Spironolactone (สไปโรโนแลคโตน) – ข้อมูล ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง

Spironolactone (สไปโรโนแลคโตน) เป็นยาขับปัสสาวะ กลุ่ม Potassium-Sparing Diuretics ช่วยป้องกันร่างกายดูดซึมโซเดียมมากเกินไป และคงระดับโพแทสเซียมไม่ให้ต่ำจนเกินไป หรือนำมาใช้ในการวินิจฉัยหรือรักษาภาวะร่างกายที่มีฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Aldosterone) มากเกินไป โดยฮอร์โมนดังกล่าวมีหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย สไปโรโนแลคโตน (Spironolactone) เป็นสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มสเตียรอยดอล แอนไทมินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Steroidal antimineralocorticoid, สารต้านการออกฤทธิ์ของกลุ่มฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย/ฮอร์โมน Mineralocorticoid ที่สร้างจากต่อมหมวกไต) ถูกนำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะและลดความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต่อต้านแอนโดรเจนฮอร์โมน (Androgen hormone, ฮอร์โมนเพศชาย)

ข้อบ่งใช้

  • ลดอาการบวมน้ำของร่างกาย
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง
  • รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวขั้นรุนแรง
  • รักษาภาวะบวมน้ำจากโรคตับอักเสบ
  • เป็นยาขับปัสสาวะสำหรับผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ
  • รักษาภาวะขนดกเกิน
  • ต้านฤทธิ์ ฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน(Aldosterone, ฮอร์โมนในกลุ่มฮอร์โมน Mineralo corticoid สร้างจากต่อมหมวกไต มีหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย)

กลไกการออกฤทธิ์

ยาสไปโรโนแลคโตนมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ไต และมีกลไกแข่งขันกับฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (Competitive antagonist of aldosterone) ทำให้เพิ่มการขับออกจากไตของโซเดียม และน้ำ แต่มีการเก็บกลับของเกลือโพแทสเซียมคืนสู่ร่างกาย จากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ยามีฤทธิ์รักษาตามสรรพคุณ

ยาสไปโรโนแลคโตนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย

  • ยาเม็ดขนาด 25, 100 มิลลิกรัม/เม็ด

ปริมาณการใช้ยาสไปโรโนแลคโตน

ขนาดยาสไปโรโนแลคโตนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคบวมน้ำ (Edema)

  • 25 ถึง 200 มก./วัน แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  • 25 ถึง 200 มก./วัน แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)

  • 25 ถึง 200 มก./วัน แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการวินิจฉัยภาวะต่อมหมวกไตทำงานเกิน (Primary Hyperaldosteronism)

  • 100 ถึง 400 มก./วัน แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะขนดก (Hirsutism)

  • 50 ถึง 200 มก./วัน แบ่งรับประทาน 1 หรือ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

  • รับประทาน 25 มก./วัน เพิ่มขึ้นหรือลดลงขึ้นอยู่กับการตอบสนองและการมีอยู่ของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะต่อมหมวกไตทำงานเกิน (Primary Hyperaldosteronism)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 100 มก. รับประทานวันละครั้ง อาจแบ่งขนาดยาเป็นสองครั้งต่อวัน และเพิ่มขนาดยาเท่าที่ทนได้ทุกๆ 2 ถึง 3 วันจนถึงขนาดสูงสุดที่แนะนำในแต่ละวันคือ 400 มก.
  • ควรปรับขนาดยาเพื่อลดปริมาณของการกักเก็บโซเดียม ภาวะความดันโลหิตสูง อ่อนแรง ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ และสัญญาณหรืออาการของภาวะต่อมหมวกไตทำงานเกิน
  • หากผู้ป่วยมีเนื้องอกต่อมหมวกไตหรือโรคมะเร็ง ควรใช้ยาสไปโรโนแลคโตนขนาดต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ขณะที่กำลังรอรับการผ่าตัด สำหรับภาวะต่อมหมวกไตทำงานเกิน (Adrenal hyperplasia) โดยปกติแล้ว จะไม่ตอบสนองต่อการผ่าตัด และจำเป็นต้องรักษาด้วยยาสไปโรโนแลคโตนในระยะยาว
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมหมวกไตทำงานเดินมักจะต้องมีการรักษาด้วยยาลดความดัน (antihypertensive) อื่นๆเพื่อควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง

ข้างเคียงจากการใช้ยา Spironolactone

หากพบว่ามีสัญญาณของอาการแพ้ยา ได้แก่ ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม ลิ้นหรือคอบวม ควรไปพบแพทย์ทันที ที่สำคัญ ควรหยุดใช้ยานี้ทันทีและแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีอาการต่อไปนี้

  • อาการที่อาจบ่งบอกว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร เช่น อุจจาระปนเลือดหรืออุจจาระสีดำ ไอปนเลือด หรืออาเจียนสีน้ำตาลเข้ม
  • ระดับโพแทสเซียมในร่างกายสูง เช่น หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ชีพจรเต้นอ่อนหรือรู้สึกชา
  • ระดับโซเดียมในร่างกายต่ำ เช่น สับสน พูดไม่ชัด หลอน อ่อนเพลียอย่างรุนแรง รู้สึกโอนเอน เสียการทรงตัว
    ชัก เป็นลม หายใจตื้น
  • อาการเกลือแร่ในร่างกายขาดสมดุล เช่น ปากแห้ง กระหายน้ำ ง่วงซึม ไม่มีแรง กระสับกระส่าย สับสน คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะมากขึ้น ตะคริว หรืออ่อนเพลีย หัวใจเต้นแรง ไม่ปัสสาวะหรือปัสสาวะน้อย หรือรู้สึกจะหมดสติ

นอกจากนั้น อาจมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ นอกเหนือจากอาการข้างต้นที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดศีรษะปวดท้อง ผมดก หน้าอกใหญ่ขึ้น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และสมรรถภาพทางเพศลดลง ซึ่งหากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– เว็บพบแพทย์
– hellokhunmo.com
– haamor.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

ยังไม่มีบัญชี