เยื่อหุ้มสมองเป็นเนื้อเยื่อส่วนที่ห่อหุ้มสมองและไขสันหลัง รวมไปถึงเป็นที่อยู่ของระบบน้ำไขสันหลัง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนหนา (Dura)และส่วนบาง (Pia-Arachnoid) ซึ่งการติดเชื้อจะเกิดขึ้นในส่วนบาง
สาเหตุของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
แบบเฉียบพลัน มักมีอาการอยู่ในช่วง 1-2 สัปดาห์
- การติดเชื้อแบคทีเรีย
เป็นภาวะที่มีความอันตรายที่สุด อาจทำให้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้ - การติดเชื้อไวรัส
มักไม่พบอาการที่รุนแรง โดยอาจเกิดขึ้นภายหลังจากอาการไข้หวัด และหายได้เองภายใน 7-10 วัน - การรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
รับประทานอาหารที่มีตัวอ่อนของพยาธิอาจทำให้มีพยาธิขึ้นไปที่สมองได้
แบบกึ่งเฉียบพลัน มักมีอาการอยู่ในช่วง 2-4 สัปดาห์
- การติดเชื้อวัณโรค
ทำให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทได้ - การติดเชื้อรา
มักพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และสัมผัสกับแหล่งของเชื้อรา เช่น มูลนกพิราบ ต้นยูคาลิปตัส เป็นต้น
อาการของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- อาการไข้สูง
- ปวดศีรษะรุนแรง แม้ไข้ลดลงก็ยังคงปวด
- ปวดต้นคอและท้ายทอย คอแข็ง ก้มคอแล้วปวดและอาจมีปวดรอบกระบอกตาร่วมด้วย
หากมีอาการดังกล่าว 2 อาการขึ้นไปร่วมกับมีพฤติกรรมเสี่ยงจากสาเหตุของโรคให้รีบมาพบแพทย์ทันที
การป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถแพร่กระจายได้ทางการไอ จาม และการใช้ของใช้ส่วนตัวบางอย่างร่วมกัน เช่น แปรงสีฟันหรือช้อน การรักษาสุขภาพและสุขอนามัยจึงเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันตนเองจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โดยควรล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรค หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น และส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หากมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการติดเชื้อชนิดที่ร้ายแรงแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดโรค
นอกจากนี้ อีกหนึ่งวิธีที่สามารถป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้คือการฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ (Haemophilus Influenzae Type B) เป็นวัคซีนป้องกันเชื้อที่อาจก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ ข้ออักเสบ ปอดอักเสบ โดยฉีดให้เมื่อเด็กอายุมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป การฉีดวัคซีนชนิดนี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้เด็กรู้สึกเบื่ออาหาร
ในปัจจุบันเราสามารถตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ร่วมกับการตรวจอื่น ๆ ได้ เพื่อตรวจดูระบบประสาทและปัญหาภายในสมองให้ได้ผลที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น MRI สามารถแสดงภาพเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ชัดเจน
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคที่อันตรายอย่างมากเกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลัง ผู้ป่วยจะมีอาการคอแข็ง มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ มีไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน มีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ชัก ถ้าหากเด็กอายุไม่เกิน 1 เดือนจะต้องคอยสังเกตอาการว่ามีกระหม่อมนูน เคลื่อนไหวช้า ร้องไห้ตลอดเวลาหรือไม่ ถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวหรือมีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยการให้ยาปฏิชีวนะ และยังสามารถตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจดูระบบประสาทด้วยความแม่นยำ เพราะโรคนี้อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนโรคติดเชื้อฮิบ นอกจากจะป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบแล้วยังรวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ ข้ออักเสบ ปอดอักเสบ ได้อีกด้วย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– โรงพยาบาลเปาโล
– ผศ.(พิเศษ) พญอภิญญ์เพ็ญ สาระยา วสันติวงศ์
– โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM