โรคไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว อันตรายต่อตนเองและคนรอบข้าง…ปัจจุบัน โรคที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์มีเพิ่มมากขึ้น และเกิดขึ้นทุกช่วงวัย เนื่องจาก สภาวะแวดล้อมภายนอก เช่น การเลี้ยงดูแล ความเครียดสะสมจากการทำงาน เป็นต้น และยังสามารถเกิดจากปัจจัยภายในได้ เช่น เกิดจากการถ่ายทอดพันธุกรรมจากบรรพบุรุษ เป็นต้น ดังนั้น เรามาไขข้อข้องใจว่าโรคไบโพลาร์ หรือภาวะอารมณ์แปรปรวนสองขั้วเป็นอันตรายต่อตนเองหรือคนรอบข้างหรือไม่
โรคไบโพลาร์ (Bipolar) คือโรคอะไร ?
โรคไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว คือ ความผิดปกติของทั้งอารมณ์ ความคิดและพฤติกรรม โดยมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ 2 ขั้วอารมณ์ ได้แก่ ขั้วอารมณ์ดี(Mania) และขั้วอารมณ์ซึมเศร้า(Depress)
“โรคไบโพลาร์” เกิดจากหลายสาเหตุ และปัจจัยต่างๆรอบตัวรวมกันที่ก่อเกิดโรคไบโพลาร์ ดังนี้
ปัจจัยด้านพันธุกรรม ผู้ป่วยมีญาติที่ป่วยเป็นโรคนี้ หรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการผิดปกติด้านอารมณ์ โดยเฉพาะญาติสายตรง
ปัจจัยความผิดปกติด้านระบบนอร์อะดรีนาลีน (Neuroendocrine) ความผิดปกติของสารสื่อประสาทสมองในระดับที่ไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดภาวะอารมณ์ผิดปกติ เช่น ร่าเริงผิดปกติ ซึมเศร้า เบื่อหน่ายสลับกันไป
ปัจจัยด้านจิตสังคม ผู้ป่วยได้รับแรงกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจ เช่น ผิดหวัง เสียใจรุนแรงเฉียบพลัน ความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ หรือการเจ็บป่วยร่างกายต่างๆ

โรคไบโพลาร์ อารมณ์แปรปรวณสองขั้ว แบ่งอาการเป็นกี่ระยะ ?
ระยะที่ 1 Mania (Manic episode) เป็นระยะที่มีอารมณ์สนุกสนานร่าเริงผิดปกติ หรือหงุดหงิดโกรธง่ายผิดปกติ ทั้งยังมีความคิดแล่นเร็ว พูดคุยไม่หยุด วอกแวกง่าย มีการแสดงถึงการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้เงินฟุ่มเฟือย ตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ โดยขาดการพิจารณา และอาการเหล่านี้รทำให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ เช่น หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น โดยอาการมักเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์
ระยะที่ 2 Hypomania อาการเหมือนระยะแรก ซึ่งอาการเป็นอย่างน้อยต่อเนื่อง 4 วัน
ระยะที่ 3 อาการซึมเศร้า เป็นระยะที่มีอารมณ์เศร้าตลอดทั้งวัน รู้สึกเบื่อ สิ่งที่สนใจหรือสนใจลดลงอย่างเห็นได้ชัด คุณภาพการนอนเปลี่ยนไป รู้สึกอ่อนเพลีย มีความคิดรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า คิดถึงการตาย การฆ่าตัวตาย หรือมีแนวโน้มที่จะทำ โดยอาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งต่อตัวเองและสังคม หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ ฯลฯ โดยมีอาการไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์
โรคไบโพลาร์ เป็นโรคที่สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นจนหายขาดได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ซึ่งหากไม่เข้ารับการรักษาผู้ป่วยอาจมีอาการขั้นรุนแรง ทำให้เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เช่น ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและผู้อื่น หรือ เพิ่มความเสี่ยงการเกิดอุบัติให้แก่บุคคลอื่นได้ ทั้งนี้คนรอบข้างเองควรทำความเข้าใจ และยอมรับในตัวผู้ป่วย เพื่อช่วยเหลือเข้าการรักษาได้อย่างถูกวิธี
การรักษาโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (ไบโพลาร์)
- การเข้ารักษาโดยจิตแพทย์ แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยอาการ สั่งยา อธิบายให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการรักษา รวมไปถึงคำแนะนำในเรื่องการดูแลตนเองควบคู่ไปด้วย สิ่งสำคัญคือการมาตามนัดแพทย์เพื่อติดตามอาการและการกินยาอย่างสม่ำเสมอ
- การรักษาด้วยด้วยวิธีจิตรบำบัด แพทย์จะพิจารณาจากผลการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับปัญหาความเครียดของตนเองได้ ปรับความคิดทัศนคติให้ดีขึ้น หรือจัดการกับความขัดแย้งภายในจิตใจ ทั้งผู้ป่วย และคนรอบข้าง
- การเลือกรับประทานวิตามินอาหารเสริม กลุ่ม Vitamin B ดอกคาโมมายล์ (Chamomile) ที่จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายความรู้สึกวิตกกังวล ทำให้จิตใจสงบ และช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
บทสรุป : โรคไบโพลาร์ Bipolar ไบโพลาร์ อารมณ์สองขั้ว คือ โรคที่เกิดความผิดปกติทางอารมณ์สองแบบเปลี่ยนแปลงไปมาสลับกัน ได้แก่ ขั้วอารมณ์ดี หรืออารมณ์ก้าวร้าวผิดปกติ และขั้วอารมณ์ซึมเศร้า โรคนี้จึงมีชื่อเดิมว่า manic-depressive disorder โรคไบโพลาร์เป็นโรคที่สมารถรักษาหายได้ แต่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามแพทย์สั่ง แต่โรคไบโพลาร์ โรคอารมณ์สองขั้วจะทำร้ายตนเองต่อเนื่อง ผู้ป่วยไม่เข้ารับการรักษาจนปล่อยให้อาการหนัก ส่งผลกระทบต่อตนเอง การใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมถึง คนรอบข้างอย่างแน่นอน หากพบคนรอบข้างมีอาการกล่าว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หรือมีอาการเบื้องต้นสามารถปรึกษาเภสัชกรแนะนการทานวิตามินช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ที่ ร้านขายยาจุฬาลักษณ์เภสัช ทุกสาขา
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง แผนกสุขภาพใจ
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM