ยาซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) เป็นกลุ่มยาที่นำมาใช้รักษาโรคเบาหวานประเภท 2 (Diabetes mellitus type 2) ถูกค้นพบโดยคณะนักเคมีนำโดย Marcel Janbon ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งกำลังศึกษาฤทธิ์ของยาซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamide) ที่ใช้ในการต่อต้านแบคทีเรีย และค้น พบว่าซัลโฟนิลยูเรียซึ่งมีโครงสร้างแกนกลางของโมเลกุลที่ใกล้เคียงกับยาซัลโฟนาไมด์ สามารถออกฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงได้พัฒนาให้มาเป็นยารักษาเบา หวาน/ยาเบาหวานในคน
ข้อบ่งใช้
- รักษาโรคเบาหวานประเภท 2 (Diabetes mellitus type 2)
- ยาบางตัวจะถูกนำไปรักษาโรคเบาจืดด้วย เช่นยา Chlorpropamide
กลไกการออกฤทธิ์
กลไกการออกฤทธิ์ของยาซัลโฟนิลยูเรียคือ ตัวยาจะเข้าไปกระตุ้นกลไกการทำงานของ เบต้าเซลล์ในตับอ่อนให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา ทำให้ร่างกายสามารถใช้น้ำตาลในเลือดได้อย่างมีสมดุลมากขึ้น และยังพบว่ายากลุ่มนี้ช่วยลดการสร้างน้ำตาลกลูโคส (Glucose) ในตับ จากกลไกดังกล่าวจึงทำให้ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์รักษาเบาหวานตามสรรพคุณ
ยาซัลโฟนิลยูเรียมีรูปแบบ
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 2.5 และ 5 มิลลิกรัม/เม็ด เช่น Glibencamide, Glipizide
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 250 มิลลิกรัม/เม็ด เช่น Chlorpropamide,
- ยาเม็ดชนิดรับประทาน ขนาด 1, 2, 3 และ 4 มิลลิกรัม/เม็ด เช่นยา Glimepiride
ปริมาณการใช้ยา
ขนาดการใช้ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรียจะขึ้นกับอาการและความรุนแรงโรคของผู้ป่วย จึงส่งผลให้ขนาดรับประทานมีความแตกต่างกันและเป็นเงื่อนไขของผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์เท่านั้นที่สามารถสั่งจ่ายขนาดยาได้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสมกับคนไข้ ผู้ป่วยจึงต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ควรรับประทานยาพร้อมน้ำดื่มสะอาด ห้ามเคี้ยวหรือบดยาก่อนรับประทาน
ข้อควรระวังการใช้ซัลโฟนิลยูเรีย
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มนี้
- ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ
- ห้ามรับประทานยาซัลโฟนิลยูเรียพร้อมยาเบาหวานตัวอื่น (ด้วยตนเอง) โดยมิได้รับคำสั่งจากแพทย์
- รับประทานยานี้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น ห้ามปรับเปลี่ยนขนาดรับประทานด้วยตนเอง
- ควรศึกษาการปฐมพยาบาลตนเองเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ควรรับประทานยานี้ร่วมกับการควบคุมอาหารที่รับประทานประจำวันที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูง
- ตรวจระดับสอบน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอว่าอยู่ในภาวะปกติหรือไม่
- หากพบอาการแพ้ยา (เช่น มีไข้ ขึ้นผื่น หายใจลำบาก) ต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่งแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
ผลข้างเคียง
- อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร
- ปวดหัว
- มีลักษณะคล้ายอาการแพ้ยา (เช่น ขึ้นผื่น มีไข้ หายใจลำบาก)
- โลหิตจาง/ โรคซีด
- คลื่นไส้-อาเจียน
- อ่อนเพลีย
- เกล็ดเลือดต่ำ
- วิตกกังวล
- การมองเห็นภาพไม่ชัดเจน
- หงุดหงิด
- สับสน
- หัวใจเต้นช้า
- ง่วงนอน
การเก็บรักษาซัลโฟนิลยูเรีย
- เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อน และความชื้น
- ไม่ควรเก็บยาไว้ในห้องน้ำ และ
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– haamor.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM