การรักษาโรคหนองใน (Gonorrhea) ด้วยยา Cefixime มีข้อควรระวังอะไรบ้าง

คนไข้หลายๆ คนพอพบว่าตัวเองมาหนองหรือเมือกไหลออกมาทางท่อปัสสาวะ หรือช่องคลอด ก็เริ่มมีความกังวล ว่าตัวเองเป็นอะไร และอาการดังกล่าวถ้าพบว่า เป็น หนองใน เภสัชบอกเลยว่า ไม่ต้องกังวลเลยคะ  ก่อนอื่นเรามารู้จัก หนองใน (Gonorrhea)  เป็นโรคและอาการแบบไหน

หนองใน (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STD) ชนิดหนึ่ง  เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถติดเชื้อได้ผ่าน:

  • การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก
  • การสัมผัสของเหลวจากผู้ติดเชื้อ (เช่น น้ำหล่อลื่น, หนอง, น้ำอสุจิ)
  • ในทารกแรกเกิด อาจได้รับเชื้อจากมารดาขณะคลอดทางช่องคลอด

    เมื่อพบว่าเราเป็นโรคหนองในแล้ว ก็ต้องรู้วิธีการป้องกัน หนองใน (Gonorrhea) หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจเกิด ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ภาวะมีบุตรยาก อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือหนองในกระแสเลือด

ลองมาดูกันว่าใครเหมาะกับวิธีไหน

วิธีรายละเอียด
ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก → ลดโอกาสติดเชื้อได้อย่างมาก
มีคู่นอนประจำที่ไม่ติดเชื้อลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากคู่นอนหลายคน
ตรวจสุขภาพเป็นประจำโดยเฉพาะหากมีคู่นอนหลายคน หรือมีความเสี่ยงทางเพศ
งดมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีอาการผิดปกติเช่น มีหนองไหล ปวดแสบขณะปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ
ให้ความรู้เรื่องเพศอย่างปลอดภัยโดยเฉพาะวัยรุ่น เพื่อป้องกันการติดโรคแบบไม่รู้ตัว
หากติดเชื้อ ต้องแจ้งคู่นอนและรักษาพร้อมกันเพื่อลดการติดเชื้อซ้ำ (Ping-pong infection)

          แต่เมื่อเป็นโรคหนองในแล้ว การใช้ยารักษาก็เป็นวิธีการและทางออกที่รวดเร็วเพื่อควบคุมการกำเริบของโรค ตัวยาที่เภสัชการนิยมจ่ายให้คนไข้ก็มาหลากหลาย เช่น Ceftriaxone ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, การใช้ Cefixime รับประทาน 400 มก. (ในบางกรณีที่ฉีดยาไม่ได้)  ร่วมกับ Azithromycin หากสงสัยติดเชื้อ Chlamydia ร่วมด้วย  ก็เป็นทางเลือกของแพทย์หรือเภสัชในการจ่ายให้คนไข้

ยกตัวอย่างยา  Cefixime ใช้รักษาโรคหนองในอย่างไร?

Cefixime เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Cephalosporin รุ่นที่ 3 มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขนาดและวิธีใช้ยา Cefixime ในการรักษา

  • ขนาดแนะนำ:
    400 มิลลิกรัม (รับประทาน ครั้งเดียว)
    → ออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์

ในบางกรณี อาจใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะอีกชนิด เช่น Azithromycin หากสงสัยการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย เช่น Chlamydia trachomatis

 ข้อควรระวังในการใช้ Cefixime

  • ต้องกินยาให้ครบขนาด และไม่หยุดยาเองแม้อาการจะดีขึ้น
  • ห้ามใช้ซ้ำเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิด การดื้อยา
  • หากแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน/เซฟาโลสปอริน → ควรแจ้งแพทย์
  • ไม่ควรใช้ร่วมกับยาลดกรดหรือแคลเซียมสูง เพราะอาจลดการดูดซึมยา

 อาการที่ควรกลับไปพบแพทย์ทันที

  • อาการ ไม่ดีขึ้นใน 3–5 วัน
  • ปวดหน่วง ปัสสาวะแสบมากขึ้น
  • มี หนองจากอวัยวะเพศ ไม่หาย
  • มีไข้ หรือสงสัยว่ามี การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน/ต่อมลูกหมาก

 แนะนำเพิ่มเติมเมื่อเป็นหนองใน และกำลังอยู่ในขั้นตอนการรักษา

  • ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างรักษา
  • ควรตรวจ/รักษาคู่เพศสัมพันธ์พร้อมกัน เพื่อลดการติดเชื้อซ้ำ
  • ตรวจซ้ำหลังรักษา 7–14 วัน เพื่อยืนยันว่าหายขาดแล้ว

หนองใน “รักษาได้” และ ยิ่งเร็ว ยิ่งปลอดภัย  Ceftriaxone, Cefixime, หรือ ยาปฏิชีวนะเฉพาะทาง เป็นแนวทางหลักในการรักษาแต่จำเป็นต้องใช้ยา อย่างถูกต้อง ครบโดส และเหมาะสมกับแต่ละคน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– CDC – Gonorrhea Treatment Guidelines (2021) – แนวทางการใช้ยา Cefixime และยาปฏิชีวนะอื่นในการรักษา
– Drugs.com – Cefixime for Gonorrhea – ขนาดยา, วิธีใช้, และข้อควรระวังในการใช้ Cefixime
– Planned Parenthood – How to Prevent STDs – ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยและวิธีลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
– CDC – Gonorrhea: Fact Sheet – ให้ข้อมูลอาการ วิธีป้องกัน การรักษา และผลกระทบของหนองใน
– Drugs.com – Gonorrhea and Treatment– ครอบคลุมเรื่องยารักษา ขนาดยา และคำแนะนำเพิ่มเติม
– CDC – Gonorrhea: Prevention– อธิบายวิธีป้องกันโรคหนองใน และคำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไป

เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี