ทำไมกินยาปฏิชีวนะแล้วท้องเสีย(Antibiotic-associated Diarrhea)

เคยสังเกตตัวเองไหมว่า กินยาปฏิชีวนะแล้ว มักพบอาการท้องเสียเกิดขึ้นตามมาบางคนอาจมีอาการท้องเสียที่สัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวน(Antibiotic-associated Diarrhea) ยาปฏิชีวนะ ถือเป็นกลุ่มยาฆ่าเชื้อ ที่แพทย์มักสั่งให้ทาน แต่บางคนเมื่อรับประทานไปแล้วอาจเกิดอาการท้องเสีย อย่างที่เรารู้กันนี้ ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หรือ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาที่แพทย์ หรือเภสัชกร สั่งให้รับประทานเพื่อไปจัดการกับเชื้อแบคทีเรียในร่างกายซึ่งทำให้เราเจ็บป่วย โดยทุกครั้งจะได้รับการกำชับจากแพทย์ว่าต้องรับประทานประทานยาติดต่อกันจนกว่ายาจะหมด แต่บางคนเมื่อทานยาปฏิชีวนะเข้าไปแล้วกลับมีอาการท้องเสีย ซึ่งนั้นถือเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น

“อาการท้องร่วง”เป็นผลข้างเคียงตามปกติจากการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเพราะยาเหล่านี้ไม่เพียงทำลายเชื้อโรคแต่ยังทำลายโปรไบโอติกแบคทีเรียแบคทีเรียที่มีประโยชน์ซึ่งช่วยดูแลการขับถ่ายให้เป็นปกติเมื่อโปรไบโอติกแบคทีเรียถูกทำลายผลที่ตามมาก็คือจุลินทรีย์ที่เป็นต้นเหตุของอาการท้องร่วงซึ่งปกติถูกควบคุมไม่ให้แพร่ระบาดได้จากโปรไบโอติกก็จะเจริญเติบโตและแพร่ระบาดจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายจริงๆปัญหาท้องร่วงนี้ก็จัดอยู่ในระดับก่อความรำคาญเท่านั้น เพราะผู้ป่วยสามารถหาซื้อยาจากร้านขายยาเพื่อบรรเทาด้วยตนเองได้แต่โรคนี้จะอยู่ในระดับอันตรายทันทีหากผู้ป่วยทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานานมีเชื้อโรคที่ชื่อ“คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์”ที่อาจแพร่ระบาดได้จากการใช้ยาปฏิชีวนะและเป็นสาเหตุให้อาการทรุดหนักลง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

สาเหตุท้องร่วงจากการใช้ยาปฏิชีวนะ

เนื่องจากยาปฏิชีวนะที่ร่างกายได้รับจะเข้าไปรบกวนหรือเปลี่ยนแปลงสมดุลของแบคทีเรียธรรมชาติที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ส่งผลให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรียธรรมชาติในลำไส้ลดลง ทำให้เชื้อก่อโรคเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นสร้างและหลั่งสารพิษทำให้ลำไส้ไม่สามารถดูดซึมคาร์โบไฮเดรต หรือไม่สามารถย่อยสลายน้ำดีได้ รวมถึงยาปฏิชีวนะบางชนิดจะกระต้น การเคลื่อนไหวของลำไส้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุประมาณ 1 ใน 3 คือ เชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (C. difficile)

อาการ

  • อาการไม่รุนแรง จะมีอาการท้องเสีย หรือถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง
  • อาการรุนแรง จะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีเลือดปนในอุจจาระ ปวดท้อง

โอกาสในการเกิดอาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ

พบได้ร้อยละ 5-25 ของผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะ โดยอาจเกิดได้ตั้งแต่ช่วงต้นของการได้รับยาจนถึงภายหลังหยุดยาไปแล้วประมาณ 2 เดือน ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  1. ชนิดของยาปฏิชีวนะที่ผู้ป่วยได้รับ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้าง
  2. ผู้ป่วยสูงอายุ (อายุมากกว่า 65 ปี)
  3. ผู้ป่วยที่มีประวัตินอนโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤติ หรือนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนานมากกว่า 4 สัปดาห์
  4. ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  5. ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือยาเคมีบำบัด
  6. ผู้ที่ใส่สายยางให้อาหารทางจมูก หรือได้รับการทำหัตถการของระบบทางเดินอาหาร
  7. ผู้ที่มีประวัติเคยติดเชื้อคลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล์ (C. difficile)
  8. ผู้ที่มีประวัติการใช้ยาลดกรด

ยาปฏิชีวนะใดบ้างที่พบว่ามีอุบัติการณ์บ่อย

  1. ยาคลินดาไมซิน
  2. ยากลุ่มเพนนิซิลลิน เช่น แอมพิซิลลิน, อะม็อกซิซิลลิน, อะม็อกซิซิลลิน/คลาวูลานิก แอซิด เป็นต้น
  3. ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน เช่น เซฟิซิม, เซฟดิเนียร์ เป็นต้น
  4. ยากลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน เช่น ซิโพรฟล็อกซาซิน, ลีโวฟล็อกซาซิน, ม็อกซิฟล็อกซาซิน เป็นต้น

การรักษา

ส่วนใหญ่มักดีขึ้นและหายได้เองหลังหยุดใช้ยาปฏิชีวนะ แต่หากพบว่ามีอาการรุนแรง แพทย์จะพิจารณาให้สารนํ้าทดแทนและให้การรักษาที่เหมาะสมทันที

การป้องกัน

  • ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะใช้เอง
  • หากใช้ยาปฏิชีวนะแล้วพบอาการท้องเสีย ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
  • วิธีป้องกันโรคท้องร่วงจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ดีวิธีหนึ่งคือ หลังจากทานยาปฏิชีวนะจนหมดคอร์สตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ให้ทานโปรไบโอติกเสริมเข้าไปทันที

สรุป

อาการท้องเสียที่สัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะไม่ใช่อาการแพ้ยาแต่เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยสามารถป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงได้




แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
– pptvhd36.com
– interpharma.co.th
– โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย
– sanook.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย: CHULALAKPHARMACY.COM

แชร์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

No results found.

ยังไม่มีบัญชี