็นปกติ ยังช่วยรักษาสมดุลของปริมาณน้ำตาลในเลือด รักษาเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ รักษาระดับปริมาณน้ำในเซลล์และหลอดเลือดให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ และยังรักษาสมดุลของค่ากรดด่างภายในร่างกาย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– vichaiyut.com/th
– arunhealthgarden.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM